“หมอยา แพทย์แผนไทย” อาชีพที่สอง “ณัฐธภา” อดีตคนโรงแรม

“หมอยา แพทย์แผนไทย” อาชีพที่สอง “ณัฐธภา” อดีตคนโรงแรม

“หมอยา แพทย์แผนไทย” เป็นอาชีพที่สองของ “ณัฐธภา” อดีตคนโรงแรม ทำงานประจำ 32 ปี สนใจศึกษาเพื่อนำมาใช้กับตัวเองและครอบครัว จนกระทั่งตั้งใจนำความรู้มารักษาช่วยเหลือคนอื่นๆ เพื่อแก้ไขปัญหาโรคภัยไข้เจ็บด้วย "สมุนไพรไทย"

ต้นกำเนิดของ แพทย์แผนไทย เชื่อกันว่า มาจากอายุรเวทของอินเดีย โดยท่าน ชีวกโกมารภัจจ์ ซึ่งเป็นแพทย์ประจำตัวของ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ที่จะเป็นแพทย์แผนไทยต้องวินิจฉัยโรค รู้วิธีบำบัดโรค ป้องกันโรค รวมไปถึงส่งเสริม

และฟื้นฟูสุขภาพ และยังรวมวิชาการผดุงครรภ์และการนวดไทยอีกด้วย ผู้ที่จะดำรงวิชาชีพแพทย์แผนไทย ต้องมีคุณสมบัติ 3 ข้อนี้

ก็คือ ความรู้, การฝึกฝนทักษะและประสบการณ์เฉพาะ มีคุณธรรม จริยธรรม ข้อที่ 3 คือ มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ

ผันตัวมาเรียนรู้แพทย์แผนไทย

โควิด 19  เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส “หุย-ณัฐธภา ชัยถิรสกุล” อดีตนักสื่อสารการตลาดโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพ

และฮอลิเดย์อินน์ กรุงเทพ ย่านราชประสงค์ ยิ้มรับการมาของโรคอุบัติใหม่ที่ชื่อว่า “โควิด-19” ตั้งแต่ปี 2563 ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นโรคประจำถิ่นไปเรียบร้อยแล้ว 

ทว่าขณะที่เธอได้โอกาสทำงานด้วยการต่อสัญญายังไม่ครบปี ก็ต้องถูกเลิกจ้าง ทำให้เธอได้ค้นพบเส้นทางใหม่ของชีวิตด้วยการตัดสินใจเป็น “หมอยา แพทย์แผนไทย”

“หุย-ณัฐธภา ชัยถิรสกุล” อดีตคนโรงแรม อนาคต “หมอยา แพทย์แผนไทย” เล่าต่อไปว่า

“ จริงๆแล้วถือว่าโชคดีนะคะเพราะทำงานโรงแรมมา 32 ปี การที่ได้เกษียณอายุในวัยนี้ (56 ปี) และในเวลานี้ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่

วิกฤตมากที่สุดที่เราเคยประสบมา สงสารเพื่อนร่วมงานที่ต้องทำงานหนักขึ้น เพราะผู้ร่วมงานน้อยลง อีกทั้งยังต้องเผชิญความเสี่ยงสูง

ภายใต้ความกดดัน เพราะ 3 ปีที่ผ่านมาธุรกิจโรงแรมถือว่าซบเซามาก

แต่ตัวหุยเองก็ได้วางแผนล่วงหน้าเอาไว้แล้วนะคะสำหรับชีวิตในวัยเกษียณ เนื่องจากเป็นคนที่ชอบเรียนรู้ หาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา

ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง ศาสตร์ชะลอวัย - Genomic Diet ที่ใช้สมุนไพรเป็นยา ในการปรุงอาหารเพื่อดูแลสุขภาพ

ทำให้อยากรู้ลึกๆ ศาสตร์แพทย์แผนไทย”

“หมอยา แพทย์แผนไทย” อาชีพที่สอง “ณัฐธภา” อดีตคนโรงแรม "สมุนไพรไทย" เมื่อนำมาปรุงเป็นยาแก้ไขที่ต้นเหตุของโรคได้อย่างน่ามหัศจรรย์

เรียนปรุงยาตามตำราแพทย์แผนไทย

หุย สมัครเรียนการแพทย์แผนไทย ที่มูลนิธิการแพทย์แผนไทย ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข  (หลักสูตร 3 ปี) เมื่อ 3 ปีก่อน ต้นปีพ.ศ. 2563

มีการเรียนการสอนทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ โดยใช้เวลาปกติในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ทำงานโรงแรม และใช้เวลาในวันเสาร์-อาทิตย์ทั้งวัน

เพื่อที่จะมาเรียนรู้ในเรื่องของแพทย์แผนไทย 2 ปีแรกเรียนพื้นฐานเกี่ยวกับเภสัชกรรม เริ่มตั้งแต่ประวัติความเป็นมาการแพทย์แผนโบราณ

“หมอยา แพทย์แผนไทย” อาชีพที่สอง “ณัฐธภา” อดีตคนโรงแรม จรรยาเภสัช ไปจนถึงหลักเภสัช 4 ครอบคลุมถึง 1 เภสัชสัตถุ 2 สรรพคุณเภสัช 3 คณาเภสัช และ 4 เภสัชกรรม

เพื่อที่จะได้เรียนรู้ด้านพฤกษศาสตร์ที่ต้องเรียนรู้สมุนไพรต่างๆ ธาตุวัตถุ สัตว์วัตถุ เพื่อที่จะได้รู้ว่าตัวยาแต่ละตัว มีรส

และสรรพคุณอย่างไร จะได้นำมาใช้ในการปรุงยา รักษาอาการโรคได้ถูกต้อง ที่สำคัญที่สุดคือวิธีการปรุงยาตามตำราแพทย์แผนไทย

“หมอยา แพทย์แผนไทย” อาชีพที่สอง “ณัฐธภา” อดีตคนโรงแรม

“ ยิ่งเรียนยิ่งสนุก สนุกมากนะคะ รู้สึกภูมิใจที่เป็นคนไทย ทึ่งกับภูมิปัญญาของคนโบราณว่า เค้ารู้ได้ยังไงว่าสมุนไพร ธาตุวัตถุ

สัตว์วัตถุแต่ละตัวสามารถใช้รักษาแก้อาการต่างๆได้ตรงโรค คือแก้ที่ต้นเหตุแห่งโรคได้เลย แล้วยังใช้สมุนไพรต่างๆมาเป็นยาช่วย

เพื่อป้องกันโรค ตามโรคแทรกได้ด้วยอย่างเช่นใช้ดินถนำส้วม คือดินที่ได้มาจากฐานส้วม 10 ปีขึ้นไป (ส้วมลงดินแบบโบราณ)

“หมอยา แพทย์แผนไทย” อาชีพที่สอง “ณัฐธภา” อดีตคนโรงแรม เป็นสมุนไพรแร่ธาตุใช้รักษาแก้ตาแฉะ ตาอักเสบ อีกตัวอย่างคือโรคโควิด-19 ตามคัมภีร์ตักศิลา รักษาโรคไข้พิษ ไข้กาฬ

โดยใช้ยาห้าราก เพื่อกระทุ้งพิษในเลือดก่อน แล้วจึงใช้ยาอื่นแก้ตามอาการ เช่น ถ้ามีอาการไอ ใช้ยาประสะมะแว้ง หรืออำมฤควาที

ถ้ามีไข้ ให้ยาจันทลีลาเพื่อลดไข้ แล้วให้ยาหอมนวโกฐเพื่อแก้ลมปลายไข้ชงร่วมน้ำต้มก้านสะเดา เถาบอระเพ็ด และลูกกระดอมเป็นน้ำกระสายยา เป็นต้น”

สวนสมุุนไพรเล็กๆ ที่บ้าน

เมื่อจบเภสัชกรรมในสองปีแรกแล้ว สามารถเรียนต่อในด้านของเวชกรรมไทย ใช้เวลาเรียนหนึ่งปี เพื่อเรียนให้ลึกในเรื่อง

การรักษาอาการโรคต่างๆ ตามคัมภีร์โบราณที่ได้รับการถ่ายทอดต่อๆ กันมา โดยอาจารย์แพทย์แผนไทย รวมถึงวิธีการนวดแก้อาการ

แบบราชสำนัก เมื่อเรียนจบแล้วต้องสอบใบประกอบวิชาชีพทั้ง 2 ด้าน ถึงจะสามารถนำไปประกอบวิชาชีพได้ถูกต้องตามกฎหมาย

“แต่แรกเลยตั้งใจว่าจะเรียนหาความรู้ใส่ตัวไว้ใช้กับตัวเองและคนในครอบครัว แต่พอเรียนมาแล้วก็คิดว่า ถ้าเราสามารถสอบใบประกอบวิชาชีพได้

