ทำไม'โซลาร์เซลล์'ยังไม่เกิดในเมืองไทย : มุมพระปัญญาวชิรโมลี รร.เสียดายแดด

ทำไม'โซลาร์เซลล์'ยังไม่เกิดในเมืองไทย : มุมพระปัญญาวชิรโมลี รร.เสียดายแดด

โซลาร์เซลล์ พลังงานทางเลือกที่พูดถึงบ่อย แต่ทำไมยังไม่เกิดในเมืองไทย ลองอ่านมุมมองพระปัญญาวชิรโมลี ที่ทำเรื่องโซลาร์เซลล์ตั้งแต่ยุคแรกๆ

10 ปีที่แล้วในยุคที่คนไทยไม่คิดจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพราะมีราคาแพงเกินเอื้อม แต่ในยุคนั้น พระปัญญาวชิรโมลี (พระครูวิมลปัญญาคุณ) “พระนักพัฒนา” ผู้ก่อตั้งโรงเรียนศรีแสงธรรม หรือ“โรงเรียนเสียดายแดด” เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม ต.ห้วยยาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ได้ศึกษาเรื่องโซลาร์เซลล์และนำมาสอนนักเรียน รวมถึงต่อยอดเป็นพลังงานทดแทนใช้ในโรงเรียน

นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้นักเรียนทำสิ่งประดิษฐ์ออกมาหลายชิ้นอาทิ รถเข็นนอนนา (สถานีไฟฟ้าเคลื่อน), บ้านกินแดด, รถไฟฟ้า Ev Car จากแผงโซลาร์เซลล์ ฯลฯ จนท่านได้ฉายาว่า พระครูโซลาร์เซลล์

นอกจากเรื่องพลังงาน พระครูโซลาร์เซลล์ในตอนนั้นยังนำความรู้ทางการเกษตรมาพัฒนาพื้นที่ 20 ไร่ของวัดป่าศรีแสงธรรม ทำแปลงนาสาธิตให้นักเรียนรู้จักวิชาดำนาและเกี่ยวข้าว ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นพุทธอารยเกษตร โมเดลแก้ปัญหาแบบองค์รวม ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม 

ทำไม\'โซลาร์เซลล์\'ยังไม่เกิดในเมืองไทย : มุมพระปัญญาวชิรโมลี รร.เสียดายแดด

พระปัญญาวชิรโมลี (พระครูวิมลปัญญาคุณ) ผู้ก่อตั้งโรงเรียนศรีแสงธรรม หรือโรงเรียนเสียดายแดด 

โซลาร์เซลล์ทำได้ทุกสิ่ง

ช่วงที่พระปัญญาวชิรโมลีเริ่มเรียนรู้การทำโซลาเซลล์ ท่านหาความรู้ด้วยตัวเอง และทดลองทำครั้งแล้วครั้งเล่า จากนั้นเอาความรู้มาสอนนักเรียนและประชาชนที่สนใจ โดยนักเรียนต้องเรียนรู้เรื่องไฟฟ้าเบื้องต้นก่อน ในช่วงนั้นพระอาจารย์ไม่มีทุนที่จะทำสื่อการสอน จึงนำแผงโซลาร์เซลล์ที่คนไม่ใช้มาดัดแปลงสอน

"แรกๆ เราทำเรื่องสิ่งแวดล้อม ปลูกป่า ทำนาด้วยกล้าต้นเดียว พยายามแก้ปัญหาชุมชน ถ้ามีแหล่งน้ำในชุมชน การเกษตรจะไปได้ไกล จึงหาวิธีเอาน้ำขึ้นมาใช้โดยไม่ต้องจ่ายเงิน นั่นก็คือใช้โซล่าเซลล์ ใช้ได้ทั้งสอนนักเรียนและใช้ในชีวิตประจำวัน อาตมาคิดว่า เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสม”

การเปิดสอนโซลาร์เซลล์ให้คนทั่วไปและส่งนักเรียนไปช่วยติดตั้งโซลาร์เซลล์ในพื้นที่หลายจังหวัด ทำให้วัดป่าศรีแสงธรรมเป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีบางประเทศส่งคนมาถ่ายทำสารคดี เพื่อให้คนตระหนักรู้ในเรื่องพลังงานทางเลือก

ทำไม\'โซลาร์เซลล์\'ยังไม่เกิดในเมืองไทย : มุมพระปัญญาวชิรโมลี รร.เสียดายแดด การใช้โซลาร์เซลล์ในโรงพยาบาล ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้เยอะ

