กรมศิลป์เปิดตัว 'ของที่ระลึก' จากแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ

กรมศิลป์เปิดตัว 'ของที่ระลึก' จากแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ

ครบรอบ 114 ปี กรมศิลปากร เปิดตัว 'ของที่ระลึก' จากทุนทางวัฒนธรรม ฝีมือสำนักช่างสิบหมู่ หนึ่งใน 11 ภารกิจเปลี่ยนผ่านจากยุคแห่งการอนุรักษ์สืบทอด สู่ ‘การต่อยอดและพัฒนา’

KEY

POINTS

  • พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ

กรมศิลปากร เปิดตัว 'ต้นแบบผลิตภัณฑ์ทุนทางวัฒนธรรม' ที่จะดำเนินการผลิตและนำออกจำหน่ายเป็น ของที่ระลึก

กิจกรรมนี้เป็นหนึ่งใน 11 ภารกิจการเดินหน้าเปลี่ยนผ่านจากยุคแห่งการอนุรักษ์สืบทอด สู่ ‘การต่อยอดและพัฒนา’ ในโอกาส 114 ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากรในปีพ.ศ.2568

กรมศิลป์เปิดตัว \'ของที่ระลึก\' จากแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ

ภารกิจนี้ กรมศิลปากรได้มอบให้ สำนักช่างสิบหมู่ ดำเนินโครงการออกแบบและจัดทำเป็น ‘ของที่ระลึก’ โดยต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมจาก ‘แหล่งเรียนรู้’ ไม่ว่าจะเป็น โบราณสถาน โบราณวัตถุ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผ่านการศึกษา วิเคราะห์ สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความสวยงาม และคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ 

ถือเป็นการรักษา องค์ความรู้ทางศิลปวัฒนธรม ที่กําลังจะสูญหาย และเพิ่มพูนประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญในเชิงช่างและการออกแบบของบุคลากรในสำนักช่างสิบหมู่ 

ขณะนี้มีผลิตภัณฑ์ ‘ของที่ระลึก’ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก 'แหล่งเรียนรู้' คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี พร้อมวางจำหน่ายแล้ว

กรมศิลป์เปิดตัว \'ของที่ระลึก\' จากแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ โคมไฟพอร์ซเลน แรงบันดาลใจจากข้อสร้อยลูกปัดโบราณ

ยกตัวอย่างเช่น โคมไฟพอร์ซเลน ของที่ระลึกชิ้นนี้มีความคิดริเริ่มโดย วีรยา จันทรดี ผู้อำนวยการสำนักช่างสิบหมู่ ซึ่งต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมจาก ข้อสร้อยลูกปัด ซึ่งทำด้วยทองคำ เป็นศิลปะโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ปัจจุบันเก็บรักษาและจัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

“ข้อสร้อยลูกปัดโบราณมีขนาดเล็กประมาณนิ้วหัวแม่โป้ง เป็นงานทองคำ ผู้อำนวยการวีรยาเกิดแรงบันดาลใจประยุกต์ทำเป็นโคมไฟ จากรูปทรงเรขาคณิตชิ้นเล็กมาขยายขนาดเป็นโคมไฟ เพิ่มเติมลวดลายบางส่วน แล้วมอบหมายให้ผมปรับแบบ” ปกรณ์ ปรีชาวนา กลุ่มศิลปประยุกต์และเครื่องเคลือบดินเผา สำนักช่างสิบหมู่ เล่าขั้นตอนการทำ ‘โคมไฟพอร์ซเลน’ จาก ‘ข้อสร้อยลูกปัด’ สมัยกรุงศรีอยุธยา

กรมศิลป์เปิดตัว \'ของที่ระลึก\' จากแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ จากข้อสร้อยลูกปัดโบราณสู่ของที่ระลึก 'โคมไฟพอร์ซเลน '

หลังจากปรับแบบโดยดูจากงานโบราณเป็นหลัก จึงส่งต่อให้ ปริญญา บุญฤทธิ์ ทำต้นแบบ จากนั้นเข้าสู่กระบวนการทำเซรามิกระดับพอร์ซเลน วาดลายด้วยการเขียนน้ำทอง แล้วเผาอีกรอบที่อุณหภูมิ 750 องศาเซลเซียส

ได้เป็น ‘โคมไฟพอร์ซเลน’ สีขาวใสเงาวาว รูปทรงข้อสร้อยลูกปัดโบราณพร้อมลวดลายที่ถอดเป็นลายเส้นจากงานขดเส้นทองบนข้อสร้อยลูกปัด ส่วนช่องที่แสงสว่างลอดออกมา เดิมคือตำแหน่งอัญมณีที่ประดับบนข้อสร้อยลูกปัด

ของที่ระลึก ‘โคมไฟพอร์ซเลน’ มีขนาดกว้าง 9.5 เซนติเมตร สูง 25 เซนติเมตร เป็นเครื่องเคลือบดินเผา เขียนลายทอง ล้วงลายสีแดง ราคา 3,900 บาท ขณะนี้จัดทำเสร็จแล้วพร้อมจำหน่าย 8 ชิ้น

