วิธีสร้าง ‘ความเท่าเทียม’ ในองค์กร LGBTQ+
ในเดือน Pride Month แห่งความภาคภูมิใจของ LGBTQ+ มีความรู้ ความเข้าใจ และวิธีสร้าง ‘ความเท่าเทียม’ และ ความเสมอภาค ให้เกิดขึ้นในองค์กรมาฝากกัน
เนื่องในเดือนแห่งความภาคภูมิใจ Pride Month เพื่อสร้าง ‘ความเท่าเทียม’ ของการทำงานในองค์กร ให้คนที่มีความหลากหลายทางเพศ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข ปลอดภัย ส่งผลต่องานที่ดีขึ้น
สถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ The Nation และ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
จัดงานสัมมนา Thailand’s International Diversity, Equity and Inclusion day ขึ้น เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและสาธารณชน
ช่วยลดอคติ สร้างความเข้าใจอันดีในสังคมที่มีความหลากหลาย เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ดำเนินรายการโดย วิทยา แสงอรุณ
Cr. Kanok Shokjaratkul
- ความเท่าเทียมระหว่างเพศ เป็นเป้าหมายของโลก
จินตนา จันทร์บำรุง อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงทรัพยากรมนุษย์ กล่าวว่า งานวันนี้เราได้ร่วมกับ The Nation
"จัดงานเสวนาให้ความรู้ เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ที่ยังมีการเลือกปฏิบัติอยู่ในหลาย ๆ ส่วน เรามีภารกิจหลัก สร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัว เป็นไปตามอนุสัญญาในเป้าหมายที่ 5
Cr. Kanok Shokjaratkul
ประเทศไทยมีพ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ ปี 2558 ในรัฐธรรมนูญปี 60 เรื่องการไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ เรามีกองทุนช่วยเหลือผู้ถูกเลือกปฏิบัติ
และอยู่ระหว่างร่างพ.ร.บ.รับรองเพศเรื่องการใช้คำนำหน้านาม พ.รบ.ความเท่าเทียม มี 6 ด้าน ทุกท่านสามารถนำไปใช้ในหน่วยงานของท่านได้
1) เรื่องการแต่งกาย สามารถแต่งตามอัตลักษณ์ทางเพศได้
2) เรื่องสถานที่ อาทิ ห้องน้ำ ที่จอดรถ 3) เรื่องคำพูด
4) เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเลื่อนขั้น 1 ใน 3 จะต้องเป็นผู้หญิง
5) เรื่องการคุกคามทางเพศ ทั้งสายตา วาจา ร่างกาย
6) เรื่องการเลื่อนตำแหน่ง HR มีการระบุเพศหรือไม่
นี่เป็นจุดเริ่มต้นขององค์กรเอกชน ในการสร้างความเท่าเทียม หากนำไปใช้ปฏิบัติจริงจะทำให้ประเทศไทยมีความก้าวหน้า และในองค์กรเองก็เกิดประโยชน์สูงสุด"
Cr. Kanok Shokjaratkul
- ความเสมอภาค และ ความเท่าเทียม
นภคฑ์วรรธน์ กิตติธรรมวุฒิ Chief Peple and Culture Officer EXO Group UN INGO on Diversity กล่าวในหัวข้อ Fundamental of Diversity, Equity, Inclusion (DEI) ว่า
"ในช่วง 5-10 ปีมานี้ หลายองค์กรทำเรื่องความหลากหลายและความเท่าเทียม หรือ DEI (Diversity, Equity, Inclusion) มีการลงทุน แต่ล้มเหลว เพราะไม่เข้าใจว่า DEI คืออะไร
Diversity คือ ความหลากหลาย มีหลายประเภท
1) ความหลากหลายภายใน คือ สิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด เพศ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความสามารถทางกายภาพ
2) ความหลากหลายภายนอก เช่น การศึกษา สถานภาพสมรส สถานภาพทางเศรษฐกิจ ความคิดเห็น
3) ความหลากหลายในองค์กร ได้แก่ 1.เพศ 2.เชื้อชาติ ศาสนา 3.สถานภาพการแต่งงาน 4.อายุ 5.ทักษะต่าง ๆ
Cr. Kanok Shokjaratkul
วิธีแก้ไข คือ อย่าไปบังคับ ไปตัดสินใจแทนเขา บางองค์กรมีความแตกต่างมาก แต่ทุกที่มีบางสิ่งที่เหมือนกันคือความชอบ รสนิยม ถ้ามีการค้นพบ ทุกคนก็จะเข้ามาหากันคุยกัน
Equity คือ ความเสมอภาค และ ความเท่าเทียม สองคำนี้ต่างกันตรงที่ ความเท่าเทียม คือ ทุกคนได้รับโอกาส ได้รับการปฏิบัติเท่ากัน
Cr. Kanok Shokjaratkul
ส่วน ความเสมอภาค เน้นความเป็นธรรมต่อแต่ละบุคคลที่ไม่เหมือนกัน ด้วยความต่างของแต่ละคน
เช่น ให้กล่องแก่คน 3 คนไว้รองยืนเก็บผลไม้ 1)กล่องมีขนาดเท่ากันหมดนั่นคือความเท่าเทียม 2)กล่องมีขนาดไม่เท่ากันเพื่อตอบสนองคนตัวเตี้ยตัวสูงให้ทำงานได้เหมือนกันนั่นคือความเสมอภาค
ไม่ใช่ว่าในสถานที่ทำงานแห่งหนึ่งทำบันไดให้แล้วทุกคนเท่าเทียมแล้ว นั่นไม่เสมอภาคเพราะตอบสนองแต่ละคนไม่เท่ากัน เพราะพนักงานนั่งวีลแชร์ ไม่สามารถใช้ได้ เป็นความเท่าเทียมแต่ไม่เสมอภาค
Inclusion คือ การเป็นส่วนหนึ่ง การเป็นเจ้าของ HR ต้องทำให้พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมและได้รับความเคารพ หากมีการบูลลี่กันต้องมีบทลงโทษ
กลยุทธ์ที่ดีต้องเริ่มจากผู้คน แล้วตามมาด้วยนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมกับองค์กร แล้วขับเคลื่อนไปด้วยกัน คนที่สำคัญที่สุดในองค์กรที่จะทำให้ DEI เกิดได้และประสบความสำเร็จ คือ ผู้นำ ที่เอาจริงเอาจัง"