9 ปี"ตามรอยพ่อ" ลงมือทำ เห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

9 ปี"ตามรอยพ่อ" ลงมือทำ เห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

การพัฒนาเกษตรตามแนวทาง"ศาสตร์พระราชา" สิ่งสำคัญคือ การลงมือทำ ร่วมมือและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในเครือข่าย จนเกิดการเปลี่ยนแปลงและขยายผลไปทั่วประเทศ

9 ปีแล้วที่โครงการพลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” เดินตามตามรอยพ่อ ตั้งแต่ ปี  2556 – 2564 โดยใช้กิจกรรมเอามื้อสามัคคีหรือการลงแขก นำศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น มาลงมือทำจริงในหลายพื้นที่ 22 ลุ่มน้ำ จนเกิดแรงกระเพื่อมสู่การเปลี่ยนเชิงนโยบาย 
เพื่อทำให้เห็นว่า แนวทาง เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ เมื่อลงมือทำอย่างต่อเนื่อง สามารถป้องกันน้ำท่วม และภัยแล้งในลุ่มน้ำป่าสักได้

สิ่งสำคัญคือ ต้องลงมือทำหลายปีอย่างต่อเนื่องหลายปีกว่าจะเห็นผล ต้องไม่ละความพยายาม

และตลอด 9 ปีเครือข่ายและแนวร่วมในพื้นที่มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เมื่อใดที่มีความสงสัยสิ่งที่ทำ ก็ตั้งวงพูดคุย และเมื่อเห็นผลก็ต่อยอดองค์ความรู้ออกไปทั่วประเทศ

ผลงานเชิงประจักษ์ตามรอยพ่อ

การดำเนินงาน 9 ปีที่ผ่านมา มีผลงานดังนี้ 
-สร้างคน มีผู้เข้าอบรม ดูงานในศูนย์ฯ ของเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติตลอดระยะเวลาดำเนินงานโครงการ พื้นที่เครือข่ายลุ่มน้ำป่าสัก 489,984 คน พื้นที่เครือข่ายลุ่มน้ำอื่น ๆ 826,280 คน รวม1,316,264  คน 

9 ปี\"ตามรอยพ่อ\" ลงมือทำ เห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

 

-สร้างวิทยากร และครู ในเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ ลุ่มน้ำป่าสักรวม 124 คน นอกกลุ่มน้ำป่าสัก 9 คน รวม 133 คน 
-สร้างศูนย์เรียนรู้ในโครงการ 11 แห่ง อยู่ในลุ่มน้ำป่าสัก 8 แห่ง และนอกลุ่มน้ำ 3 แห่ง 

9 ปี\"ตามรอยพ่อ\" ลงมือทำ เห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

(ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร)

เรื่องนี้ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร นายกสมาคมดินโลก ผู้ก่อตั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ผู้ผลักดันแนวทางนี้ ตลอด 9 ปี  บอกว่า โครการนี้ สร้างทั้งคน ครู ศูนย์เรียนรู้ และสร้างแรงกระเพื่อมให้ทุกภาคขับเคลื่อนจนเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย 
“สร้างศูนย์การเรียนรู้ได้เยอะ และเปิดศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายในหน่วยทหารได้ด้วย สร้างโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ ‘โคก หนอง นา โมเดล’ ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย 
นอกจากนี้ โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย โรงเรียนบ้านโป่งเกตุ และโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นโรงเรียนในเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนต้นแบบในโครงการอารยเกษตร ต่อยอดตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ‘โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง’ ของกระทรวงศึกษาธิการอีกด้วย” 

 

ตามรอยพ่อ ต้องลงมือทำจริง

อาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เป็นผู้บริหารอีกคนที่ไปร่วมกิจกรรมเกือบทุกครั้งในช่วงหลายปี และได้เห็นผลของโครงการว่า มีประโยชน์ต่อสังคม 

เขากล่าวว่า โครงการนี้สร้างแรงบันดาลใจให้คนเป็นล้าน ๆ ทั่วประเทศ ทั้งในด้านการอนุรักษ์และอยู่ร่วมกับป่า

"มีการนำศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้ เพื่อการพึ่งพาตนเอง และยังสร้างแหล่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ทั้งผ่านการสร้างศูนย์เรียนรู้ 11 แห่งใน 7 จังหวัด"

9 ปี\"ตามรอยพ่อ\" ลงมือทำ เห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

ส่วนคนที่ได้แรงบันดาลใจจากศาสตร์พระราชาในแต่ละพื้นที่มีอยู่มากมาย แสวง ศรีธรรมบุตร ปราชญ์แห่งศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี ย้อนถึงชีวิตวัยหนุ่มว่า เป็นคนไม่เอางานเอาการ จนมาเริ่มลงมือทำตามศาสตร์พระราชา ชีวิตก็ดีขึ้น และปัจจุบันพื้นที่ที่เขาทำการเกษตร กลายเป็นศูนย์เรียนรู้ และะตัวเขาเองก็เป็นวิทยากรเผยแพร่องค์ความรู้ศาสตร์พระราชา

ส่วนบัณฑิต ฉิมชาติ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีน่าน อ.เวียงสา จ.น่าน ตัวแทนเครือข่ายคนมีใจ ปี 6 กล่าวว่า โครงการนี้ทำให้ชาวบ้านลดการปลูกข้าวโพดลง 90 เปอร์เซ็นต์ ชาวบ้านได้รับพื้นที่ป่าของอุทยานคืนมา 3,000 กว่าไร่ในเวลา 2 ปี และตอนนี้ชาวบ้านมีข้าวกินทั้งหมู่บ้าน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ในโครงการตามแนวทางศาสตร์พระราชาที่ผ่านมา จะมีการอบรมหลักการออกแบบ โคก หนอง นา เบื้องต้น โดย ผศ.สุดที่รัก สายปลื้มจิตต์ อาจารย์ประจำหลักสูตร การออกแบบและการจัดการภูมิทัศน์เพื่อสิ่งแวดล้อม คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 
นอกจากนี้ยังเปิดให้เรียนรู้ในฐานต่างๆ อาทิ คนมีน้ำยา, คนรักษ์แม่ธรณี, เพาะเห็ดตะกร้า, เพาะผัก มีการจัดแสดงกองกำลังรถขุดเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ ที่เชี่ยวชาญการขุด โคก หนอง นา โมเดล  และการเปิดตลาดเครือข่ายกสิกรรมจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากพื้นที่ตัวอย่าง
..............

ดูรายละเอียดได้ที่ www.facebook.com/ajourneyinspiredbytheking