นิทรรศการศิลป์สุวรรณภูมิ ณ หอศิลป์แห่งใหม่ เติมเต็มศิลปะให้คนรุ่นใหม่

นิทรรศการศิลป์สุวรรณภูมิ ณ หอศิลป์แห่งใหม่ เติมเต็มศิลปะให้คนรุ่นใหม่

อาจารย์อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ศิลปินแห่งชาติ จุดประกาย นิทรรศการศิลป์สุวรรณภูมิ ที่ “เมโดว่า” หอศิลป์แห่งใหม่ เติมศิลปะให้กับคนรุ่นใหม่ 

นิทรรศการศิลป์สุวรรณภูมิ บนเส้นทางสายไหม 2 เส้นทางธรรม ณ เมโดว่า หอศิลป์แห่งใหม่ เติมเต็มศิลปะให้คนรุ่นใหม่ ในสไตล์ “อาร์ต แอนด์ ดีไซน์” เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11.00 น.  เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการศิลป์สุวรรณภูมิ บนเส้นทางสายไหม 2 เส้นทางธรรม ณ อาคารเมโดว่า (Medova) ห้อง Event Hall โดยมีนายธีรพจน์ จรูญศรี ประธานมูลนิธิศิครินทร์ อาจารย์อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ศิลปินแห่งชาติ นางสาวสุจินตนา จรรยาทิพย์สกุล ประธานมูลนิธิเก้ายั่งยืน คณะผู้บริหารโรงพยาบาลศิครินทร์ มูลนิธิโรงพยาบาลศิครินทร์ คณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลป ร่วมงานในพิธี

อาจารย์อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ศิลปินแห่งชาติกล่าวว่า โครงการศิลป์สุวรรณภูมิ เส้นทางสายไหมทางทะเล เป็นโครงการร่วมกันระหว่างมูลนิธิโรงพยาบาลศิครินทร์ กับ มหาวิทยาลัยศิลปากร คือ มหาลัยศิลปากร รับหน้าที่เป็นคนดูแลคัดเลือกศิลปิน สร้างผลงานขึ้นมาโดยเราคัดอาจารย์ นิสิต นักศึกษา ศิษย์เก่า จำนวน 20 ท่าน มาร่วมสร้างงาน ซึ่งครั้งแรกที่ทําขึ้นมาเสร็จ เราแสดงที่หอศิลป์สงขลา ตามวัตถุประสงค์แรกของมูลนิธิ โรงพยาบาลศิครินทร์ แต่พอแสดงไปที่สงขลาก็มีความรู้สึกว่าทําแล้วอยากจะเผยแพร่ให้ได้ประโยชน์ให้มากที่สุด จึงได้มาจัดแสดงที่ Medova เป็นครั้งที่ 2 เพื่อให้คนกรุงเทพฯ ชมงานศิลปะในครั้งนี้

นิทรรศการศิลป์สุวรรณภูมิ ณ หอศิลป์แห่งใหม่ เติมเต็มศิลปะให้คนรุ่นใหม่

Medova เป็นโครงการที่เกิดใหม่ คือ ส่วนหหนึ่งของมูลนิธิศิครินทร์ก็เลยหารือกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงเกิดนิทรรศการศิลป์สุวรรณภูมิ 2 เราเรียกชั้นบนว่า “Medova Art Space” เป็นที่ใหม่ที่เรียกว่าเป็น Open  Space ที่เปิดไว้ให้กับศิลปินทุกท่าน ท่านไหนจะเอางานมาแสดง เป็นกลุ่ม เป็น Solo เป็นเวทีจัดแสดงต่างๆ ก็ถือว่า เส้นทางสายไหมทางทะเล เป็นนิทรรศการที่ 2 สําหรับ Medova เพราะนิทรรศการที่ 1 เป็นเรื่องของพระบาทสมเด็จพระชนก  คือตั้งแต่เดือนธันวาคมที่ผ่านมา เราก็มีการแสดงงานเป็นผลงานที่ศิลปินสร้างผลงานที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 9 

