เปิดรายงาน ‘อันตรายเกินกว่าจะเป็นตัวเอง’ ความรุนแรงในโลกดิจิทัล

เปิดรายงาน ‘อันตรายเกินกว่าจะเป็นตัวเอง’ ความรุนแรงในโลกดิจิทัล

'แอมเนสตี้' เผยรายงาน ‘อันตรายเกินกว่าจะเป็นตัวเอง’ การใช้ความรุนแรงในโลกดิจิทัล เพื่อปิดปากนักกิจกรรมหญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยแพร่รายงานฉบับใหม่ อันตรายเกินกว่าจะเป็นตัวเอง (Being Ourselves is Too Dangerous) เปิดเผยสถานการณ์ ที่นักกิจกรรม นักวิชาการ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศกำลังถูกคุกคาม วันที่ 16 พฤษภาคม 2567 ณ โรงแรมสยาม@สยาม กรุงเทพฯ

ไอรีน ข่าน (Irene Khan) ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก กล่าวว่า ในโลกดิจิทัล พื้นที่บนอินเตอร์เน็ตกลายเป็นพื้นที่ต่อสู้ในเรื่องของสิทธิและการแสดงออก

"เป็นโอกาสมหาศาล นำไปสู่ความท้าทายต่อการกดขี่กดทับในการแสดงออก รายงานฉบับนี้จะบอกถึงสถานการณ์ในประเทศไทย ภาพรวมในระดับโลก

การใช้เทคโนโลยีที่มีเป้าหมาย ลดการมีส่วนร่วมในสังคม ด้วยการคุกคาม ข่มขู่ ป้ายสี นำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุความรุนแรงมากขึ้นในช่วงสิบปีที่ผ่านมา สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา

เปิดรายงาน ‘อันตรายเกินกว่าจะเป็นตัวเอง’ ความรุนแรงในโลกดิจิทัล

ผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศ ถูกกระทำมากขึ้น ความรุนแรงทางออนไลน์มีผลต่อออฟไลน์ด้วย ก่อเกิดความรุนแรงทางจิตใจ

ในเรื่องนี้ กฎหมายระหว่างประเทศไม่ว่าออฟไลน์หรือออนไลน์ ยังไม่มีการแก้ปัญหาเพียงพอ ทำให้ผู้กระทำลอยตัว นี่คือความเร่งด่วน"

เปิดรายงาน ‘อันตรายเกินกว่าจะเป็นตัวเอง’ ความรุนแรงในโลกดิจิทัล

เอลิน่า คาสติลโย ฆิเมเนซ (Elina Castillo Jiménez) นักวิจัย ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีกับสิทธิมนุษยชน นำเสนอภาพรวมทั่วโลกของปรากฏการณ์ความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศผ่านเทคโนโลยี ว่า เทคโนโลยีมีประโยชน์ช่วยเชื่อมโยง แต่ก็เป็นดาบสองคม

"เราได้รวบรวมนักสิทธิมนุษยชนทั่วโลกที่ตกเป็นเป้าหมายของการสอดส่องที่เป็นอันตราย ในปี 2021-2022 มีนักปกป้องสิทธิ 35 คนถูกเจาะ เป็นสปายแวร์ เป็นภัยคุกคามต่อนิติรัฐ

ในประเทศไทยมีจำนวน 9 ราย เป็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศ ทำให้เกิดความกลัว ความวิกตกกังวล มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจ

นักปกป้องสิทธิทั่วโลก ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร เกิดขึ้นจากใคร ขอเรียกร้องให้รัฐทุกประเทศมีการแบนสปายแวร์ รายงานนี้จะทำให้คนตระหนักและเห็นความสำคัญของประเด็นนี้"

เปิดรายงาน ‘อันตรายเกินกว่าจะเป็นตัวเอง’ ความรุนแรงในโลกดิจิทัล

เช็ชฐา ดาส (Shreshtha Das) ที่ปรึกษา นักวิจัยด้านเพศวิถีศึกษา ความยุติธรรมทางเพศ ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า

"พื้นที่ดิจิทัล ถูกใช้โดยกลุ่มผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศ เพื่อสื่อสาร เช่น แคมเปญ Hashtag  #MeToo แต่กลับต้องเจอการคุกคาม ผ่านการใช้เทคโนโลยี TfGBV (Technology Facilitated Gender Based Violence) มีการ Doxing เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

รัฐบาลไทยปฏิเสธการมีส่วนร่วมใด ๆ กับการสอดแนมทางดิจิทัลและการคุกคามออนไลน์ต่อนักกิจกรรมผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศ ไม่ได้แสดงความเต็มใจที่จะสอบสวนกรณีต่าง ๆ ในงานวิจัยนี้

สะท้อนว่ารัฐบาลไทยล้มเหลวในการปฏิบัติตามความรับผิดชอบของตนภายใต้สนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคี

รวมถึงการรับประกันสิทธิที่จะมีอิสรภาพบนพื้นฐานทางเพศ สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุมประท้วงโดยสงบและการสมาคม สิทธิในความเป็นส่วนตัว สิทธิที่จะได้รับการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพ"

