จักรวาลความใหม่ของ Access Bangkok Art Fair ทำไมเกาหลีเลือกไทยจัดงาน
ครั้งแรกกับการเปิดตัว Access Bangkok Art Fair งานแสดงศิลปะจัดโดยแพลตฟอร์มดิจิทัลล้ำสมัยจากเกาหลี ผสานศิลปะ เทคโนโลยี และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ที่ไอคอนสยาม
งานแสดงศิลปะนานาชาติงานใหม่ล่าสุดของประเทศไทยมีชื่อว่า Access Bangkok Art Fair ความใหม่ที่แตกต่างคือเป็นงานแสดงศิลปะแห่งแรกในประเทศไทยที่ผสานประสบการณ์ออฟไลน์และออนไลน์เข้าด้วยกัน โดยเปิดโอกาสให้นักสะสมสามารถมีส่วนร่วมได้จากทุกมุมโลก
สถานที่จัดงาน ACCESS BANGKOK ART FAIR
Access Bangkok Art Fair จัดโดย ARTMEETSLIFE (AML) กับ ARTUE แพลตฟอร์มดิจิทัลล้ำสมัยจากประเทศเกาหลี นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากกองทุนวัฒนธรรมของรัฐบาลเกาหลีอีกด้วย
ด้วยการตระหนักถึงศักยภาพของ กรุงเทพฯ ในฐานะเมืองหลวงทางวัฒนธรรมที่กำลังเติบโต, AML และ ARTUE จึงได้เลือกกรุงเทพฯ โดยมี ไอคอนสยาม เดสติเนชั่นระดับโลกเป็นสถานที่จัดงานแสดงศิลปะครั้งแรก เพื่อสร้างเครือข่ายทางศิลปะใหม่ๆและยกระดับการมีตัวตนของไทยบนเวทีศิลปะระดับโลก
Access Bangkok Art Fair ถือเป็นเกิดขึ้นในจังหวะแห่งการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมของไทยในอดีต ภาษีศุลกากรที่สูงและขั้นตอนพิธีการศุลกากรที่ซับซ้อน เป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับแกลเลอรีระดับนานาชาติ
อย่างไรก็ตาม พัฒนาการล่าสุดถือเป็นจุดเปลี่ยน เนื่องจากคณะกรรมการซอฟต์พาวเวอร์ของไทย ร่วมกับคณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติแผนส่งเสริมการจัดแสดงงานศิลปะทั่วประเทศ โดยกำลังพิจารณาการลดและยกเว้นภาษี Access Bangkok Art Fair สอดคล้องกับแผนริเริ่มเหล่านี้ ส่งสัญญาณการก้าวสู่ยุคใหม่ของการมีส่วนร่วมด้านศิลปะระดับโลกของไทย
A+ Works of Art : ศิลปิน Joshua Kane Gomes, Parasocial XI , 2023, Steel, ropes, emulsion coated foam, fabric & polyester fiber fill, 109(h) x 143 x 57 cm
ความร่วมมือผ่านช่องทางดิจิทัลครั้งสำคัญ
Access Bangkok Art Fair โดดเด่นด้วยการผสานอย่างลงตัวระหว่างดิจิทัลทวิน (Digital Twin) และเครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วย AI ของ ARTUE สร้างห้องชมผลงาน (Online Viewing Room - OVR) แบบอิมเมอร์ซีฟที่ให้นักสะสมและผู้ชื่นชอบศิลปะทั่วโลกสามารถเลือกชมและซื้อผลงานศิลปะได้ทางออนไลน์
แพลตฟอร์มดิจิทัลนี้เข้าถึงได้แม้หลังจบงานไปแล้ว จึงเป็นงานที่ช่วยเชื่อมต่อผู้จัดแสดงกับผู้ชมทั่วโลก
Johyun Gallery : Lee Bae, Brushstroke-N7, 2024, Charcoal Ink on Paper, 162 X 130 cm
รายชื่อผู้จัดแสดงผลงานและจุดเน้นทางศิลปะ
Access Bangkok Art Fair นำเสนอผลงานจากแกลเลอรีที่คัดสรรมาอย่างพิถีพิถัน 30 แห่ง โดยมี 12 แห่งมาจากเกาหลีใต้ 9 แห่งจากกรุงเทพฯ และอีก 9 แห่งจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคอื่นๆ
การคัดเลือกนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจในระดับนานาชาติที่มีต่อตลาดศิลปะในกรุงเทพฯ และนำเสนอการผสมผสานอันมีชีวิตชีวาของศิลปินร่วมสมัย
ในครั้งนี้ แกลเลอรีจากเกาหลีมีความโดดเด่นมาก โดยมีแกลเลอรีชั้นนำอย่าง Johyun Gallery และ Gallery2 ผู้มีประสบการณ์จาก Art Basel และ Frieze
ตลอดจนแกลเลอรีที่ทรงอิทธิพลในวงการอย่าง ThisWeekendRoom, A-Lounge Contemporary, Baik Art และ Gallery Soso ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ผลักดันศิลปินรุ่นใหม่ของเกาหลีสู่เวทีโลก
