เปิดงาน ‘สร้างศิลป์ถิ่นอันดามัน’ รวมศิลปินเพื่อสังคม
‘สร้างศิลป์ถิ่นอันดามัน’ เป็นงานที่ศิลปินชาวไทยมารวมตัวกันเกือบ 70 คน เพื่อสร้างสรรค์ช่วยเหลือสังคม มีเป้าหมายว่าจะเป็นงานประจำปีจากนี้ไป
‘สร้างศิลป์ถิ่นอันดามัน’ ครั้งที่ 1 เกิดขึ้นจากการรวมตัวของศิลปินเกือบ 70 คน แบ่งเป็น 2 ส่วน
1.นิทรรศการศิลปะ 'ผู้หญิงกับอันดามัน'
เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 โดย ณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
จัดแสดงผลงาน 80 ชิ้น นำรายได้ไปช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสใน 3 จังหวัด (น่าน,เชียงราย,ขอนแก่น)
ระหว่างวันที่ 15 – 30 พฤศจิกายน 2565 ณ Central Floresta Phuket
Cr. Nutkamol Rock Komalvanich
2.กิจกรรม ‘สร้างศิลป์ถิ่นอันดามัน’ ครั้งที่1
ศิลปินร่วมกันทำงาน ไปจัดนิทรรศการ ณ Palm Square Kata Beach เพื่อนำรายได้มาช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสใน 3 จังหวัด
- ภูเก็ต เมืองศิลปะ
มานะ สามารถ ผู้จัดงาน กล่าวว่า เมื่อสองปีที่แล้ว โควิด-19 ทำให้ภูเก็ตซบเซา
"เป็นเหตุให้ ทรงเจริญ ปรมะเจริญโรจน์ ผู้บริหาร Sugar Plam Grand Hillside เชิญศิลปินกราฟฟิตี้ (Graffiti) มาเพ้นท์งานในตึก เพื่อเป็นจุดเช็คอินให้กับหาดกะตะ
ช่วงโควิดรอบสอง ก็ได้จัดงาน ‘สร้างศิลป์จากใจ ฝากไว้ที่เกาะสวรรค์’ (12-17 มีนาคม 2564) เชิญศิลปินเชียงราย 30 คน มาวาดรูปบนกำแพง มีผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตเป็นประธานเปิดงาน
Cr. Kanok Shokjaratkul
ช่วงโควิดรอบสาม จัดงาน Phuket International Art 2022 Plam Square Kata Beach (18-21 พฤษภาคม 2565)
เชิญศิลปินมาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฝรั่งเศส มองโกเลีย มี อัญชลี วานิช เทพบุตร เป็นประธานเปิดงาน และล่าสุด ก็ได้จัดงาน ‘สร้างศิลป์ถิ่นอันดามัน’ ครั้งที่ 1 ขึ้นมา"
Cr. Kanok Shokjaratkul
สุวิทย์ ใจป้อม นายกสมาคมขัวศิลปะเชียงราย กล่าวว่า
"เราเคยมาร่วมงานครั้งหนึ่งแล้ว มาวาดรูปบนกำแพงเมื่อสองปีก่อน ครั้งนี้นำศิลปินเชียงรายมา 17 คน มาทำประโยชน์เพื่อสังคม
แบ่งเป็นสองส่วน นิทรรศการที่เซ็นทรัล และวาดสดริมทะเล โอกาสหน้าคงต้องให้ภูเก็ตไปเชียงรายบ้าง เป็นเหย้าเยือนกัน"
จิระนันท์ พิตรปรีชา กวีซีไรต์ กล่าวว่า งานกวีคนอ่านน้อยลง เลยมาผนวกกับศิลปะสาขาอื่น
"พอศิลปินได้มาทำงานร่วมกันมันก็ส่งสะท้อนกันไปมา ได้มาเปิดโลกใหม่ให้ตัวเอง ได้ค้นพบเวทีแสดงออกใหม่ ๆ
Cr. Kanok Shokjaratkul
ได้มาร่วมงานนี้เพราะศิลปิน ‘พลุตม์ มารอด’ ชวนมา เขาวาดภาพแบ็คกราวน์ให้ ในหัวข้อ ‘ผู้หญิงกับอันดามัน’
เราทำงานลักษณะนี้มาสามครั้งแล้ว ไม่นึกว่ากาพย์กลอนกับทัศนศิลป์จะก้าวข้ามมาหากันได้ เป็นสิ่งแปลกใหม่ในวงการ และเอาไปช่วยเหลือโรงเรียนเด็กยากจน"
Cr. Kanok Shokjaratkul
พลุตม์ มารอด ศิลปินจิตรกรรมกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ผมได้มาร่วมงานครั้งหนึ่งแล้ว
"งานชิ้นนี้ มีสัญลักษณ์บางอย่าง ปลาวาฬ ปลาโลมา หอย ทะเล อากาศ อโรมา เป็นเทคนิคการพับ เอาสีมาแปะกัน
เมื่อก่อนผมทำภาพสีน้ำมัน แต่มันใช้เวลานานเป็นเดือน และไม่ตอบโต้กับความคิด กับสถานการณ์ เราเลยหาวิธีการใหม่ ๆ มาทดลองใช้เทคนิคนี้"
Cr. Nutkamol Rock Komalvanich
อาร์มานี่-วชิรวิทย์ สามารถ ศิลปินอายุ 16 ปี ได้รับเลือกจากสถานทูตไทยในลอนดอนประเทศอังกฤษนำภาพไปติดในห้องประชุมใหญ่ เป็นลูกศิษย์ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
ฟลอเรนซ์-ศิริฏา ยาสมุทร ศิลปินอายุน้อยที่สุดในงาน 3 ขวบครึ่ง มากับคุณพ่อ ศราวุธ ยาสมุทร ศิลปินแม่สอด จ.ตาก ที่เล่าว่า
"เขาเห็นผมวาดรูปทุกวัน ก็ซึมซับ ไม่ได้สอน เพราะเด็กวัยนี้สอนไม่ได้อยู่แล้ว แล้ววันหนึ่งที่โรงเรียนเตรียมอนุบาล ก็ให้วาดภาพวันแม่ ครูเอารูปราชินีมาให้
Cr. Kanok Shokjaratkul
เขาก็วาดตำแหน่งถูกต้องหมดเลย หน้าสีนี้ ผมสีนี้ เหรียญสีนี้ สายสะพายสีนี้ จนครูตกใจ เด็กวัยสามขวบแค่ขีด ๆ ไม่ออกนอกเส้น ก็สุดยอดแล้ว
ครูเลยถามว่าพ่อกับแม่ทำอะไร จากนั้นทางโรงเรียน ห้องของเขา ก็มาทัศนศึกษาที่บ้านผมหมดเลย เราซื้อสีสำหรับเด็กให้เขาเล่น เขาก็ละเลงเละเทะไปหมด
Cr. Nutkamol Rock Komalvanich
เราสอนวาดไม่ได้ ก็สอนการเล่าเรื่อง หลังจากนั้นเขาก็วาดรูปอะไรไม่รู้ แต่อธิบายงานได้ ว่านี่คือปลาโลมา ภูเขา ดอกไม้ สโนไวท์ในป่ามืดมนเจอคนแคระ แต่ดูรูปแล้วมันไม่เป็น เป็นจินตนาการของเขา
แก่นแท้ของศิลปะเด็กคือการอธิบายสิ่งที่เขาทำ เขาจะวาดรูปอะไร ไม่ต้องสนใจ แต่การเล่าที่เป็นจินตนาการของเขา อันนี้สำคัญ"