และอันนี้เป็นนิทรรศการที่ 2 เป็นนิทรรศการเส้นทางธรรม ที่นี้ไปเกี่ยวข้องกับสมเด็จธงชัย ก็เพราะว่าสมเด็จธงชัย ท่านได้สร้างหลวงพ่อทวด กับคุณธีรพจน์ จรูญศรี ซึ่งเป็นประธานทางมูลนิธิศิครินทร์ หลวงพ่อทวดองค์นี้ เป็นองค์ที่ 2 แล้วที่ท่านสร้างขึ้นที่ อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เพราะองค์ที่หนึ่ง สร้างที่จังหวัดสงขลา 

 

ดังนั้น พอความเกี่ยวเนื่องกันทั้งเรื่องราวของการสร้างหลวงพ่อทวด  เรื่องเส้นทางธรรม ซึ่งเป็นการเล่าประวัติของหลวงพ่อทวด ผ่านไตรกัลปณา ที่เรียกว่าเป็นเอกสารภาพ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ก็เล่าเรื่องเส้นทางธรรมของหลวงพ่อทวด เราก็เลยใช้อันนั้น เป็นต้นเรื่อง เพื่อที่จะนําไปสู่ความรู้ที่ศิลปินไปค้นหาและก็นํามาสร้างเป็นงานทั้ง 20 ภาพ

Medova จะเป็นพื้นที่สําหรับศิลปินมาแสดงงานได้ทุกประเภท คือ ไม่ใช่แต่ศิลปะในประเภทจิตรกรรม ประติมากรรม หมายถึงว่าไม่ว่าจะเป็นดนตรี ไม่ว่าจะเป็นการแสดงศิลปะแขนงอื่นได้หมด อย่างเช่น วันนี้ ตอนเย็นเราก็จะมีงาน ซึ่งจะมีบูธที่เป็นบูธเกี่ยวกับหัตถกรรม เกี่ยวกับงานฝีมือ ประมาณ 40 กว่าบูธ  มาออกร้าน คือ อยากจะให้ community พวกนี้มันเคลื่อนไหวไปในแง่ของงาน “อาร์ต แอนด์ ดีไซน์” (Art and Design)” เราจะได้สัมผัสกับบรรยากาศพื้นที่ใหม่ของงานศิลปะในยุคปัจจุบัน  ซึ่งยินดีต้อนรับศิลปินและผู้ที่รักและชอบในศิลปะ” อาจารย์อำมฤทธิ์ กล่าวและย้ำว่า

“ศิลปะพุทธศาสนา เราเป็นคนพุทธ ผมเองโดยส่วนตัวก็ศึกษาพุทธศาสนาพอสมควร ผมทํางานศิลปะที่ใช้หลักคำสอน พระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้า หรือแม้แต่พระเกจิอาจารย์  ผมได้ความรู้จากสิ่งเหล่านี้แล้วก็ศิลปะ ถ้าหากว่าเราไม่มีความรู้ด้านอื่นใส่เข้าไป ตัวศิลปะเองมันก็แค่สวยงาม แต่พอเอาความคิดจากศาสตร์อื่นๆ เข้ามา ผมใช้ศาสตร์ที่เป็นพุทธศาสนาเข้าไป มันก็จะทําให้งานศิลปะของผม มันสามารถเดินทางไปทั่วไปต่อไปได้กว้างขึ้น ดังนั้น คิดว่าศาสตร์ทุกศาสตร์มีความสําคัญกับศิลปะเป็นของที่มันเป็นเหมือนกับเทรนนิ่ง เป็นอะไรที่เราฝึกขึ้นมา เรารู้เส้นสีแสงเงารูปทรงอะไรอย่างนี้ แต่เราก็เอาใส่ในความคิด เหมือนอย่างวันนี้เราใช้คําว่า “เส้นทางสายไหม”, “เส้นทางสายไหมทางทะเล” คือ อย่างที่สมเด็จธงชัยท่าน บอกมีอยู่สองอย่างคือ เส้นทางบกกับเส้นทางทะเล ฉะนั้น นําหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่จะพอทำให้เราเข้าถึงสิ่งเหล่านี้ได้ เส้นทางสายไหมทางทะเลเป็นวัฒนธรรมแผ่ลงมาจากจีนสู่ภูมิภาคครั้งนี้ แม้แต่ในยุคสุวรรณภูมิ ซึ่งมากกว่าพุทธศตวรรษ การเติบโตของตรงนี้ก็เกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านี้”