 

จนเป็นที่มาของการเดินทางไปหลายประเทศ เพื่อดูงานด้านการเกษตรและโซลาร์เซลล์ รวมถึงเผยแพร่ธรรมะ ตอนไปดูงานที่ออสเตรเลีย แม้พระปัญญาวชิรโมลีจะมีโอกาสไปดูงานหลายแห่ง แต่ไม่อาจรู้ได้ว่าวัสดุที่ใช้ทำโซลาร์เซลล์เป็นแบรนด์ไหน อย่างไร

“ฝรั่งก็ไม่ได้เก่งกว่าเรา วิธีการทำไม่ต่างกัน จะแตกต่างกันก็เรื่องอุปกรณ์ที่ใช้  วัสดุที่เราใช้ทำยังไม่ค่อยเสถียร ไม่ใช่วัสดุที่มาจากระบบอุตสาหกรรม 

อาตมาพยายามนำเรื่องพลังงานมาใช้กับการเกษตร อยากใช้เทคโนโลยีที่ทำน้อยๆ แต่ได้ผลมาก ทั้งเรื่องประหยัดน้ำประหยัดปุ๋ย ระบบสูบน้ำเข้าแปลงเกษตร ถ้าขาดน้ำการเกษตรไปต่อไม่ได้เลย

อาตมาไม่ได้ทำเรื่องน้ำอย่างเดียว ยังทำพวกเครื่องมือตรวจจับความชื้น สมาร์ทฟาร์มมิ่ง อย่างวันดินโลก เราก็พยายามปรับปรุงดิน ลดคาร์บอนเครดิต กักน้ำให้ดินโดยเอาศาสตร์พระราชามาทำเป็นหลุมขนมครกแบบธนาคารน้ำใต้ดิน พยายามขับเคลื่อนเรื่องนี้ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน 

ทำไม\'โซลาร์เซลล์\'ยังไม่เกิดในเมืองไทย : มุมพระปัญญาวชิรโมลี รร.เสียดายแดด

ทำไม\'โซลาร์เซลล์\'ยังไม่เกิดในเมืองไทย : มุมพระปัญญาวชิรโมลี รร.เสียดายแดด โมเดลพุทธอารยเกษตร

พุทธอารยเกษตร เป็นโมเดลในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและการเมือง อย่างในศรีลังกาอยากทดลองโมเดลนี้ ถ้าทำแบบบูรณาการ ก็อยากรู้ว่าจะแก้ปัญหาประเทศได้ไหม"

โซลาร์เซลล์จำเป็นแค่ไหน

คงได้ยินบ่อยๆ เรื่องการติดตั้งโซลาร์เซลล์แล้วขายพลังงานให้การไฟฟ้า เรื่องนี้พระปัญญาวชิรโมลี เล่าถึงสาเหตุที่โซลาร์เซลล์ต้องขออนุญาตการไฟฟ้าในการเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้า เพราะเป็นระบบการทำงานแบบ On grid 

จึงต้องมีอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ทัั้งเรื่องสายไฟ ฟิวส์ และเบรกเกอร์ เพื่อความปลอดภัยเจ้าของบ้าน ส่วนการติดตั้งไม่ต้องขออนุญาต เพราะการใช้แบตเตอรี่สำรองไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบ

 “ชาวบ้านไม่เข้าใจก็ต่อว่าการไฟฟ้า ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องความปลอดภัย หากบ้านที่ใช้ไฟฟ้าที่มีแรงดันมากกว่า 250 วัตต์ ก็จะมีผลกระทบต่อบ้านที่ใช้แรงดันไฟฟ้า 220 วัตต์ ซึ่งเป็นเรื่องเทคนิค ถ้าหม้อแปลงไฟฟ้าเกิดระเบิดจะมีปัญหาทั้งชุมชน อยากให้คนเข้าใจว่า ที่ต้องขออนุญาตคือเรื่องเชื่อมต่อ ไม่ใช่ขออนุญาตติดตั้ง"

หากบ้านทั่วไปที่คิดจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพื่อใช้ไฟฟ้าตามมาตรฐาน 5 กิโลวัตต์  พระอาจารย์ บอกว่า การลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่ได้มาตรฐานจะใช้งบประมาณ 135,000  บาท สามารถลดค่าไฟฟ้าได้ประมาณเดือนละ 3,500 บาท 

แต่ถ้ามาตรฐานการใช้ไฟฟ้า 3 กิโลวัตต์จะลดค่าไฟฟ้าได้เดือนละสองพันกว่าบาท ลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์ประมาณเก้าหมื่นกว่าบาท

