Head Heart Hand ปัญญา 3 ฐาน สู่ "Byte wood" ร้านของประดิษฐ์จากคน (ไม่) พิเศษ

Head Heart Hand ปัญญา 3 ฐาน สู่ "Byte wood"  ร้านของประดิษฐ์จากคน (ไม่) พิเศษ

ทุกวันนี้ Byte wood ไม่ใช่แค่ร้านของประดิษฐ์ หรือร้านเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ โดยฝีมือ"เด็กพิเศษ" เท่านั้น แต่ผลงานทุกชิ้นของพวกเขา มาจากหลักคิดปัญญา 3 ฐาน ซึ่งเป็นความสามารถในการทำงานของมนุษย์ ก่อให้เกิดผลงานที่เป็นรูปธรรมและสร้างการเติบโตจากภายใน

เสียงรถไฟชานเมืองสถานีบางขุนนนท์ แปลงปลูกผักออร์แกนิค กล่องจากวัสดุไม้ที่เรียงรายนับสิบชิ้น คือฉากหลังของสตูดิโอ Byte wood ฝีมือของ 2 แม่ลูก ไบท์-อิทธิ และแม่ไก่-อรพรรณ ทักษิณวัฒนานนท์

จาก Interior Designer แม่ไก่ผันตัวสู่ Co-founder เพื่อร่วมสร้างแบรนด์ “Byte Wood” ขณะที่ไบท์ เขาคือ “ช่างไม้บุคคลคนพิเศษ” ที่พยายามชนะข้อจำกัดของความเป็น “ออทิสติก” ด้วยการฝึกฝนทักษะในการทำงานไม้ ตั้งแต่ชั้นประถม

บางครั้งผมก็รู้สึกเบื่อที่ต้องทำ อยากจะนอนอยู่เฉยๆ แต่ผมก็จำเป็นต้องหาอาชีพ ต้องทำมาหากิน” ไบท์ บอกกับผู้มาเยือนสั้นๆ ด้วยสีหน้าเรียบเฉย ทว่าการพูดแบบตรงไปตรงมาธรรมดากลับสะท้อนหลายความรู้สึกที่อยู่ในใจ

Head Heart Hand ปัญญา 3 ฐาน สู่ \"Byte wood\"  ร้านของประดิษฐ์จากคน (ไม่) พิเศษ

ไบท์-อิทธิ  ทักษิณวัฒนานนท์

  • สตูดิโองานฝีมือของ 2 แม่ลูก

ความรู้สึกแรกของพ่อแม่เด็กพิเศษทุกคน หนีไม่พ้นความเป็นห่วงลูกที่จะใช้ชีวิตต่อไปในภายภาคหน้าได้อย่างไร

Head Heart Hand ปัญญา 3 ฐาน สู่ \"Byte wood\"  ร้านของประดิษฐ์จากคน (ไม่) พิเศษ

“ความคิดแรก เขาต้องมีงานทำ เราต้องสร้างงาน  ที่จะทำให้เขาจะมั่นใจ พอใจ  ภูมิใจ   ในตนเองได้ และเป็นสิ่งที่เขาที่ยืดเหนี่ยว ตัวตนของเขาไว้ได้” คือความคิดของผู้เป็นแม่และจุดเริ่มต้นของการเริ่มงานไม้

ไบท์ ค่อยๆ ฝึกฝนบทบาทช่างไม้ ฝึกฝนการใช้อุปกรณ์ และทำความเข้าใจงานไม้ลักษณะต่างๆ ขณะที่ผู้เป็นแม่ไม่ต่างอะไรจาก staff โค้ช ที่ช่วยคิด ช่วยออกแบบ หาแรงบันดาลใจจากสื่อต่างๆ เช่นเดียวกับปลุกพลังของลูกชาย ให้แต่ละวันทำดีกว่าเดิม

Head Heart Hand ปัญญา 3 ฐาน สู่ \"Byte wood\"  ร้านของประดิษฐ์จากคน (ไม่) พิเศษ

 

“เห็นงานไม้อะไรเข้าท่าก็ทำ แรกๆ เราก็เขียนแบบ พยายามให้เขาอ่านแบบ แต่ก็สำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้าง เราก็ช่วยกันทำตัวอย่างให้เขาดูชิ้นหนึ่ง ให้เขาทำตามนั้น

