‘เทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพ’ ปี 66 เริ่มแล้ว 20-22 มกราคมนี้
กทม.เปิดงาน ‘เทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพ’ ปี 66 จัดเต็ม เวิร์คช็อป เสวนา ประกวดหนังสั้น ฉายหนังกลางแปลง แสดงดนตรีเยาวชน ออกบูธของอร่อยของดี 50 เขต
เทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2566 (Bangkok Film Festival) เริ่มต้นขึ้นแล้ว 20-22 มกราคมนี้ ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร
วันที่ 20 มกราคม 2566 สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร จัดงาน ‘เทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2566’ (Bangkok Film Festival)
เพื่อขับเคลื่อนกรุงเทพมหานคร สู่มหานครแห่งการสร้างสรรค์ ภายใต้นโยบาย 12 เดือน 12 เทศกาล ในแนวคิด Colorful Bangkok
ภายในงานมีการเสวนา, การประกวดสารคดีสั้น หัวข้อ Connecting Bangkok 2030, การฉายหนังกลางแปลง 3 เรื่อง สุริโยไท (The Legend of Suriyothai), ฉลาดเกมส์โกง (Bad Genius) และ Blue Again
ในเทศกาลนี้ กทม. สนับสนุนเยาวชนที่มีความสามารถด้านดนตรี ให้มาแสดงดนตรี วันละ 2 วงตลอด 3 วัน และเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจกรุงเทพฯ มีการออกบูธขายผลิตภัณฑ์ของดี 50 เขต
Cr. กอบภัค พรหมเรขา
ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานในพิธี กล่าวว่า
"ย้อนกลับไปในเดือนกรกฎาคม 2565 เราได้เริ่มเทศกาลกรุงเทพกลางแปลง ได้คุยกับผู้กำกับหลายท่าน ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า คนไทยเราเก่ง มีความสามารถ มีความคิดสร้างสรรค์
แต่สิ่งที่เป็นปัญหาในอดีตคือ เวลาถ่ายทำมันไม่ง่าย หนังหลายเรื่อง ฉากในกทม.ย้อนกลับไปสิบปีไม่ได้ถูกบันทึกไว้ เลยจุดประกายว่า การทำเทศกาลต่าง ๆ หัวใจ คือ การยกระดับอุตสาหกรรม
Cr. กอบภัค พรหมเรขา
ทำอย่างไรให้คนที่อยู่ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ได้เข้าถึงสถานที่ต่าง ๆ แล้วขับเคลื่อนซอฟท์เพาเวอร์ให้เป็นเรื่องจริง สนับสนุนให้อุตสาหกรรมเติบโตได้
มหาวิทยาลัยมากมายผลิตน้อง ๆ นักศึกษาออกมา เราจะทำอย่างไรให้เทศกาลเหล่านี้มีประโยชน์ ขอบคุณผู้จัดและสำนักวัฒนธรรมที่มีโครงการดี ๆ เช่น การประกวดหนังสั้น ให้เยาวชนและผู้สร้างสรรค์ได้มาออกไอเดีย ส่งผลงาน แล้วได้รางวัล
Cr. กอบภัค พรหมเรขา
ในเทศกาลนี้มีเวทีเสวนามากมาย ให้คนที่อยู่ในแวดวงมาสะท้อนว่าอุปสรรคปัญหามีอะไร กทม.ช่วยอะไรได้บ้าง รัฐบาลช่วยอะไรได้บ้าง
หัวใจของงานนี้ไม่ใช่แค่เรื่องสันทนาการอย่างเดียว แต่เรามองไปข้างหน้าว่า จะยกระดับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไปด้วยกันอย่างไร
เดี๋ยวนี้ภาพยนตร์ในหลาย ๆ โรง เป็นเรื่องยากและท้าทาย เพราะเจอกับสตรีมมิ่ง เจอยูทูบ เจอหลาย ๆ อย่าง มันเปลี่ยนไปหมดแล้ว
Cr. กอบภัค พรหมเรขา
จะทำอย่างไรให้แวดวงภาพยนตร์ยังมีเสน่ห์และดำรงอยู่ได้ เป็นโจทย์ที่กทม.ยินดีเป็นอย่างยิ่ง และจะทำให้ซอฟท์เพาเวอร์ของไทยไปไกลในระดับโลกให้ได้
เทศกาลเราจัดวันนี้เป็นวันแรก มีวันที่ 20-22 มกราคม ภายใต้แนวคิด กรุงเทพ ‘มีดี’ Creative City หวังว่าเทศกาลนี้จะยกระดับอุตสาหกรรม สร้างความสุข ความสนุกให้กับทุกคน
Cr. กอบภัค พรหมเรขา
กรุงเทพจะเป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน เราต้องทำหลายมิติไปพร้อมกัน มิติในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน เรื่องการระบายน้ำ เรื่องถนนหนทาง เรื่องไฟแสงสว่าง เรื่องศิลปวัฒนธรรมก็ต้องทำควบคู่กัน
ขอเชิญชวนประชาชนและนักท่องเที่ยวที่สนใจมาร่วมรับชมภาพยนตร์ และมาเพลิดเพลินไปกับงานนี้ไปด้วยกัน"
Cr. กอบภัค พรหมเรขา
- ผลการตัดสิน
การประกวดสารคดีสั้น Connecting Bangkok 2030 ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 200,000 บาท
รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงิน 65,000 บาท ได้แก่ เรื่อง Bangkok and generation
