“องค์การยูนิเซฟ” สนับสนุน การสำรวจเด็กและสตรี ในที่ห่างไกล
“องค์การยูนิเซฟ” สนับสนุน สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงาน “แม่ฮ่องสอน” ในการ สำรวจสถานการณ์เด็ก และสตรีในประเทศไทย เก็บข้อมูลกว่า 150 ตัวชี้วัดเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของครัวเรือน ภาวะเจริญพันธุ์ อนามัยแม่และเด็ก พัฒนาการของเด็ก
องค์การยูนิเซฟ สนับสนุน การสำรวจเด็กและสตรี ครั้งนี้เป็นเรื่องราวของ ศิลปะการสำรวจข้อมูลในพื้นที่ห่างไกล ซึ่ง ลาวัลย์ จุนยานันท์
ยังคงใจเย็นพยายามกรอกชื่อนามสกุล และวันเดือนปีเกิดของสมาชิกทุกคนลงในแท็บเลตอย่างช้า ๆ ตามคำบอกของสมาชิกแต่ละคน
จนกระทั่งเวลาผ่านไปราว 20 นาที เธอต้องขอดูทะเบียนบ้านของทั้งครอบครัวเพื่อเธอจะได้ป้อนข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกทุกคนในครัวเรือน
ลงในแบบสำรวจออนไลน์ได้อย่างเร็วขึ้น
ถึงแม้งานจะดำเนินไปอย่างช้า ๆ แต่ลาวัลย์ เจ้าหน้าที่เก็บข้อมูลวัย 45 ปีที่ทำงานกับ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานแม่ฮ่องสอน
นานถึง 24 ปี ก็ทยอยกรอกข้อมูลของสมาชิก 10 กว่าคนของครอบครัวใหญ่นี้ลงในแท็บเลตให้ครบถ้วน
และเธอไม่ได้แสดงท่าทีอึดอัดที่จะใช้เวลาอีกหนึ่งชั่วโมงในการซักถามสมาชิกครอบครัวทีละคน
ลาวัลย์ จุนยานันท์ กำลังเก็บข้อมูลสำหรับการสำรวจสถานการณ์เด็ก และสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2565 หรือ
Multiple Indicator Cluster Survey (Thailand 2022 MICS) ซึ่งเป็นการสำรวจใหญ่ที่สุดในประเทศว่าด้วยเด็กและสตรี ที่
สำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดทำทุก 3 ปีโดยได้รับการสนับสนุนจาก องค์การยูนิเซฟ
การสำรวจดังกล่าวเก็บข้อมูลกว่า 150 ตัวชี้วัดเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของครัวเรือน ภาวะเจริญพันธุ์ และอนามัยแม่ และเด็ก โภชนาการ
การกินนมแม่ และการกินอาหารของเด็ก พัฒนาการของเด็ก การเข้าถึงการศึกษา ทักษะการเรียนรู้ ความใส่ใจและการมีส่วนร่วมของพ่อแม่
และผู้ปกครอง รวมถึงการแต่งงานเร็ว การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ระเบียบวินัยของเด็กและทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรง หน้าที่ของลาวัลย์คือ
เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดนี้โดยการตั้งคำถาม ตรวจสอบสภาพความเป็นอยู่ให้แน่ใจว่าตรงกับข้อมูลที่ได้รับ
และวัดส่วนสูงชั่งน้ำหนักเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีในครัวเรือนของกลุ่มตัวอย่าง
หลังจากนั่งรถยนต์จากเมืองนครพนมมาหนึ่งชั่วโมง เจ้าหน้าที่สำนักงานสถิติ ประจำจังหวัดนครพนมและเจ้าหน้าที่ยูนิเซฟเดินเท้าต่อเข้าไปยังครัวเรือนที่ตกสำรวจตามหมู่บ้านงิ้ว ตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์ นครพนม (เครดิตภาพ: UNICEF/เริงฤทธิ คงเมือง)
งานของ ลาวัลย์ จุนยานันท์ พาเธอไปทุกหนแห่ง ไม่ว่จะเป็นการเดินเท้าเข้าไปเก็บข้อมูลกับครัวเรือนในตัวเมือง หรือการเดินทางด้วยมอเตอร์ไซค์ 2 ชั่วโมง
หรือแม้แต่นั่งรถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อบนถนนดินโคลนอันคดเคี้ยวไปยังหมู่บ้านห่างไกลอย่างบ้านขุนสาใน อำเภอปาย ที่เข้าออกได้จาก
เส้นทางจากเชียงใหม่เพียงทางเดียว แต่ความห่างไกลเข้าไม่ถึงนั้นไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับเจ้าหน้าที่เก็บข้อมูลของ
สำนักงานสถิติแห่งชาติหลายร้อยคนที่ต้องแข่งกับเวลาเพื่อเก็บข้อมูลมากกว่า 34,000 ครัวเรือนทั่วประเทศ เพื่อให้ทันเวลานำเสนอผลการสำรวจในช่วงเดือนเมษายนนี้