อาจารย์อำมฤทธิ์ กล่าวว่างานศิลปะ มันเป็นอะไรที่ จะว่าง่ายก็ง่าย  เพราะว่ามันไม่ได้เป็นเรื่องผิดเรื่องถูก มันเป็นเรื่องของความพึงพอใจในเรื่องของความชอบหรือไม่ชอบ แต่ในขณะเดียวกัน พอเราพูดถึงคนรุ่นใหม่ ศิลปะมันเปิดกว้างมาก ศิลปะมันมีมากมายมหาศาล ตั้งแต่ใช้ฝีมือแบบเดิมไปจนถึงการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเข้ามาทํา  เพราะฉะนั้น ความเป็นศิลปะในในศตวรรษที่ 21 คือ อะไรที่มันแบบเราไม่สามารถทําวงเล็บเอาไว้ได้  มันต้องเป็นไฟล์เปิดที่มันจะขยายกว้างต่อไปเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งเราก็อยากเป็นเวที สิ่งเหล่านี้เป็นถนนเส้นหนึ่งเล็กๆ ที่จะช่วยกันในเรื่องของการทํางานศิลปะในวันนี้ และวันข้างหน้า

นิทรรศการศิลป์สุวรรณภูมิ ณ หอศิลป์แห่งใหม่ เติมเต็มศิลปะให้คนรุ่นใหม่

ด้านนางสาวสุจินตนา จรรยาทิพย์สกุล ประธานมูลนิธิเก้ายั่งยืน กล่าวว่าทางเจ้าของโรงพยาบาลศิครินทร์ มูลนิธิศิครินทร์ มีความรักในศิลปะเลยอยากให้คนศึกษาศิลปะสุวรรณภูมิ ก็อยากเชิญชวนทุกท่านมาชมนิทรรศการศิลป์สุวรรณภูมิ ที่ เมโดว่า ได้จัดแสดงศิลป์สุวรรณภูมิ เกี่ยวกับเรื่องศิลป์ทางธรรม คำว่าแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง คือ สุวรรณภูมิ หมายถึง ศิลปะทางภาคพื้นอาเคนย์ ที่เรียกว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่คนโบราณ ที่เรียกว่า สุวรรณภูมิ ถิ่นทองคำที่ทำอะไรที่เกี่ยวกับทองเยอะ เรียกว่าเป็นแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง เป็นแผ่นดินที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง จึงเป็นที่มาที่ชาวตะวันตกเรียกพวกเราว่าสุวรรณภูมิ อันนี้เป็นความรู้จากสมเด็จธงชัย เล่าให้ฟังเรามีแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง มีธรรมจักรที่เจริญรุ่งเรืองที่นี้ ยินดีมากที่ได้มีโอกาสมาร่วมชมนิทรรศการศิลป์สุวรรณภูมิ ที่แสดงให้เห็นความเป็นสุวรรณภูมิของเราอย่างงดงาม และขอให้หอศิลป์แห่งนี้ประสบความสำเร็จ สมความปรารถนาทุกประการ

“ขอเชิญชวนทุกท่านมาชมนิทรรศการนิทรรศการศิลป์สุวรรณภูมิ บนเส้นทางสายไหม 2 เส้นทางธรรม ณ อาคารเมโดว่า (Medova) ห้อง Event Hall วันที่ 30 มกราคมถึง 25 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 14.00-19.30 น.” สุจินตนา กล่าว

นิทรรศการศิลป์สุวรรณภูมิ ณ หอศิลป์แห่งใหม่ เติมเต็มศิลปะให้คนรุ่นใหม่

นิทรรศการศิลป์สุวรรณภูมิ ณ หอศิลป์แห่งใหม่ เติมเต็มศิลปะให้คนรุ่นใหม่ นิทรรศการศิลป์สุวรรณภูมิ ณ หอศิลป์แห่งใหม่ เติมเต็มศิลปะให้คนรุ่นใหม่ นิทรรศการศิลป์สุวรรณภูมิ ณ หอศิลป์แห่งใหม่ เติมเต็มศิลปะให้คนรุ่นใหม่