กทม. จัด Pride Month ต่อ ‘Bangkok Pride 2023’ สัปดาห์ที่สอง มีที่ไหนบ้าง
เดือนมิถุนายนของทุกปีเป็นเดือน 'Pride Month' กทม. ตั้งเป้าเป็น 'World Pride 2028' ให้ได้ ในปีนี้จึงมีกิจกรรมมากมาย ตลอดทั้งเดือน มีอะไรที่ไหนบ้างมาดูกัน
กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ นฤมิตไพรด์ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และองค์กรสิทธิเพศหลากหลายกว่า 30 องค์กร จัดงาน บางกอกไพรด์ 2023 (Bangkok Pride 2023) เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2566 เพื่อสร้างการยอมรับความหลากหลายทางเพศให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมเดินขบวน Bangkok Pride 2023 จากหน้าหอศิลปวัฒนธรรม ฯ (BACC) ไปถึงแยกราชประสงค์ ลานเซ็นทรัลเวิลด์
และกล่าวว่า หัวใจของงานนี้คือ ความเข้าใจซึ่งกันและกัน ถ้าเราเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น เราจะอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขมากขึ้น
"โดยเริ่มจากเรื่องเพศ แนวความคิด ความพิการ นั่นคือสิ่งสำคัญของเมือง เราควรปลูกฝังความคิดเรื่องความเท่าเทียมกันให้เป็นวัฒนธรรมอยู่ในหัวใจทุก ๆ วัน ไม่ทำแค่วันนี้วันเดียวCr. กรุงเทพมหานคร
Cr. กรุงเทพมหานคร
กทม.จะสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร ในเรื่องความเท่าเทียมกันเรื่องการแต่งกาย มีคลินิกดูแลสุขภาพ จะไม่มีการเหยียดกันเรื่องเพศในที่ทำงาน สนับสนุนเรื่องการแต่งกายตามเพศสภาพอย่างอิสระ
เนื่องจาก กทม. วัดการทำงานที่ความสามารถ เรื่องเพศสภาพจึงไม่เกี่ยวกับการแข่งขันในการพิจารณาเรื่องผลงาน
นอกจากนี้กทม. พร้อมที่จะร่วมงานกับรัฐบาลใหม่ เพื่อผลักดันกฎหมายด้านการส่งเสริมเรื่องความเท่าเทียมกันให้มากขึ้น”
Cr. กรุงเทพมหานคร
Cr. กรุงเทพมหานคร
บรรยากาศในงาน Bangkok Pride 2023 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และคณะผู้บริหาร ได้เข้าร่วมในขบวนที่ 6 Security : ความปลอดภัย I’m Home
มีแนวคิดหลักยืนยันในสิทธิที่มีความปลอดภัยในชีวิตของ LGBTQIAN+ ผ่านการสนับสนุนและอำนวยความสงบปลอดภัยจากทุกภาคส่วน รวมถึงเสรีภาพแสวงหาความสงบสุขทางจิตวิญญาณ และรณรงค์ให้มีการเปิดกว้างทางศาสนาสำหรับทุกเพศ
Cr. กรุงเทพมหานคร
Cr. กรุงเทพมหานคร
ในงานนี้ กทม.ยังได้ส่งทูตสื่อสาร (BMA PR Ambassador) จำนวน 7 คน เข้าร่วมด้วยเพื่อประชาสัมพันธ์ ความเป็นเมืองน่าอยู่ของกรุงเทพมหานคร ที่มีนโยบายเปิดกว้างสำหรับทุกคน พร้อมสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ ประกอบด้วย
1. เรื่องสังคม ความเท่าเทียม ความหลากหลาย รณรงค์ส่งเสริมการแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2. เรื่องเศรษฐกิจ เพราะชาว LGBTQIAN+ ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น ท่องเที่ยว ภาพยนตร์ ดนตรี บันเทิง การแพทย์
Cr. กรุงเทพมหานคร
Cr. กรุงเทพมหานคร
3. เรื่องสาธารณสุข กทม.ร่วมมือกับเครือข่ายต่าง ๆ ดำเนินการจัดตั้ง คลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย กรุงเทพมหานคร (BKK Pride Clinic) ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กทม.
เฟสแรกตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2565 จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลกลาง, โรงพยาบาลตากสิน, โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, โรงพยาบาลราชพิพัฒน์, โรงพยาบาลสิรินธร
ตั้งเป้าให้ครบ 11 โรงพยาบาลในสังกัด ในส่วนของศูนย์บริการสาธารณสุข สังกัดสำนักอนามัย กทม. มีแผนนำร่องเปิดให้บริการใน 16 แห่ง
Cr. กรุงเทพมหานคร
Cr. กรุงเทพมหานคร
โดยเฟสแรกเปิดแล้ว 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข 21 วัดธาตุทอง เขตวัฒนา และศูนย์บริการสาธารณสุข 28 กรุงธนบุรี เขตคลองสาน
พร้อมเตรียมเปิดเฟสที่สองเพิ่มเติมอีก 4 แห่ง ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 บางซื่อ เขตบางซื่อ ศูนย์บริการสาธารณสุข 25 ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง ศูนย์บริการสาธารณสุข 43 มีนบุรี เขตมีนบุรี และศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศ เขตหนองแขม
ไม่เพียงแค่วันที่ 4 มิถุนายน 2566 ที่มีขบวนแห่สายรุ้งอย่างยิ่งใหญ่เท่านั้น กทม.ยังจัดกิจกรรม Bangkok Pride 2023 ต่อเนื่องทั้งเดือนมิถุนายน ดังนี้
Cr. กรุงเทพมหานคร
Cr. กรุงเทพมหานคร
- Bangkok Pride 2023 week 2nd
วันที่ 1-30 มิถุนายน The World of Freedom And Pride 2023 ณ Siam Center
วันที่ 8-11 มิถุนายน (16.00 - 22.00 น.) Pride Film Fest ณ Sky Garden ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์
วันที่ 9 มิถุนายน Happy Pride Month ณ MBK center
วันที่ 9 มิถุนายน (18.30 - 20.00 น.) โชว์คาบาเร่ต์ จากสีลม ซ.2 ณ สีลมเอจ
วันที่ 10-11 มิถุนายน Diversity Art Music And Fashion ณ ATRIUM ZONE 2 ชั้น 6 Siam Center
วันที่ 14 มิ.ย. (13.30 - 15.30 น.) สัมมนา วิธีป้องกันการเลือกปฏิบัติและการคุกคาม LGBTQI + ในที่ทำงาน ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)