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงิน 45,000 บาท ได้แก่ เรื่อง ภาพฝันเมืองเขียว
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงิน 30,000 บาท ได้แก่ เรื่อง Hallo Bangkok
รางวัลชมเชย 4 รางวัล ได้รับเงิน 15,000 บาท ได้แก่ เรื่อง Aimagination, เรื่อง Memento Melody, เรื่อง ทุบกะลา ตาสว่าง และ เรื่อง 1 day trip
Cr. กอบภัค พรหมเรขา
- กิจกรรมในห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1
วันที่ 20 ม.ค. 2566
เวลา 11.00–12.00 น. เสวนา สารคดีไทยไปตลาดโลก
-ชนินทร์ ชมะโชติ นายกสมาคมผู้ผลิตภาพยนตร์สารคดีไทย
-ยุพา เพ็ชรฤทธิ์ รัตนจันทร์ กรรมการสมาคมผู้ผลิตภาพยนตร์สารคดีไทย
เวลา 13.00-15.00น. ฮาว ทู ปั้น กรุงเทพ 'เมืองแห่งหนัง'
-วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
-พรชัย ว่องศรีอุดมพร คณะกรรมการสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ
-วิศิษฎ์ ศาสนเที่ยง ผู้กำกับและนักเขียนบทภาพยนตร์
เวลา 15.00-16.00น. เสวนา การสร้างภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์แนวประวัติศาสตร์ 'สุริโยไท'
-ศาสตราจารย์ สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ ผู้เขียนบทภาพยนตร์สุริโยไท
วันที่ 21 มกราคม 2566
เวลา 13.00-15.00 น. เสวนา หัวข้อ ล่า ท้า ฝัน คนทำหนัง
-ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร
-ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ กรรมการสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย
-บรรจง ปิสัญธนะกูล ผู้กำกับภาพยนตร์ 'ร่างทรง'
-มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล นักแสดง 'Thai Cave Rescue'
เวลา 15.00-16.00 น. เสวนา หัวข้อ โปรดักชั่นเฮาส์ไทยสู่ภาพยนตร์ฮอลลีวูด
-Cod Satrusayang Chairman Houghton Street Media (ที่ปรึกษาภาพยนตร์ฮอลลีวูดที่ถ่ายทำในประเทศไทย อาทิ The Hangover 2, Extraction, The Gray Man, Thai Cave Rescue)
-ธกฤต สมบัตินันท์ JUSTดูIT
เวลา 16.00-17.00 น. เสวนา หัวข้อ เชื่อมโยงกรุงเทพมหานคร 2030 โดยผู้ชนะรางวัลประกวดภาพยนตร์สารคดีสั้น ร่วมเปิดใจถึงการผลิตสารคดีที่ได้รางวัล
วันที่ 22 มกราคม 2566
เวลา 13.00-15.00น. เสวนา หัวข้อ คนหลังจอ ศาสตร์ vs ศิลป์
-ลี ชาตะเมธีกุล นักลำดับภาพ
-ณพวัฒน์ ลิขิตวงศ์ นักออกแบบเสียง
เวลา 15.00-16.00 น. การทำสารคดีคว้ารางวัลระดับโลก และสารคดี Hope Frozen
-ไพลิน วีเด็ล ผู้กำกับ รางวัล Emmy Awards และสารคดี Hope Frozen
เวลา 16.00-17.00น. เสวนา ภาพยนตร์ Blue Again ได้รับเลือกให้ฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน เกาหลีใต้
-ฐา ฐาปณี หลูสุวรรณ ผู้กำกับ
-ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต โปรดิวเซอร์
- กิจกรรมลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมฯ
วันที่ 20-22 มกราคม 2566 เวลา 10.00-20.00 น. กิจกรรมจำหน่ายสินค้าเด่นอาหารอร่อยจากชุมชน 50 เขตของกรุงเทพมหานคร
วันที่ 20 มกราคม 2566
เวลา 17.00-19.00น. การแสดงวงดนตรีเยาวชน
-วง Pimmip รร.สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)
-วง Cotton Candy (โรงเรียนเตรียมอุดมดนตรีมหิดลดุริยางค์คศิลป์)
เวลา 19.00 น.ฉายหนังกลางแปลงเรื่อง สุริโยไท
วันที่ 21 มกราคม 2566
เวลา 17.00-19.00 น. การแสดงวงดนตรีเยาวชน
-วง Sri วงอินดี้หน้าใหม่ จากกลุ่มเยาวชนดนตรี
-วง washrolled (โรงเรียนเตรียมอุดมดนตรีมหิดลดุริยางค์คศิลป์)
เวลา 19.00 น. ฉายหนังกลางแปลง เรื่อง ฉลาดเกมส์โกง
วันที่ 22 มกราคม 2566
เวลา 17.00-19.00 น. การแสดงวงดนตรีเยาวชน
-วง DS.RU.BAND โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม)
-วง Rainy Room โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก
เวลา 19.00 น. ฉายหนังกลางแปลงเรื่อง Blue Again