FFF Hanna Lee, Resonance, 2024, Oil on Canvas, 15.8 x 22 cm
Obscura, Duck Yong Kim, Borrowed Scenery-Gwanhaeeum, 2024, Mother of Pearl and mixed media on wood, 72x100cm
ส่วนแกลเลอรีรุ่นใหม่อย่าง CDA, Objecthood และ FFF ก็มาร่วมนำเสนอความแปลกใหม่ให้กับงาน ผู้ชมชาวไทยที่คุ้นเคยกับวัฒนธรรมเกาหลีอยู่แล้ว จะได้มีโอกาสสัมผัสกับสุดยอดศิลปะร่วมสมัยของเกาหลี ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างสองประเทศ
ผลงานศิลปะสื่อผสมของ ชนิดา วรพิทักษ์ ศิลปะตั้งแต่ไฟล์วิดีโอและที่นั่งชม
Bruce-Lee ผลงานของศิลปินป๊อบอาร์ต ภาคภูมิ ศิลาพันธ์ โดย 333 Gallery
การแสดงผลงานศิลปะโดย River City Bangkok
งานลายเส้นดินสอยุคแรกของ Alex Face โดย Bangkok CityCity Gallery
ผลงานของ กิตติ นารอด โดย Tang Contemporary Art
จาก ประเทศไทย มีแกลเลอรีชั้นนำ 9 แห่ง ได้แก่ Nova Contemporary, SAC Gallery, Gallery VER และ Warin Lab Contemporary ที่แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางศิลปะของประเทศ
Bangkok CityCity Gallery จะเพิ่มความพิเศษให้กับงานด้วยมุมหนังสือศิลปะ ซึ่งเป็นการต่อยอดจากบทบาทของแกลเลอรีแห่งนี้ในฐานะผู้จัดงานหนังสือศิลปะที่ได้รับความนิยมในกรุงเทพฯ ส่วน Tang Contemporary Art มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ
พร้อมด้วยผู้นำในภูมิภาคอย่าง A+ WORKS of ART (กัวลาลัมเปอร์), The Drawing Room (มะนิลา) และ Richard Koh Projects (สิงคโปร์) ช่วยยกระดับการเป็นตัวแทนของภูมิภาคและเพิ่มมิติระดับโลกให้กับงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
มาริษา เจียรวนนท์
การสนับสนุนจากหน่วยงานและการมีส่วนร่วมของชุมชน
Access Bangkok Art Fair ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานด้านวัฒนธรรมชั้นนำของไทย แต่ละแห่งช่วยเพิ่มบรรยากาศที่มีชีวิตชีวาให้กับงาน
แกลเลอรี Kunsthalle Bangkok ของ มาริษา เจียรวนนท์ รับเป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำ VVIP สำหรับนักสะสมรายใหญ่
ในขณะที่ A+ WORKS of ART ต้อนรับผู้จัดแสดงและชุมชนศิลปะท้องถิ่นในค่ำคืนที่คึกคักที่ deCentral Bangkok pop-up ในวันที่ 5 ธันวาคม 2567
MOCA Bangkok จะยกระดับประสบการณ์ด้วยงานปาร์ตี้ VIP ในวันที่ 6 ธันวาคม 2567 เป็นงานที่เปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะ ผู้ชื่นชอบศิลปะ และผู้เข้าร่วมงานแฟร์ได้พบปะกัน
"พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัยยินดีที่ได้สนับสนุนงานแสดงศิลปะนานาชาติครั้งแรกของกรุงเทพฯ ที่รวบรวมและคัดสรรแกลเลอรีไทยและเกาหลีที่มีผลงานโดดเด่นมาไว้ในที่เดียว" คิด - คณชัย เบญจรงคกุล ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (MOCA Bangkok) กล่าว
"เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้จัดสองนิทรรศการใหม่เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ข้ามวัฒนธรรมครั้งนี้ และหวังว่าจะได้เห็นยุคใหม่ของระบบนิเวศทางศิลปะที่เสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างประเทศผ่านพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงของศิลปะร่วมสมัย"
กิจกรรมเหล่านี้เน้นย้ำถึงจิตวิญญาณอันเป็นเอกลักษณ์ของ Access Bangkok Art Fair ที่ส่งเสริมบรรยากาศแห่งความร่วมมือที่มีชีวิตชีวาสำหรับแกลเลอรี ศิลปิน และสถาบันต่างๆ ในการเชื่อมต่อและส่งเสริมซึ่งกันและกัน
ผู้ร่วมจัดงาน Access Bangkok Art Fair
การจัดกิจกรรมที่มีสีสัน