กรมศิลป์เปิดตัว \'ของที่ระลึก\' จากแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ ชุดเครื่องประดับลูกปัดเซรามิก

สำหรับสายแฟชั่น กรมศิลปากรแนะนำของที่ระลึก ชุดเครื่องประดับลูกปัดเซรามิก ทั้งชุดประกอบด้วยสร้อยคอ กำไล ต่างหู วัสดุดินเผาเซรามิก เทคนิคการขึ้นลวดลายทวารวดี ออกแบบโดย พัชรี พัฒนจันทน์ กลุ่มศิลปประยุกต์และเครื่องเคลือบดินเผา สำนักช่างสิบหมู่

พัชรีให้สัมภาษณ์ว่า ต้นแบบชุดเครื่องประดับลูกปัดเซรามิกชุดนี้ เกิดจากการออกสำรวจเรื่องราวของ ‘ลูกปัด’ ที่แหล่งโบราณคดีคลองท่อม จังหวัดกระบี่ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

กรมศิลป์เปิดตัว \'ของที่ระลึก\' จากแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ ชุดเครื่องประดับลูกปัดเซรามิก

กรมศิลป์เปิดตัว \'ของที่ระลึก\' จากแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ ชุดเครื่องประดับลูกปัดเซรามิก

ความงดงามของ ‘ชุดเครื่องประดับลูกปัดเซรามิก’ ชุดนี้จึงประกอบไปด้วยความงามของลูกปัดสไตล์โรมันจากแหล่งโบราณคดีคลองท่อม และความงามของลูกปัดทวารวดีสมัยเมืองโบราณอู่ทองที่มีอายุมากกว่า 3,000 ปี

รูปทรงลูกปัดมีทั้งทรงกลอง ทรงรียาว ทรงตัด ขึ้นรูปด้วยคุณภาพดินชั้นดี Bone China เผาด้วยอุณหภูมิ 1,200 – 1,300 องศาเซลเซียส เคลือบสีออกโทนสีส้ม สีแดง สีน้ำตาล สีฟ้าอมเทา ตามสีดินและแร่อาเกต (agate) ที่ใช้ทำลูกปัดยุคทวารวดี ร้อยด้วยสลิงเกลียวพันพลาสติก

ขณะนี้ชุดใหญ่ครบเซต (สร้อยคอ กำไล ต่างหู) จัดทำไว้แล้ว 17 ชุด ราคาชุดละ 2,900 บาท และแบบแยกประเภทๆ ละ 20 ชิ้น ณ วันสัมภาษณ์ยังไม่ได้ตั้งราคาจำหน่าย

กรมศิลป์เปิดตัว \'ของที่ระลึก\' จากแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ ปลามงคลหล่อโลหะ

ใครเคยไปเยี่ยมชม ‘พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา’ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คงสะดุดตากับ หินแกะสลักรูปปลา ศิลปะโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

บัดนี้ อาจารย์เจริญ มาบุตร กลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ นำมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ของที่ระลึก ปลามงคลหล่อโลหะ และ ปลามงคลเซรามิก

กฤษณะ นาพูนผล กลุ่มศิลปะประยุกต์และเครื่องเคลือบดินเผา สำนักช่างสิบหมู่ ผู้ขึ้นต้นแบบของที่ระลึก ‘ปลามงคล’ เล่าว่า เดิมผู้มีฐานะในสมัยกรุงศรีอยุธยาให้ช่างฝีมือแกะสลักหินเป็นรูปปลา แล้วเขียนสีให้สวยงาม เพื่อใช้เป็นภาชนะสำหรับเก็บเครื่องทอง

กรมศิลป์เปิดตัว \'ของที่ระลึก\' จากแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ ปลามงคลเซรามิก

ในการจัดทำ ‘ของที่ระลึก’ จากต้นทุนทางวัฒนธรรม อาจารย์เจริญ มาบุตร ได้ออกแบบลายเส้นบนตัวปลาขึ้นมาใหม่ในลักษณะลายไทยประยุกต์ เพื่อนำมาจัดทำเป็นงานโลหะและงานเซรามิก 

กฤษณะกล่าวว่า หลังจากปั้นต้นแบบปลามงคลแล้วก็นำไปจัดทำเป็นของที่ระลึก ‘ปลามงคลหล่อโลหะ’ ทำด้วยทองเหลืองขัดเงาปิดทองคำเปลวให้สวยงาม และ ‘ปลามงคลเซรามิก’ ตามกรรมวิธีผลิตพอร์ซเลน เผาถึง 4 ครั้ง เขียนลายน้ำทองตามแบบลวดลายที่อาจารย์เจริญออกแบบไว้

‘ปลามงคลหล่อโลหะ’ มีความยาว 32 เซนติเมตร กว้าง 12 เซนติเมตร ราคา 9,900 บาท ‘ปลามงคลเซรามิก’ ความยาว 25 เซนติเมตร กว้าง 9 เซนติเมตร ราคา 3,500 บาท ขณะนี้กำลังผลิตตามคำสั่งซื้อที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง

