'Plant-based Food'... เนื้อมิใช่เนื้อ...
‘อาหารจากพืช’ หรือ ‘Plant-based Food’ เมนูไร้เนื้อสัตว์กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น แนวคิดนี้ส่งให้ ‘เนสท์เล่ (ไทย)’ ค้นคว้าวิจัยอาหารจากพืชจนเกิดแบรนด์ 'ฮาร์เวสต์ กูร์เมต์ (HARVEST GOURMET™)' อาหารเสมือนเนื้อแต่ไร้เนื้อ...
จากผลสำรวจของ เนสท์เล่ พบว่า กระแส อาหารไร้เนื้อสัตว์ หรือ Plant-based Food กำลังเป็นเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ โดยพบว่ากว่า 25% ของคนไทย นิยมบริโภคอาหารที่ทำจากพืช
เครือวัลย์ วรุณไพจิตร ผู้อำนวยการบริหารหน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหาร และ เนสท์เล่ โพรเฟชชันนัล ประจำภูมิภาคอินโดไชน่า ให้ข้อมูลว่า
“อาหารทำจากพืช ได้แก่ ผักผลไม้และธัญพืช จะให้รสสัมผัสเหมือนเนื้อสัตว์ เราเติมน้ำมันพืชนิดหน่อยให้ความชุ่มฉ่ำ และมีลวดลายเหมือนเนื้อสัตว์ มีเส้นใยสูง โดยเฉพาะถั่วเหลืองมีกรดอะมิโน และโปรตีน
จากผลสำรวจเทรนด์สุขภาพ พบว่าผู้บริโภคใส่ใจเรื่องสุขภาพ เชื่อว่าการกินอาหารลดเนื้อสัตว์เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพตัวเอง เราเรียกว่าคนกลุ่มนี้ว่า Flexitarian ในประเทศไทยมีผู้บริโภคที่มีไลฟ์สไตล์แบบนี้ถึงเกือบ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มคนรักสุขภาพ (65%) และ กลุ่มควบคุมน้ำหนัก (20%)*
พฤติกรรมการบริโภคของคนกลุ่มนี้จะลดเนื้อสัตว์ในบางโอกาส หรือบางมื้อบางวัน เช่น อาจไม่ทานเนื้อสัตว์ 1-2 วัน ใน 1 สัปดาห์ หรือไม่กินเนื้อในวันเกิด หรือวันพระ แม้ว่าต้องการลดเนื้อสัตว์แต่ก็ยังต้องการอาหารจากพืชที่มีรสชาติที่ดี กินอร่อย
อาหารจากพืชแบรนด์ Harvest Gourmet เกิดขึ้นมาจากการสั่งสมประสบการณ์ของทีมงานเนสท์เล่กว่า 30 ปี เรามีทีมงานและนักวิจัยจากทั่วโลก จนเชี่ยวชาญพัฒนาอาหารจากพืชที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค อาหารมีรสชาติดีและดีต่อสุขภาพด้วย วัตถุดิบทำจากพืชเป็นหลัก ได้แก่ ธัญพืชตระกูลถั่ว และเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีโปรตีนสูงและมีเส้นใยอาหาร มีหลายรูปแบบ เช่น โปรดักที่มีเนื้อเบอร์เกอร์, เนื้อบด, ไก่ย่างรมควัน, ไก่ชุบเกล็ดขนมปังทอด, มีทบอลล์ เป็นต้น”
ผู้บริหารของ เนสท์เล กล่าวว่า ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าปลอดภัยเพราะขั้นตอนการผลิตไม่ใช้วัตถุกันเสีย แต่เพื่อให้รูปลักษณ์เสมือนเนื้อจริง จึงใช้วิธีแต่งสีจากแครอทและบีทรูทเข้มข้น และมีส่วนผสมของน้ำมันมะพร้าวช่วยให้เนื้อชุ่มฉ่ำ และมีลักษณะเหมือนมีไขมันแทรกในเนื้อสัตว์ ให้รสสัมผัสใกล้เคียงกับเนื้อจริง ๆ
“เนื่องจากอาหาร Plant-based Food มีการเติบโตสูงในช่วง 4-5 ปีที่ป่านมา โดยเฉพาะในประเทศไทย เราจึงตั้งฐานการผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประเทศมาเลเซีย เพราะในแง่การขนส่งสะดวก และสามารถพัฒนาโปรดักให้ถูกปากชาวเอเชียรวมถึงชาวไทยได้ด้วย”
จะหาซื้อ Plant-based Food ได้จากที่ไหนบ้าง
“เนื่องจากเป็น “นิช มาร์เก็ต” การวางจำหน่าย แบรนด์ Harvest Gourmet จะเปิดตัวในเดือนมีนาคม โดยวางกลยุทธ์การตลาดร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจร้านอาหาร เพื่อพัฒนาเมนูและนำเสนอผ่านร้านอาหารที่เป็นคู่ค้าของเรา ให้คนไทยได้ลิ้มลองอาหารในเมนูที่ปรุงด้วยอาหารจากพืชให้หลากหลายมากขึ้น”
อาหารจากพืช ใช้ทำเมนูอะไรได้บ้าง
