'ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์' 'Qualy' ดีไซน์เล่าเรื่องจาก 'พลาสติกรีไซเคิล'

'ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์' 'Qualy' ดีไซน์เล่าเรื่องจาก 'พลาสติกรีไซเคิล'

ผู้ก่อตั้งแบรนด์ 'Qualy' 'ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์' ผลิตสินค้าไลฟ์สไตล์จากกระบวนการ circular design จาก 'พลาสติกรีไซเคิล' เมื่อหมดอายุการใช้งานก็นำกลับมารีไซเคิลได้อีก เป็น recycled material แม้พลาสติกไม่ย่อยสลายแต่ก็ไม่ผลิตเพิ่ม

แนวคิดเรื่อง eco design + circular economy เกิดขึ้นหลังปรับเปลี่ยนองค์กรครั้งใหญ่ จากที่เคยคิดว่าเป็นนักออกแบบ สินค้าดีไซน์สวย ฟังก์ชั่นครบ แถมมีสตอรีที่เล่าเรื่องโลกและสิ่งแวดล้อม

ไจ๋ - ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ เปิดใจกับ จุดประกาย TALK ถึงเรื่องราวเมื่อราว 15 ปีก่อน ก่อนที่ Qualy จะปรับตัวเลิกใช้เม็ดพลาสติกจากโรงงาน เปลี่ยนมาใช้ พลาสติกรีไซเคิล ปรับกระบวนท่าและกระบวนทัศน์มุ่งสู่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มรูปแบบ

\'ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์\' \'Qualy\' ดีไซน์เล่าเรื่องจาก \'พลาสติกรีไซเคิล\'      ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ ผู้ก่อตั้ง Qualy 

ก่อนมาสร้างแบรนด์ Qualy เป็นนักออกแบบ

“ผมทำธุรกิจกับครอบครัว รับจ้างทำชิ้นส่วนพลาสติก พอเรียนจบคณะสถาปัตย์ฯ การออกแบบอุตสาหกรรม พระจอมเกล้าลาดกระบัง ก็เริ่มมาผลิตสินค้า เราออกแบบแล้วไปออกงานแฟร์ ผลตอบรับดีมากเพราะเรามีดีไซน์ที่แปลกใหม่

งานชิ้นแรกทำเหยือกแก้วน้ำ เพราะคิดว่าเป็นของที่ทุกบ้านใช้ เราใส่แนวคิดเข้าไป แก้ปัญหาการดื่มน้ำของคนไทย เราชอบดื่มน้ำเย็น แต่พอวางแก้วน้ำไอน้ำจะเกาะ เราแก้ปัญหาไม่มีไอน้ำเกาะ ทำให้การดื่มน้ำเย็นไม่ต้องเช็ดโต๊ะ

\'ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์\' \'Qualy\' ดีไซน์เล่าเรื่องจาก \'พลาสติกรีไซเคิล\'     จานรองแก้ว

ตอนแรกการผลิตใช้เม็ดพลาสติก ยุคนั้นเรายังบริโภคกันอย่างเพลิดเพลิน ฟองสบู่ก็แตกตอนนั้น จากนั้นก็มีพวกครีเอทีฟ สถาปนิก ออกมาทำของขาย

เราเป็นโรงงานที่ผันตัวจากผู้รับจ้างมาเป็นแบรนด์ของตัวเอง แต่เราค่อย ๆ เปลี่ยน เพราะไม่มีเงินทุนที่หนาและไม่มีความรู้ในการขายของ ทุกอย่างใหม่หมดสำหรับเราในการเข้ามาสู่ธุรกิจแบบรีเทล พอมาทำอย่างนี้ก็มีโอกาสเข้าตามห้างต่าง ๆ และมีโอกาสที่มีร้านของตัวเองด้วย ร้านแรกที่เอเชียทีค ใช้ชื่อแบรนด์ Qualy มาจากคำว่า Quality

\'ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์\' \'Qualy\' ดีไซน์เล่าเรื่องจาก \'พลาสติกรีไซเคิล\'     ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล (Cr.FB:Qualy)

จากแก้วน้ำก็เริ่มผลิตสินค้าที่มีสตอรี

“เน้นเรื่องความยูนีคของสตอรีที่ใส่เข้าไปในงาน เช่นทำแอปเปิ้ลเท่าหม้อหุงข้าว ที่คั้นน้ำส้มรูปทรงแปลกตา สินค้ารูปสัตว์ นก และเล่าเรื่องสิ่งแวดล้อม ปรากฏว่าคนชอบ หลังจากเคยฟังเรื่องของเรามา เขาสามารถจะบอกเพื่อนว่าเรื่องราวแต่ละตัวคืออะไร เราเลยรู้สึกว่าการสื่อสารผ่านตัวงานที่เราออกแบบมันมีพลังนะ