เราก็สามารถช่วยเหลือรักษาผู้คนในสังคมได้ ซึ่งคิดว่าน่าจะมีประโยชน์มากกว่า ตอนนี้หุยก็พยายามที่จะสอบใบประกอบวิชาชีพให้ได้

“หมอยา แพทย์แผนไทย” อาชีพที่สอง “ณัฐธภา” อดีตคนโรงแรม รุ่นที่หุยเรียน เป็นรุ่นที่ 23 มีเพื่อนประมาณ 120 คน อายุน้อยสุดประมาณ 20 ปีได้นะคะ อายุมากสุดก็เกือบ 70 ปี

แต่ว่าเวลาเรามาเรียนทุกคนเป็นเพื่อนกัน อายุเท่ากันหมด สนุกสนาน แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน โดยเฉพาะตอนไปเดินป่าดูสมุนไพรธรรมชาติ

และฝึกงานที่โรงพยาบาลวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว โรงพยาบาลส่วนตำบลซับตะเคียน จังหวัดลพบุรี

ตอนไปเรียน เราจะสลัดเปลือกและหัวโขนออก จากคนที่เคยเห็นเราสมัยทำงานโรงแรม อาจมีภาพจำ เพราะตอนทำงานต้องมีภาพลักษณ์องค์กร

“หมอยา แพทย์แผนไทย” อาชีพที่สอง “ณัฐธภา” อดีตคนโรงแรม คนที่เคยรู้จักมาเห็นเราอาจจำเราไม่ได้ เพราะเราไม่ต้องแต่งหน้าทาปากสวยตลอดเวลา ไม่ต้องใส่ชุดผ้าไหมใส่เสื้อสูทไปเรียน

เราเป็นตัวของตัวเราเองอย่างเต็มที่แบบสบายๆ สนุกๆ ไม่เครียดเหมือนตอนทำงาน แต่ได้ความรู้แน่นๆที่สำคัญมีประโยชน์ต่อตัวเองและครอบครัว เพื่อนรอบข้าง"

เมื่อเรียนจบแล้ว เธอคิดว่าอยากมีสวนสมุนไพรแบบโคก หนอง นา น้อยๆเป็นของตัวเอง ให้เป็นที่พักพิงฟื้นฟูกายใจ

ให้กับคนที่อ่อนล้า อ่อนแรง หมดพลังกายใจ ตอนนี้ซ้อมปลูกสมุนไพรในบ้านของตัวเองไว้ก่อน สะสมได้ประมาณ 40 ชนิดในพื้นที่ 70 ตารางวาฤ

สืบสานผดุงครรภ์แบบโบราณ

นอกจากนั้นเธอยังเรียนด้าน “ผดุงครรภ์แบบโบราณ” ก็คือการดูแลมารดาและทารกตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงคลอด เพื่อแนะนำ

แก้ไข ป้องกัน อาการต่างๆ ของผู้เริ่มตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายเกิดขึ้น เรียกได้ว่าเป็นการเรียนรู้การเกิดของมนุษย์

เรียนรู้ในเรื่องของอวัยวะภายในร่างกาย การสืบพันธุ์ การตั้งครรภ์ การเจริญของครรภ์ การคลอด การดูแลทารก และการดูแลมารดา

หลังคลอด รวมถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับการอยู่ไฟหลังคลอดว่า มีหัตถการแบบแผนโบราณอะไรบ้าง ซึ่งยังมีการปฏิบัติสืบต่อกันมา

เช่นการทับหม้อเกลือหลังคลอดบุตร การนึ่งหม้อเกลือ การเข้ากระโจม การอบสมุนไพร และการนั่งถ่าน เพื่อช่วยให้มดลูกเข้าอู่

ขับน้ำคาวปลาให้แห้งเร็ว ตลอดจนทำให้แผลแห้งเร็ว ไม่อักเสบ

“หมอยา แพทย์แผนไทย” อาชีพที่สอง “ณัฐธภา” อดีตคนโรงแรม “หุย-ณัฐธภา ชัยถิรสกุล” อดีตนักสื่อสารการตลาดโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพและ ฮอลิเดย์อินน์ กรุงเทพ ย่านราชประสงค์

“หุย-ณัฐธภา ชัยถิรสกุล” เล่าด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้มเบิกบานมีความสุข....อีกไม่กี่วัน เธอก็จะสอบเพื่อเป็นแพทย์แผนไทยเต็มตัว