การจัดกิจกรรมของ Access Bangkok Art Fair ประกอบด้วยงานที่น่าสนใจหลายงาน ในวันที่ 6 ธันวาคม ไอคอนสยามจะจัดเสวนาระหว่างนักออกแบบภายในที่มีชื่อเสียงอย่าง Teo Yang และ CEO ของ ARTUE คือ Bo Young Song เพื่อหาจุดตัดระหว่างศิลปะ การออกแบบ และนวัตกรรมดิจิทัล
นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลทางวัฒนธรรมเกาหลี โดยสถาปนิกและนักเขียนหนังสือขายดี Hyunjoon Yoo บรรยายที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(3 ธันวาคม) กิจกรรมนี้จัดโดยศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในประเทศไทย
เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เข้าชมให้มากขึ้น จะมีการนำชมเป็นภาษาอังกฤษทุกวัน นำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะเกาหลี โดยเน้นนิทรรศการสำคัญจากแกลเลอรีเกาหลีที่เข้าร่วม เพื่อเปิดโอกาสให้นักสะสมและผู้รักศิลปะได้ชมศิลปะร่วมสมัยของเกาหลีอย่างใกล้ชิด
Access Bangkok Art Fair ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญของวงการศิลปะในกรุงเทพฯ ที่รวมแกลเลอรี ศิลปิน และนักสะสมทั้งในประเทศและต่างประเทศมาอยู่ในงานที่มีความสำคัญอย่างมากครั้งนี้ ด้วยการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไทยและแกลเลอรีชั้นนำ Access Bangkok Art Fair พร้อมที่จะยกระดับสถานะของกรุงเทพฯ ให้เป็นจุดหมายปลายทางสำคัญในตลาดศิลปะระดับโลก
"งานแสดงศิลปะนานาชาติในกรุงเทพฯ ถือเป็นก้าวสำคัญของประเทศไทย" จงสุวัฒน์
อังคสุวรรณศิริ ผู้ร่วมก่อตั้ง SAC Gallery กล่าว "งานนี้เปิดตลาดและให้โอกาสผู้ชมในท้องถิ่นได้เข้าถึงศิลปินนานาชาติที่พวกเขาไม่ค่อยมีโอกาสได้เห็น ช่วยอุดช่องว่างที่เคยเกิดขึ้นในระบบนิเวศทางศิลปะของเรา"
ด้าน Bo Young Song ซีอีโอของ ARTUE กล่าวว่า "ประเทศไทยมีศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติมากมายและเป็นเจ้าภาพจัดเบียนนาเล่ที่มีชื่อเสียง เรารู้สึกตื่นเต้นและเป็นเกียรติที่ได้มีส่วนร่วมในการนำกรุงเทพฯ เข้าสู่ตลาดศิลปะระดับโลก ฉันหวังว่าโอกาสนี้จะจุดประกายการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่มีความหมายระหว่างสองประเทศของเรา กรุงเทพฯ มีศักยภาพไม่จำกัด และเช่นเดียวกับที่ Frieze Seoul ได้ช่วยสถาปนาเกาหลีให้เป็นศูนย์กลางศิลปะแห่งเอเชีย เราหวังที่จะได้เห็นงานที่น่าตื่นตาตื่นใจมากมายเกิดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในอนาคต"
นายสุพจน์ ชัยวัฒน์ศิริกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด กล่าวว่า “ด้วยศักยภาพของไอคอนสยามในการเป็น Global Destination ที่พร้อมยกระดับประสบการณ์ศิลปะผ่านแนวคิด ICONSIAM ART & CULTURE ไอคอนสยามจึงพร้อมเดินหน้าสร้างจุดหมายปลายทางแห่งศิลปะและวัฒนธรรมที่ผสมผสานความเป็นไทยและสากล ผ่านการนำเสนอศิลปะร่วมสมัยที่หลากหลาย งาน ACCESS BANGKOK นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ตอกย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของไอคอนสยามในการเป็น World Hub of Art & Culture ผ่านการส่งเสริมคอมมูนิตี้ศิลปะครบทุกมิติอย่างแท้จริง”
นิทรรศการ ACCESS BANGKOK ART FAIR
นิทรรศการศิลปะ Access Bangkok Art Fair เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมฟรีตั้งแต่วันที่ 5-7 ธันวาคม 2567 ที่ The Pinnacle Hall ชั้น 8 ไอคอนสยาม
ขอเชิญชวนทุกท่านไปสัมผัสการผสานกันของศิลปะและวัฒนธรรมครั้งพิเศษนี้ ท่านจะได้ชมผลงานศิลปะชิ้นเยี่ยมของศิลปินจากหลากหลายประเทศที่ได้รับการคัดสรรจากแกลเลอรีชั้นนำ