กรมศิลป์เปิดตัว \'ของที่ระลึก\' จากแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่วางโทรศัพท์ ของที่ระลึกจากทุนวัฒนธรรม

ของที่ระลึกสำหรับนักสื่อสารที่พิสมัยกลิ่นไอศิลปะวัตถุโบราณน่าจะชอบ ที่วางโทรศัพท์ ออกแบบโดย อ.เกียรติศักดิ์ สุวรรณพงศ์ กลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่

อ.เกียรติศักดิ์ได้แรงบันดาลใจจากคันฉ่องเครื่องทองอยุธยา หรือกระจกเงาที่มีเรือนซุ้มประดับด้านบนและด้านล่าง ลวดลายบนเรือนซุ้มถอดแบบมาจากลวดลายในงานศิลปกรรมเครื่องทองอยุธยา ส่วนมากเป็นลายก้านขดที่มีความอ่อนช้อย

ขั้นตอนการทำเริ่มจากแกะไม้เป็นต้นแบบเพื่อทำเป็นแม่พิมพ์ทำเบ้าหล่องานทองเหลือง เสร็จแล้วปิดทองคำเปลวล้อไปกับเครื่องทองอยุธยา

แท่นวางโทรศัพท์นี้มีขนาดกว้าง 4.30 เซนติเมตร สูง 7.3 เซนติเมตร เมื่อยกโทรศัพท์มือถือออก สามารถใช้งานเป็นกระจกเงา วางจำหน่ายเป็นของที่ระลึกที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จำนวน 20 ชิ้นแรกจำหน่ายหมดแล้ว ขณะนี้กำลังทำเพิ่มอีก 20 ชิ้น

กรมศิลป์เปิดตัว \'ของที่ระลึก\' จากแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ แหวนรูปสิงห์ เนื้อเงิน ราคา 2,900 บาท

กรมศิลป์เปิดตัว \'ของที่ระลึก\' จากแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ เสื้อยืดคอกลมพิมพ์ภาพพระไภษัชยคุรุ

กรมศิลป์เปิดตัว \'ของที่ระลึก\' จากแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ สมุดบันทึกภาพเศียรพญานาค ขนาด A5 พร้อมปากกา ราคา 200 บาท
 

นอกจากนี้ยังมีของที่ระลึกจากทุนทางวัฒนธรรมอีกหลายชิ้น เช่น

  • ภาพพิมพ์พระพิฆเนศ
  • เสื้อยืดโปโลปักไหมลายภาพเศียรพญานาค
  • เสื้อยืดคอกลมพิมพ์ภาพพระกำแพงศอกสุพรรณบุรี
  • ลำโพงบลูทูธสิงห์
  • กรอบรูปสิงห์
  • แหวนเงินอักษรมงคล
  • ต่างหูกินรี
  • ที่เสียบดินสอรูปสัตว์ศิลปะทวารวดี
  • จุกเปิดและปิดขวดไวน์
  • เข็มกลับติดอกเสื้อคชสีห์
  • เข็มกลัดติดปกเสื้อสิงห์
  • คัพลิงค์กินรี

กรมศิลป์เปิดตัว \'ของที่ระลึก\' จากแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ พนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร

“นับแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พุทธศักราช 2454 เพื่อการอนุรักษ์และสืบทอดมรดกศิลปวัฒนธรรมสาขาต่างๆ ของชาติ

ตลอดเวลาที่ผ่านมา กรมศิลปากรได้มีการปรับเปลี่ยนและพัฒนาแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้อย่างเหมาะสม มุ่งเน้นการอนุรักษ์ สืบทอด และนำมรดกทางวัฒนธรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

ในโอกาส 114 ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร จึงถือเป็นอีกก้าวย่างสำคัญที่จะเกิดการเปลี่ยนผ่านจากการอนุรักษ์ สืบทอด สู่ยุคแห่งการต่อยอดและพัฒนา” 

นาย พนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวในการแถลงข่าว ‘การเปลี่ยนผ่านจากยุคอนุรักษ์สืบทอดสู่การต่อยอดพัฒนา เนื่องในโอกาส 114 ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร’ พร้อมเปิดตัวของที่ระลึกจากต้นทุนทางวัฒนธรรม ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2568

กรมศิลป์เปิดตัว \'ของที่ระลึก\' จากแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ แถลงข่าว 114 ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร

กรมศิลป์เปิดตัว \'ของที่ระลึก\' จากแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ ลำโพงบลูทูธสิงห์

กรมศิลป์เปิดตัว \'ของที่ระลึก\' จากแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ เสื้อยืดคอกลมพิมพ์ภาพลายสตรีพนมมือ

การจัดทำของที่ระลึกจากต้นทุนทางวัฒนธรรมโดย กรมศิลปากร จะขยายไปสู่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญเพิ่มขึ้นในเวลาต่อไป

อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวด้วยว่า ของที่ระลึกในโครงการนี้ของกรมศิลปากรสามารถทำยอดขายได้แล้ว 1 ล้านบาทในเวลา 6 เดือน แสดงให้เห็นว่ามรดกวัฒนธรรมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้จริง