สามารถเปิดคลินิกรักษา ปรุงยา จ่ายยาให้คนไข้ในคลินิกได้

“ก่อนเกษียณ เราวางแผนไว้แล้วว่า จะมาเส้นทางสายนี้ พอเกษียณปุ๊บ เราก็ได้มาเรียนเต็มที่ เรียนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ 9 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น

ยิ่งเรียนยิ่งสนุก ภูมิใจความเป็นไทย บรรพบุรุษเราทำไมเก่งจังเลย สามารถหยิบต้นไม้ใบหญ้า สมุนไพรต่างๆมาใช้ทำยารักษาโรคได้

เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ แก้ที่ต้นตอเลย ไม่เหมือนปัจจุบันที่รักษาปลายเหตุของโรค แค่ระงับอาการเท่านั้น”

อาหารฤทธิ์ร้อน ฤทธิ์เย็น

สำหรับผู้ที่สนใจเรียนในด้านนี้ ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านนี้มาก่อน พอเข้าเรียนปี 1 ก็จะได้เรียนตั้งแต่ความรู้ขั้นพื้นฐาน

เริ่มตั้งแต่พฤกษศาสตร์ ต้นไม้แต่ละชนิดเป็นอย่างไร อยู่ในวงศ์ไหน จากนั้นเรียนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทำยา เรียนรู้เกี่ยวกับรสยา ฯลฯ 

“หมอยา แพทย์แผนไทย” อาชีพที่สอง “ณัฐธภา” อดีตคนโรงแรม

“การเรียนแบบนี้มันตรงจริตเรา เป็นคนชอบทำอาหารด้วย พอเรียนเรื่องการทานอาหารให้เป็นยา พืชผักสมุนไพรแต่ละชนิด

เรารู้ว่ามีรสอะไรให้สรรพคุณอะไร ที่เราจะดึงมาใช้ตามเวลาและฤดูกาลให้ถูก อย่างช่วงเช้าเสมหะเยอะ เราก็จะกินอาหารรสเปรี้ยว

ช่วงกลางวันร้อน เราก็จะใช้อาหารรสจืด รสเย็น เพื่อให้ร่างกายสมดุลไม่ร้อนมาก ถ้าร้อนแล้วกินอาหารรสร้อน เหงื่อแตก ไฟธาตุจะทำงานเยอะ

ทำให้เกิดร้อนใน ตอนเย็นเป็นเวลาของลม ถ้าเรายิ่งทานผักสด อาหารที่ทำให้เกิดธาตุลมในท้อง ท้องก็จะปั่นป่วนไปด้วยลมไม่สบายตัว

เราก็มีวิธีการก็คือ ถ้าเรากินอาหารที่มีลมเยอะ จะต้องแก้ด้วยอะไร อาจจะใส่ของที่ร้อนลงไปนิดหนึ่ง อย่างทานผักสลัดก็จะใส่พริกไทยดำเข้าไปด้วย เพื่อให้เกิดความสมดุล”

“หมอยา แพทย์แผนไทย” อาชีพที่สอง “ณัฐธภา” อดีตคนโรงแรม การเรียนทำให้ได้รู้จักสมุนไพรมากมาย เดิมทำอาหารรู้จักแค่ ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ตอนนี้เธอได้รู้จัก “กระทือ” เป็นพืชหัวประเภทเหง้า

หน้าตาคล้ายกับขิง ใบคล้ายกับต้นไผ่ มีฤทธิ์ร้อน รสขมปร่า เวลาเรียนต้องได้สัมผัส ดมกลิ่น และชิมรส

ใครจะรู้ว่า “ใบกระชาย” มีรสเค็มน้ำมะกรูด เทีียบเคียงกับน้ำมะนาวใช้แทนกันได้

“หมอยา แพทย์แผนไทย” อาชีพที่สอง “ณัฐธภา” อดีตคนโรงแรม

ปัจจุบันนี้เธอปรุงยาต่างๆเก็บไว้ใช้เอง และแจกจ่ายให้คนในครอบครัว ทั้งยาน้ำ ยาเม็ด ฯลฯ ยกตัวอย่าง หลานสาวเรียนด้านวิทยาศาสตร์อาหาร

ไม่ค่อยเชื่อเรื่องสมุนไพร วันหนึ่งมาขอยาแก้กรดไหลย้อน แล้วได้ผลดีจากนั้นดูแลตัวเองต่อด้วยการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา งดอาหารรสจัด เป็นต้น