กฤษฎา ผามั่ง เชฟของเนสท์เล่ บอกว่า “อาหารจากพืช ฮาร์เวสต์ กูร์เมต์ มีรสชาติและเนื้อสัมผัสอร่อยใกล้เคียงเนื้อจริง ทั้งนี้เพราะใช้บีทรูทสกัดเข้มข้น หรือแครอทสกัดเข้มข้นในการแต่งสีธรรมชาติให้เนื้อดูมีสีแดงคล้ายเนื้อจริง และใช้น้ำมันมะพร้าวในการเพิ่มความชุ่มฉ่ำให้เนื้อสัมผัส และมีลักษณะคล้ายไขมันแทรก สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็น อาหารตะวันตก, อาหารฟิวชั่น และ อาหารสไตล์โมเดิร์นไทย
อาหารตะวันตกเช่น เบอร์เกอร์เนื้อ นำเนื้อ Plant-based มาย่างให้สุกทั้งสองด้าน ตามด้วยขนมปังลงไปกริลล์ ทามัสตาร์ด ใส่ผักตามชอบ สไตล์ฟิวชั่นเช่น แกงเขียวหวานมีทบอลล์ ทำสะเต๊ะหมู สะเต๊ะเนื้อ เสิร์ฟกับอาจาด หรือสลัดไก่ย่างรมควัน หรือไก่บดชุบแป้งทอด (Schnitzel)
ในแง่คุณค่าทางโภชนาการ นอกจากมีโปรตีนสูงแล้ว ยังเป็นแหล่งของใยอาหาร โดยเฉพาะถั่วเหลือง ซึ่งจัดเป็นโปรตีนที่สมบูรณ์ มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน โดยผู้บริโภคควรเลือกทานอาหารจากพืชให้หลากหลายเพื่อให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ซึ่งตามหลักโภชนาการแล้ว ร่างกายควรได้รับปริมาณโปรตีน 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. เพราะร่างกายต้องใช้โปรตีนในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมร่างกาย และใช้เป็นพลังงานเมื่อถึงคราวจำเป็น แต่มีข้อควรระวังอยู่สำหรับคนแพ้ถั่ว”
การผลิต Plant-based Food ยังมีส่วนช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
อีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ผู้บริโภคเริ่มหันมาบริโภคอาหารจากพืช (Plant-based Food) และลดหรือหลีกเลี่ยงการทานเนื้อสัตว์นั้นก็มีสาเหตุมาจากความต้องการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งการเปิดตัวแบรนด์ ฮาร์เวสต์ กูร์เมต์ ถือเป็นการเดินหน้าตอบโจทย์พันธกิจสำคัญของเนสท์เล่ในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจนเหลือศูนย์ ภายในปี 2593
ทาธฤษ กุณาศล ผู้จัดการฝ่ายบริการการเกษตร บอกว่า นอกจากสารอาหารที่ได้จาก Plant-based Food แล้ว การบริโภคอาหารจากพืช ยังช่วยส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
“เพราะวัตถุดิบหลักของ ฮาร์เวสต์ กูร์เมต์ มาจากการเพาะปลูกพืชเป็นหลัก ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว การทำเกษตรกรรมจะผลิตก๊าซเรือนกระจก อาทิ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทน น้อยกว่าการทำฟาร์มปศุสัตว์ อย่างที่เรารู้กันว่า สัตว์จะเป็นผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศเมื่อหายใจ ในขณะที่พืชจะทำหน้าที่ดูดซับก๊าซดังกล่าว และช่วยทำให้อากาศบริสุทธิ์ขึ้น โดยการปล่อยอ๊อกซิเจนออกมาในกระบวนการสังเคราะห์แสง
การทำเกษตรกรรมยังใช้พื้นที่ดิน ทรัพยากรน้ำ และพลังงานไฟฟ้าน้อยกว่าการทำฟาร์มปศุสัตว์อีกด้วย ตัวอย่างเช่น การผลิตเนื้อวัว 1 กิโลกรัม จะต้องใช้ทรัพยากรน้ำตลอดกระบวนการผลิต 15,000 ลิตร ในขณะที่ถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม ใช้ทรัพยากรน้ำ 1,800 ลิตร ดังนั้น การที่เรารับประทานอาหารจากพืชมากขึ้นก็จะช่วยให้เราใช้ทรัพยากรธรรมชาติลดลง และลดการสร้างก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศโลกอีกด้วย”
อาหารจากพืช เป็นอีกหนึ่งทางเลือกช่วยดูแลสุขภาพ แต่จะอร่อยแค่ไหน อย่างไร ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมผ่านพันธมิตรทางธุรกิจร้านอาหาร ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 เป็นต้นไป หรือคลิกที่ https://www.nestleprofessional.co.th/harvest-gourmet