3 บรรณาธิการรุ่นเก๋า รื้อ "วรรณกรรมเก่า" มาทำใหม่

3 บรรณาธิการรุ่นเก๋า รื้อ "วรรณกรรมเก่า" มาทำใหม่

ไม่อยากให้วงการวรรณกรรมไทยเงียบเหงาเกินไป 3 บรรณาธิการจึงร่วมกันสร้างทางเลือกใหม่ หนังสือพ้นลิขสิทธิ์แล้ว, หนังสือในวาระพิเศษ ต้องนำกลับมาทำให้น่าอ่านสำหรับคนทุกรุ่น

ลิขสิทธิ์ 50 ปี

ในโลกปัจจุบันที่มีสื่อใหม่ๆ ออกมามากมายไม่เว้นแต่ละวัน เมื่อเขียนหนังสือออกมา ลิขสิทธิ์ก็เกิดขึ้นทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน แม้ว่าจะยังไม่ได้เผยแพร่ก็ตาม ก็มีกฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองงานเขียนเหล่านั้น

กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองผู้สร้างสรรค์ผลงานตลอดชีพ และคุ้มครองต่อไปอีก 50 ปีหลังจากผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต ทายาทจะได้รับประโยชน์จากลิขสิทธิ์หนังสือนั้นต่อไปอีก 50 ปี

 

ทางเลือกผลิตวรรณกรรมเก่า

เรืองเดช จันทรคีรี อดีตบรรณาธิการนิตยสารถนนหนังสือ, บรรณาธิการผู้ช่วยนิตยสารช่อการะเกด, บรรณาธิการสำนักพิมพ์รหัสคดี 1 ใน 4 ของผู้ที่ได้รับรางวัล ‘บรรณาธร’ ที่สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยได้มอบให้กับบุคคลที่มีคุณูปการกับวงการวรรณกรรมไทย กับอีก 3 ท่านก็คือ บัณฑิต อานียา, สุเมธ สุวิทยะเสถียร และ จิตติ หนูสุข เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2564

มีข้อเสนอต่อสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยว่า น่าจะนำหนังสือที่พ้นลิขสิทธิ์ ตกเป็นของสาธารณะแล้ว นำกลับมาพิมพ์ใหม่

3 บรรณาธิการรุ่นเก๋า รื้อ \"วรรณกรรมเก่า\" มาทำใหม่ บัณฑิต อานีญา, สกุล บุณยทัต, เรืองเดช จันทรคีรี, จิตติหนูสุข กับ รางวัล 'บรรณาธร'

“สิ่งที่ผมอยากจะเสนอคือ ตั้งสำนักพิมพ์ร่วมกับสมาคมนักเขียนฯ ทำหนังสือ 3 แบบ

1)หนังสือที่พ้นลิขสิทธิ์เป็นของสาธารณะแล้ว สมาคมฯไม่ต้องออกทุน มวจ.(มาตรฐานวรรณกรรมพิมพ์จำกัด) จะเป็นคนออก และจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้สมาคมฯไปตั้งเป็นกองทุนลิขสิทธิ์นักเขียน แล้วทายาทโดยธรรมก็มาขอรับลิขสิทธิ์ได้ในหนึ่งปี หรือถ้าไม่ได้จ่าย สมาคมฯ ก็ยึดเงินจำนวนนี้ไว้ใช้ในกิจการต่อไป

3 บรรณาธิการรุ่นเก๋า รื้อ \"วรรณกรรมเก่า\" มาทำใหม่ 'เรืองเดช จันทรคีรี' กับรางวัล 'บรรณาธร'

2)หนังสือวรรณมาลัย เช่น ปีนี้ครบรอบ 100 ปี นายทองอิน รัตนเนตร์ พระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลที่ 6 ก็ให้สมาคมฯเชิญนักเขียนที่เขียนนิยายสืบสวนสัก 13 คน มาเขียนเรื่องสั้นชุดนี้ร่วมกัน และมีค่าตอบแทนให้

3)หนังสือรอบรู้ เช่น เรื่อง จนกว่าเราจะพบกัน เนื้อเรื่องเราอ่านแล้ว พบว่ามันมีตัวเชื่อมโยง มีประวัติ เราสามารถศึกษาเรื่องต่างๆ ได้จากหนังสือ จากเดิม 100 หน้า พอเราทำก็จะหนาเป็น 300-500 หน้า วรรณกรรมต่างๆ ที่เป็นอมตะของ ไม้ เมืองเดิม ก็สามารถจะทำได้

ที่สำคัญ ผู้ได้รับรางวัลบรรณาธรทั้ง 4 ท่าน คุ้นเคยกันเคยทำงานร่วมกัน เรืองเดช เสนอตัวเป็นคนตั้งต้น โดยให้ จิตติ เป็นผู้จัดการ บัณฑิต เป็นประชาสัมพันธ์ และ สุเมธ มีหน้าที่ติดต่อโรงพิมพ์

ทางด้าน จิตติ หนูสุข บรรณาธิการอิสระ ผู้ดูแลแฟนเพจ ข่าวสารวงการหนังสือ, อมราวดี (นักเขียน นักแปล), บุญญรัตน์ เพชร ภาษพิรัช (นักเขียน นักแปล) ใช้ชื่อในเฟซบุ๊คว่า ปีติ วิริยะ มองว่า

สิ่งที่ทำให้ได้รับรางวัลคือ การทำงานในวงการวรรณกรรมมา 33 ปี จากการทำกิจกรรม 3 อย่างคือ

1)งานบรรณาธิการ ที่สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, สำนักพิมพ์ดับเบิลนายน์ และฟรีแลนซ์ 3-4 แห่ง หลักในการทำงานของผมคือ เป็นมิตรกับนักเขียน เป็นกัลยาณมิตรของผู้ร่วมงาน เจ้าของสำนักพิมพ์ และคนในวงการ

3 บรรณาธิการรุ่นเก๋า รื้อ \"วรรณกรรมเก่า\" มาทำใหม่ 'จิตติ หนูสุข' กับรางวัล 'บรรณาธร'

2) เป็นกรรมการองค์กรวรรณกรรม 3 องค์กร คือ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย 20 ปี, สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย 10 ปี, สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย 10 ปี มีส่วนร่วมในรางวัลต่างๆ เช่น รางวัลนราธิป, รางวัลบรรณาธิการดีเด่น รางวัลคุณนิลวรรณ ปิ่นทอง, รางวัลนักแปลดีเด่น สุรินทราขา

3) เป็นแอดมินเพจ 'ข่าวสารวงการหนังสือ' ซึ่งเป็นแอดมินร่วมของกลุ่มภาษาและการแปล

จิตติยึดหลักว่า ยืดหยุ่น ยุติธรรม และ มีความสุจริต และยึดหลักโคลงสุภาษิตของรัชกาลที่ 5 ที่ว่า  ความรู้เปรียบด้วยกำลังกายแฮ สุจริตคือเกราะบังศาสตร์พ้อง ปัญญาประดุจดังอาวุธ กุมสติต่างโล่ป้อง อาจแกล้วกลางสนาม

"พี่เรืองเดช ชวนมาเป็นแอดมินกลุ่มทำเกี่ยวกับวงการร้านหนังสืออิสระ ผมก็โพสต์ทั้งวันทั้งคืน ทั้งข่าวหนังสือใหม่ ข่าวนักเขียนใหม่ นักเขียนเก่า นักเขียนรุ่นต่างๆ นักแปล สำนักพิมพ์ ใครป่วย ใครตาย หรือว่าปีนี้ครบวาระร้อยปีของใคร"