ตอนนี้ความแม่นยำของแม่ก็น้อยลงไปมาก  เราก็ต้องช่วยกันทำตัว Prototype (ต้นแบบ) ให้ดี แล้วให้เขา ลอกการทำงาน จากตัวนั้นได้ตลอด เราชอบงานแบบนี้ งานที่มันไม่ได้ Born to be ที่จะต้องดีเลย ต้องเป๊ะ สมบูรณ์เท่ากันหมด แต่เราค่อยๆ ต่อยอดไป” แม่ไก่หมายถึง คาแรคเตอร์ ของงานไม้ Byte Wood ณ วันนี้

ก่อนยกตัวอย่างสินค้าชิ้นหนึ่ง พร้อมอธิบายว่าวันนี้งานชิ้นนี้คือที่รองแก้ว แต่ในอนาคตมันอาจเป็นผ้ารองจาน เป็นผ้าปูโต๊ะ เมื่อระยะเวลาผ่านไป” 

จากพื้นที่ Workshop หลังบ้าน ผ่านเวลามา 5 ปี ค่อยๆ สร้างแบรนด์ มีสตูดิโอเล็กๆ ที่มีผลงานวางแสดงย่านบางขุนนนท์เป็นที่ต้อนรับผู้มาเยือน ทุกวันนี้ Byte Wood เติบโตขึ้น มีแฟนคลับ แฟนเพจ และชุมชนขนาดเล็กที่สนใจในงานฝีมือให้การสนับสนุน

แม่ไก่อธิบายถึง Workshop ว่า “เป็นที่แสดงสินค้างานไม้ และ อุปกรณ์ทอผ้าอย่างง่าย และถ้ามีคนสนใจเรียนทอผ้า  เราก็จะสอนให้ บางวันมีผู้ปกครองพาเด็กมาดู มีเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่อยากเรียนรู้งานเหล่านี้ ก็จะนัดกับเราเพื่อมาทำเวิร์กช็อปเล็กๆ ร่วมกัน"

Head Heart Hand ปัญญา 3 ฐาน สู่ \"Byte wood\"  ร้านของประดิษฐ์จากคน (ไม่) พิเศษ

กว่าจะเป็นผลงานเหล่านี้ มันไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องบริหารจัดการหลายเรื่องพร้อมๆ กัน ทั้งการหาแบบ หาอุปกรณ์ใหม่ ที่ให้ลูกทำงานได้ ลองผิดลองถูกในการทำแต่ละครั้ง เพราะต้องคอยปรับขั้นตอนของการทำงานให้ง่ายขึ้น และเหมาะสมสำหรับตัวไบท์ที่ยังไม่สามารถทำชิ้นงานที่มีรายละเอียดมากๆ ได้

และการที่ได้ลองทำอะไรใหม่ มันก็เหนื่อยนะ แต่ก็ต้องทำ และถือว่าเป็นการเรียนรู้ หากจะพัฒนาฝีมือต่อไป” แม่ไก่ บอก

Head Heart Hand ปัญญา 3 ฐาน สู่ \"Byte wood\"  ร้านของประดิษฐ์จากคน (ไม่) พิเศษ

  • Head Heart Hand ปัญญา 3 ฐาน ของ Byte wood

Byte wood ไม่ใช่แค่ร้านของประดิษฐ์ หรือแค่เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ เพราะ Byte wood ตั้งใจเป็นมากกว่านั้น

ผลงานของ  Byte wood ทุกชิ้น จะมาจากหลักคิดปัญญา 3 ฐาน ที่เป็นความสามารถในการทำงานของมนุษย์ซึ่งสามารถอธิบายได้โดยสมองในส่วนต่างๆ ได้แก่ Head Heart Hand (หัว-หัวใจ-มือ)  ซึ่งเกี่ยวข้องกับองค์ความรู้  (cognitive domain), อารมณ์และความรู้สึก (affective domain) และทักษะ (psychomotor domain) ผลงานจึงต้องมาจากความคิด ความรู้ มีความรู้สึกและรักที่จะทำ และก็จดจ่อกับสิ่งที่ทำ