นักกิจกรรมผู้หญิง 9 จาก 15 คน ยืนยันว่าถูกโจมตีโดยสปายแวร์เพกาซัส ในปี 2563 และ 2564

เปิดรายงาน ‘อันตรายเกินกว่าจะเป็นตัวเอง’ ความรุนแรงในโลกดิจิทัล

นิราภร อ่อนขาว นักกิจกรรมวัย 22 ปี ได้รับการแจ้งเตือนว่าอุปกรณ์ของเธออาจเป็นเป้าหมายของ 'ผู้โจมตีที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ' 

iPhone ของเธอถูกเจาะข้อมูลสปายแวร์เพกาซัส 14 ครั้ง เธอเชื่อว่าการโจมตีครั้งนี้เชื่อมโยงกับการมีส่วนร่วมของเธอในขบวนการชุมนุมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยที่นำโดยเยาวชนในปี 2563

พัชรดนัย ระวังทรัพย์ ผู้ระบุตัวตนทางเพศว่าเป็นเกย์ อดีตสมาชิก ทะลุฟ้า กลุ่มขับเคลื่อนเรียกร้องประชาธิปไตย ได้รับการแจ้งเตือนจาก Meta ว่า บัญชีเฟซบุ๊ก (Facebook) ของเขาตกเป็นเป้าหมายของ 'ผู้โจมตีที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐหรือผู้โจมตีที่เชี่ยวชาญ'

เปิดรายงาน ‘อันตรายเกินกว่าจะเป็นตัวเอง’ ความรุนแรงในโลกดิจิทัล

ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า ตนถูกสร้างภาพให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นตัวแทนจากต่างประเทศที่พยายามบ่อนทำลายรัฐบาลไทย โดยปฏิบัติการพุ่งเป้าใส่ร้ายป้ายสีบนโลกออนไลน์ที่มีการประสานงานกันอย่างเป็นระบบ

ณิชกานต์ รักวงษ์ฤทธิ์ นักเคลื่อนไหวเยาวชนด้านเฟมินิสต์ที่ระบุตัวตนว่าเป็นนอนไบนารี่ กล่าวว่า ตอนอายุ 17 ปี มีบัญชี Twitter ที่ไม่ระบุชื่อ ได้เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวทางสาธารณะ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน และข้อกล่าวหาทางอาญาจากการชุมนุมประท้วงโดยสงบ เพื่อข่มขู่

นักกิจกรรมผู้หญิงข้ามเพศมุสลิม 3 คนถูกข่มขู่ว่าจะใช้ความรุนแรง หลังให้สัมภาษณ์สื่อออนไลน์เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติและการต่อต้านกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศภายในชุมชนของตน

เปิดรายงาน ‘อันตรายเกินกว่าจะเป็นตัวเอง’ ความรุนแรงในโลกดิจิทัล

ชนาธิป ตติยการุณวงศ์ นักวิจัยประจำประเทศไทย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก กล่าวว่า รายงานนี้ค้นพบว่า

1. ผู้หญิงและ LGBT ที่ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิ ไม่ปลอดภัยบนโลกดิจิทัล

2. ยังไม่มีความยุติธรรมและการชดเชยเยียวยาให้ผู้ที่ตกเป็นเป้าหมาย

3. ความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศผ่านเทคโนโลยีได้สร้างบรรยากาศแห่งความกลัว ทำให้ผู้หญิงและ LGBT ไม่กล้าออกมาแสดงออกอย่างเต็มที่

เปิดรายงาน ‘อันตรายเกินกว่าจะเป็นตัวเอง’ ความรุนแรงในโลกดิจิทัล

ประเทศไทยวางตนเป็นผู้นำด้านความเท่าเทียมทางเพศและให้สัญญาระดับนานาชาติว่าจะปกป้องสิทธิผู้หญิงและสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศ

แต่ความเป็นจริงคือ ผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศในประเทศยังเผชิญกับความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศผ่านการใช้เทคโนโลยีอยู่

รายงานฉบับนี้อ้างอิงข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศจำนวน 40 คน รวมถึงนักกิจกรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้

เปิดรายงาน ‘อันตรายเกินกว่าจะเป็นตัวเอง’ ความรุนแรงในโลกดิจิทัล

รัฐบาลไทยต้องให้คำมั่นต่อสาธารณะที่จะไม่กระทำการละเมิด พุ่งเป้าสอดแนมทางดิจิทัลและการคุกคามทางออนไลน์ และต้องมีการสอบสวนทุกกรณี

ขอเรียกร้องให้ประเทศไทยหยุดการใช้สปายแวร์ที่รุกล้ำความเป็นส่วนตัว

NSO Group ต้องยุติการผลิต ขาย ถ่ายโอน ใช้ สนับสนุนเพกาซัสหรือสปายแวร์ที่รุกล้ำ ต้องชดเชยให้ผู้เสียหายที่ถูกสอดแนมโดยมิชอบด้วยกฎหมายผ่านสปายแวร์เพกาซัสในประเทศไทย

ประเทศไทยจะไม่มีวันเป็นสวรรค์ของความเท่าเทียมทางเพศ เว้นแต่รัฐบาลและบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องจะเร่งดำเนินการยุติความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศผ่านการใช้เทคโนโลยีทันที"