ไม่ใช่ 'เสาไฟกินรี' แต่เป็นเสาไฟญี่ปุ่น สวยและใช้งานได้จริง

ไม่ใช่ 'เสาไฟกินรี' แต่เป็นเสาไฟญี่ปุ่น สวยและใช้งานได้จริง

ย้อนรอยดราม่า "เสาไฟกินรี" ของไทย ชวนไปส่องเสาไฟสุดเก๋ของประเทศญี่ปุ่น ที่มีการออกแบบให้เข้ากับบรรยากาศของแต่ละเมือง ลองดูเทียบเคียงไอเดียการครีเอท แบบไหนถูกใจคุณ?

ย้อนกลับไปในเดือนมิถุนายน 2564 เชื่อว่าหลายคนยังคงไม่ลืมกระแสดราม่า "เสาไฟกินรี" ที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในสังคมไทย โดยเฉพาะกรณี อบต.ราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ หลายคนตั้งคำถามว่าใช้งบประมาณคุ้มค่าหรือไม่ ? หลังจากนั้นไม่นานก็พบว่ามีเสาไฟกินรีลักษณะนี้โผล่อยู่หลายจุด

ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2564 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (...) ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีเสาไฟกินรีระบบโซล่าเซลล์ราคาแพงลิ่ว และพบว่าการจัดซื้อจัดจ้างมีการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทผู้รับจ้างบางราย และก่อสร้างก็ไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด

เรื่องนี้คงเป็นกรณีศึกษาให้หน่วยงานระดับท้องถิ่นกันได้อีกยาว ทั้งนี้ พบว่ามีประเด็นเสาไฟอีกหนึ่งเคส ที่เรียกเสียงฮือฮาในโลกโซเชียลได้ไม่น่อยเช่นกัน นั่นคือ "เสาไฟญี่ปุ่น" ที่เรียกเสียงฮือฮาในเชิงชื่นชม กับไอเดียสุดสร้างสรรค์ในการออกแบบเสาไฟ ให้สอดคล้องไปกับจุดเด่นของเมืองต่างๆ ในญี่ปุ่น 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ไม่ว่าจะเป็นเสาไฟที่อยู่ตามย่านการค้า หรือเสาไฟที่ตั้งอยู่ริมถนนหนทางในเมืองท่องเที่ยวสำคัญต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวของแต่ละเมือง โดยพบว่ามีเสาไฟญี่ปุ่นสุดเก๋อยู่หลากหลายรูปแบบ ได้แก่

1. เสาไฟแก้วเบียร์ : เสาไฟลวดลายแก้วเบียร์ ตั้งอยู่ในย่านชิบุยะ พบว่าเป็นการออกแบบของแบรนด์เอบิสุ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในย่านดังกล่าว

2. เสาไฟซากุระ : เสาไฟลวดลายซากุระ ที่ ซากูรามาชิ ช็อปปิ้ง สตรีท เมืองมินามิ จังหวัดโทคุชิมะ

3. เสาไฟผลส้ม : ตั้งอยู่ในเมืองโยชิดะ จังหวัดเอฮิเมะ

4. เสาไฟอันปังแมน : ตั้งอยู่ในย่าน Mirafu Anpanman Street เมืองคามิ จังหวัดโคจิ 

162755759298

ทั้งนี้ ตั้งแต่ช่วงปี 1980 รัฐบาลญี่ปุ่นได้เริ่มโครงการที่จะนำระบบเสาไฟฟ้าบนดินลงไปอยู่ใต้ดิน ซึ่งนอกจากจะได้ประโยชน์ ในแง่การบำรุงรักษาได้ง่ายแล้ว (สายไฟไม่ต้องเจอกับลมหรือหิมะที่อาจจะทำให้สายไฟเสียหาย) ยังปลอดภัยกว่าเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว

เนื่องจากประสบการณ์เลวร้ายของญี่ปุ่น เมื่อครั้งที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่โกเบในปี ค.ศ. 1995 พบว่าระบบไฟฟ้าบนดินเสียหายเป็นจำนวนมาก จากนั้นญี่ปุ่นก็เริ่มพัฒนาปรับปรุงเรื่องสายไฟและเสาไฟมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน

-----------------------

ที่มา : 

DACO THAI

springnews