“ถ้าใช้ไฟฟ้าเฉพาะกลางคืน กลางวันไม่ใช้ไฟฟ้า ติดตั้งโซลาร์เซลล์ก็ไม่ประหยัดเงิน แต่ถ้าติดโซลาร์เซลล์ที่โรงงาน ร้านค้า โรงพยาบาล ใช้ไฟฟ้าทั้งวันทั้งคืน ติดโซลาร์เซลล์เท่าไร ก็คุ้ม

ยกตัวอย่างโรงพยาบาลที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์ เคยเสียค่าไฟฟ้าเดือน 2-3 แสนบาท ค่าไฟฟ้าจะลดลงเดือนละเจ็ดหมื่นกว่าบาท อายุใช้งานประมาณ 30 ปี คำนวณเบ็ดเสร็จเท่ากับลดค่าไฟฟ้าได้ 24 ล้านบาท" 

พระอาจารย์ บอกว่า การติดตั้งโซลาร์เซลล์ในระบบโรงพยาบาลเป็นโครงการที่ดี แต่มักมีปัญหาเรื่องระบบระเบียบราชการ จึงเกิดความยุ่งยาก

"การติดตั้งโซลาร์เซลล์ตามโรงพยาบาล เราก็ช่วยระดมทุนให้ ทำไปแล้วประมาณ 13 แห่ง เราอยากให้โรงพยาบาลมีส่วนร่วมในการหาทุนจะได้เกิดความภูมิใจ ถ้าแต่ละแห่งระดมทุนได้ครบ 3.3 ล้านบาท เราก็ไปช่วยติดตั้ง เราอยากให้สิ่งที่ดีที่สุดในสังคม บางแห่งก็ช่วยหาทุนให้ด้วย"

ส่วนการติดตั้งโซล่าร์เซลล์ตามบ้านพักอาศัย พระอาจารย์บอกว่า ยังไม่เหมาะ เพราะคนส่วนใหญ่ตอนกลางวันไปทำงานไม่อยู่บ้าน ไม่ค่อยได้ใช้ไฟฟ้า หากจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ กว่าจะคุ้มทุนใช้เวลา 7 ปี ต่างจากโรงพยาบาล 3 ปีก็คุ้มทุนแล้ว และเงินติดตั้งมาจากเงินบริจาค จึงคุ้มทุนทันที

“โซลาร์เซลล์ตามบ้านหากติดไปแล้ว ไม่ได้ใช้ไฟฟ้าช่วงกลางวัน จะไม่คุ้มทุน เพราะต้องใช้แบตเตอรี่เก็บไฟฟ้าลูกละแสนกว่าบาท ยกเว้นใช้ไฟฟ้าทั้งวันทั้งคืน"

ทำไม\'โซลาร์เซลล์\'ยังไม่เกิดในเมืองไทย : มุมพระปัญญาวชิรโมลี รร.เสียดายแดด

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ แม้จะแข่งขันในเรื่องราคา แต่ต้องคำนึงถึงคุณภาพ พระอาจารย์ บอกว่า อยู่ที่ว่านโยบายภาครัฐจะจัดการทำอย่างไร และคนที่พูดเรื่องนี้ไม่มีความรู้เรื่องระบบ อยากจะทำเรื่องระบบซื้อขายไฟฟ้าแลกเปลี่ยนกัน แต่ทำไม่ได้

"สิ่งที่รัฐควรทำคือการจัดการพลังงาน เพราะตอนนี้จะเก็บไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ไว้ใช้ ยังทำไม่ได้ เนื่องจากปัญหาเรื่องวัสดุ อย่างวัสดุที่เรียกว่าลิเธียมยังมีไม่พอสำหรับคนทั้งโลก แค่ใช้ในระบบรถไฟฟ้าก็ยังไม่พอ ถ้าตอนนี้รถยนต์ทั่วโลกมีประมาณ 1,200 ล้านคัน

หากเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้าที่ต้องใช้ส่วนประกอบลิเธียมด้วย ซึ่งปริมาณลิเธียมที่มีอยู่ตอนนี้ (ปี 66) ทำรถไฟฟ้าได้แค่ 200 ล้านคันทั่วโลก การผลิตไฟฟ้าที่ไม่มีมลพิษ หากเป็นนิวเคลียร์ ก็มีกากจากนิวเคลียร์อีก หากบอกว่า ดีที่สุดคือไม่ทิ้งกากเลย เป็นไปไม่ได้"