แม่ไก่อธิบายเพิ่มว่า “มันเป็นสรณะ(ที่อยู่ที่อาศัย) ของทุกสิ่ง เวลาเด็กสร้างสรรค์เขามีความตั้งใจ แล้วก็จะมีชุดความคิดหลายชุดในหัวที่ต้องปล่อยมาออกที่มือให้ได้ แต่ถ้ามือไม่ได้ทำงานออก ก็จะคิดวนๆ อยู่แบบน้ัน  นานเข้าก็จะอึดอัด ปวดหัว เบื่อหน่าย

กิจกรรมทั้งหมดหรือสินค้าของเราจึงต้องเกิดจากแนวคิดนี้ ไม่ว่าจะเป็นงานไม้ งานทอผ้าที่ต้องใช้กี่ นี่คือจุดหลักของเรา ที่สำคัญงานในแต่ละชิ้นก็ต้องจะต้อง ยาใจ(Healing ) เป็นการบำบัดที่ต้องดีกับลูกเราด้วย”

“ถึงตรงนี้เราถามตัวเองว่าเราอยากให้ Byte Wood เป็นอะไร อยากให้เป็นแค่ช่างไม้คนพิเศษ ไม่ใช่แค่นั้น เราอยากให้ผลงานที่เกิดขึ้นมีคุณค่าจากทั้งความคิด ความรู้สึกและลงมือทำ” แม่ไก่ อธิบาย

งานทอผ้า งานไม้จึงเป็นผลงาน และคอร์ส Workshop เล็กๆ ที่จะเกิดขึ้นที่สตูดิโอ Byte Wood แห่งนี้ และแน่นอนว่าพวกเขาเปิดรับการทักทาย และพร้อมจะทำความรู้จักให้กับคนที่เห็นคุณค่าเหมือนกัน

Head Heart Hand ปัญญา 3 ฐาน สู่ \"Byte wood\"  ร้านของประดิษฐ์จากคน (ไม่) พิเศษ

  • อนาคตของ “ช่างไม้คนบุคคลพิเศษ”

อย่างที่บอกว่า Byte wood จะไม่ใช่แค่ช่างไม้บุคคลพิเศษต่อไป แต่พวกเขาอยากให้ที่นี่คือศูนย์รวมของคนกลุ่มเล็กๆที่อยากทำงานฝีมือซึ่งกลั่นออกมาจากหัวใจ ความคิด และอารมณ์ความรู้สึก

“เมื่อก่อนเราไม่มีกิจกรรมไม่มีสินค้าที่ทุกคนมีส่วนร่วมได้ ผู้คนได้แต่มองสินค้า แต่ยังเข้าใจมัน  แต่วันนี้ Byte wood มีพื้นที่นี้แล้ว คนเริ่มเข้าใจสินค้ามากขึ้น หลังจากนี้เรายังอยากให้ ขยายขอบเขต ไปถึง กิจกรรม ที่ ใครอยากมาทำ มาซ่อม มาเปลี่ยนสินค้าก็สามารถมาได้ ขณะเดียวกันวัสดุทั้งหมดก็ต้องย่อยสลายได้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ผ้าไม่ชอบใจก็เลาะใหม่ ไม้ที่เหลือในเวิร์กช็อปก็ถูกใช้ประโยชน์อื่น

“เราทำให้มันชัดเจนขึ้น จากพื้นที่หลังบ้าน เราย้ายมาตรงนี้ ให้เป็นที่พบปะ เป็นชุมชนเล็กๆ สำหรับเราจากที่ไม่มีตัวยึด ไม่รู้จะทำอะไร  ในที่สุดเขาก็มีงานทำ แม้ในบางเวลามันยากมากเลยนะ สำหรับคนเป็นแม่

Head Heart Hand ปัญญา 3 ฐาน สู่ \"Byte wood\"  ร้านของประดิษฐ์จากคน (ไม่) พิเศษ

"เรื่องของลูกอยู่ในหัวตลอดเวลา บางครั้งเครียด แต่ทั้งหมดนี้มันระเบิดออกมา เพราะว่าทั้งเราและเขามี Byte Wood ที่เปรียบเป็นสรณะที่อยู่ที่อาศัยของจิตใจของเรา”

เสียงรถไฟชานเมือง แปลงปลูกผักออร์แกนิค กล่องจากวัสดุไม้ที่เรียงรายนับสิบชิ้น และความรักของ 2 แม่ลูกธรรมดาๆ อบอวลอยู่ตรงนั้น