การวัดส่วนสูงของเด็กเล็กเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของเจ้าหน้าที่เก็บข้อมูลอย่างลาวัลย์ และเจ้าหน้าที่อีกหลายร้อยคนทั่วประเทศ เพราะเด็กเล็กมักร้องไห้งอแงเมื่อถูกบังคับให้นอนเหยียดขาตรงบนแท่นไม้(เครดิตภาพ: UNICEF/เริงฤทธิ คงเมือง)
การสำรวจครัวเรือนอาจหมายถึงครอบครัวที่มีสมาชิกแค่ 3 คนหรือครอบครัวขยายที่มีสมาชิกมากถึง 15 คน หากคนใดคนหนึ่งที่ต้องให้ข้อมูลในการสำรวจไม่อยู่บ้านในวันนั้น ๆ
ลาวัลย์จะต้องย้อนกลับไปจนกว่าจะเก็บข้อมูลของทุกคนที่ต้องตกสำรวจจนกว่าจะครบถ้วน บางครั้งเธอต้องขอให้ผู้ใหญ่บ้านจัดหาที่พักให้สองหรือสามคืนจนกว่าจะสำรวจแล้วเสร็จ
เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีคณะทำงานของ องค์การยูนิเซฟ และ สำนักงานสถิติแห่งชาติ จากกรุงเทพได้ลงพื้นที่เพื่อสังเกตการณ์การเก็บข้อมูล
ของเจ้าหน้าที่ในเขตแม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่ ลาวัลย์ดีใจที่ได้นั่งรถยนต์กับคณะทำงานขึ้นไปยังหมู่บ้าน
เพราะไม่ต้องลำบากขับมอเตอร์ไซค์ 180 กิโลเมตรจากสำนักงานในเมือง แม่ฮ่องสอน ไปที่หมู่บ้าน
ในปี 2565 องค์การยูนิเซฟ สนับสนุนความช่วยเหลือทางเทคนิคและงบประมาณเป็นเงินจำนวน 7.74 ล้านบาทไทย
หรือประมาณร้อยละ 35 ของค่าใช้จ่ายรวมสำหรับงานสำรวจครั้งล่าสุด เพื่อช่วยสำนักงานสถิติแห่งชาติเก็บข้อมูลในระดับจังหวัดใน 10 จังหวัดยากจนที่สุด
เพื่อสนับสนุนพนักงานเก็บข้อมูลในงานภาคสนามของพวกเขา งบประมาณนี้ยังจะใช้ในการจัดหาแท็บเลตและหน้ากากอนามัย
ชุดตรวจแอนติเจน และอุปกรณ์สุขอนามัยสำหรับการสำรวจทั่วประเทศ
เจ้าหน้าที่เก็บข้อมูลอย่างลาวัลย์จะต้องทำตามข้อกำหนดสากลของ MICS และมาตรการของยูนิเซฟที่ได้ปรับให้เข้ากับบริบทของไทย
โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติแล้ว เพื่อให้แน่ใจในความสม่ำเสมอและคุณภาพของการเก็บข้อมูล ในแต่ละวันเจ้าหน้าที่อาจต้องเจอ
ลาวัลย์ จุนยานันท์ เจ้าหน้าที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน เดินทางไปยังหมู่บ้านห่างไกลด้วยรถมอเตอร์ไซค์เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรี ความท้าทายที่เธอต้องเจอในแต่ละวันมีตั้งแต่ระยะทาง เจ้าของบ้านไม่อยู่ หรือเด็กตัวน้อยไม่ให้ความร่วมมือ (เครดิตภาพ: UNICEF/อรุณ ร้อยศรี)
ความท้าทายหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น สภาพอากาศปรวนแปร เส้นทางยากลำบาก เจ้าของบ้านไม่ต้อนรับหรือไม่อยู่ และเด็กเล็กที่ไม่ให้ความร่วมมือ
ข่าวมิจฉาชีพหลองลวงผู้คนตามบ้านถี่ขึ้นทุกวันจนทำให้เจ้าของบ้านไม่ไว้ใจคนแปลกหน้า ยิ่งทำให้เจ้าหน้าที่เข้าหาครัวเรือนยากขึ้นไปอีก
วิถีชีวิตใหม่ในคอนโดมิเนียมที่มีระบบรักษาความปลอดภัยแน่นหนาในเขตเมืองอย่างกรุงเทพฯ ก็เป็นอีกหนึ่งอุปสรรคเช่นกัน
“ถึงเราจะสวมเครื่องแบบ เจ้าของบ้านบางรายก็ปิดประตูใส่หน้าเราเสียเฉย ๆ เพราะพวกเขาคิดว่าเราเป็นแก๊งมิจฉาชีพ” ลาวัลย์เล่า
ปัญหานี้แก้ไม่ยากนักหากเกิดขึ้นในหมู่บ้าน เพราะเจ้าหน้าที่สามารถนัดกับครอบครัวผ่านทางผู้ใหญ่บ้าน ถึงกระนั้น หนทางก็ใช่จะราบรื่นเสมอไป
เพราะการเข้าถึงครัวเรือนตามหมู่บ้านอาจจะง่ายแต่การเก็บข้อมูลอย่างละเอียดนั้นเป็นเรื่องที่ท้ายทายไม่น้อย เช่น การวัดส่วนสูงเด็กเล็ก
เพราะเด็กเล็กมักร้องไห้ไม่หยุดเมื่อถูกบังคับให้นอนเหยียดตรงบนที่วัดส่วนสูง หลายครั้งที่เจ้าหน้าที่ต้องหยุดพักเพื่อให้เด็กหยุดร้องก่อนจะเริ่มขั้นตอนใหม่ทั้งหมด