เช่นถังน้ำแข็งมีหมีขั้วโลกอยู่ หรือพูดถึงการตัดต้นไม้ ตัวที่ใส่ทิชชูดึงกระดาษออกมาแล้วมีกระรอกกับต้นไม้ หดลงไปจากการดึงของเรา ปลั๊กพวงกุญแจ ออกจากบ้านอย่าลืมดึงปลั๊กนะ เซฟตี้ ประหยัดพลังงานได้ด้วย และยังคงฟังก์ชั่นว่าเป็นที่เก็บกุญแจด้วย”

\'ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์\' \'Qualy\' ดีไซน์เล่าเรื่องจาก \'พลาสติกรีไซเคิล\'      กระถางต้นไม้จากพลาสติกรีไซเคิล เมื่อต้นไม้ขาดน้ำจะเห็นหัวกระรอกโผล่ออกมา

พอสื่อสารออกไป ผู้บริโภคเข้าใจกี่ส่วน

“เป็นเรื่องเบสิกที่เขาเข้าใจอยู่แล้ว ง่าย ๆ หรืออาจเป็นเรื่องที่คนไม่ค่อยสนใจ หมีขั้วโลกก็ไกลตัว แต่พอสื่อสารออกไปก็เข้าใจได้เพราะไม่ใช่เรื่องยาก โลกร้อนหมีต้องว่ายน้ำไกลนะ จะอินแค่ไหนเราไม่รู้ แต่เป็นการสร้างอะแวร์เนสให้คนรู้ เผยแพร่ผ่านผลิตภัณฑ์ของเรา ตัววัสดุเป็นฟู้ดเกรด”

แล้วเกิดอะไรขึ้นถึงเปลี่ยนมาใช้พลาสติกรีไซเคิล

“จนมาถึงยุคที่พลาสติกเป็นผู้ร้าย พบว่าในสิ่งแวดล้อมมีขยะเต็มไปหมด พลาสติกแตกตัวเป็นไมโคร ขยะลอยไปติดเต่า เป็นยุคที่ตื่นตัวเรื่อง ปัญหาขยะพลาสติก ผมว่าน่าจะเกิน 10 กว่าปี

เหมือนว่างานของเราถูกมองเป็นเนกาทีฟ เพราะลูกค้าที่จะซื้อของเราคิดว่า ไม่อยากมีส่วนร่วมกับอะไรที่เป็นพลาสติก ตอนนั้นเราไม่ได้พูดเรื่องซิงเกิ้ลยูสด้วยนะ แต่ถูกมองในเชิงลบ

\'ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์\' \'Qualy\' ดีไซน์เล่าเรื่องจาก \'พลาสติกรีไซเคิล\'      ปลาวาฬเก็บถุงพลาสติกเพื่อใช้ซ้ำ ผลิตจากวัสดุ recycled HDPE (ภาพ Qualy)

ทำให้เราต้องเปลี่ยน ไม่ใช่ด้วยเรื่องธุรกิจอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องจิตสำนึก จากที่เราเคยรู้สึกว่าเราเป็นคนที่สร้างสรรค์ เล่าเรื่องโลกร้อน เราทำของมีฟังก์ชั่นที่ดี ดีไซน์สวยงาม แต่ตอนนี้ภาพลักษณ์ไปด้านลบมากกว่า

เรากลายเป็นส่วนหนึ่งของการทำพลาสติกที่วันหนึ่งก็กลายเป็นขยะ เลยทำให้ต้องมาคิดอย่างเยอะเลยว่าเอาไงดี เพราะธุรกิจเป็นแบบนี้ เรามีโรงงาน เครื่องจักร พนักงาน อย่างนี้ต้องปิดกิจการแล้วไปทำอย่างอื่นหรือ...

\'ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์\' \'Qualy\' ดีไซน์เล่าเรื่องจาก \'พลาสติกรีไซเคิล\'    คิวบิกผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล

เราก็มองหาไอเดียจะทรานส์ฟอร์มตัวเอง ทำยังไงจะ เปลี่ยนจากคนที่สร้างปัญหา เป็นคนแก้ไขปัญหา เรามองหาหลายอย่างนะครับ มีคำว่า eco design คำว่า recycled หรือ circular economy ที่บอกว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวพลาสติก อยู่ที่วิธีใช้ต่างหาก พลาสติกมันไม่ได้ลงทะเลไปเอง มันเกิดจากการที่เราไม่สนใจ แต่จะให้มันย่อยสลายเองไม่ได้ เรารู้ว่าส่วนหลัก ๆ คือมาจากการบริโภค มาจากการใช้ของที่ขาดความรับผิดชอบ เน้นความสะดวกสบาย ไม่ได้เน้นว่าหลังสะดวกสบายทำอะไร เพราะถ้าทำก็ไม่สะดวกแล้วต้องไปล้าง เลยเป็นแนวคิดว่า นี่คือ เศรษฐกิจหมุนเวียน ที่เราต้องทำ”

\'ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์\' \'Qualy\' ดีไซน์เล่าเรื่องจาก \'พลาสติกรีไซเคิล\'      หินเทียม

พลาสติกรีไซเคิลได้กี่รอบ

“อาจได้สัก 8-9 ครั้ง จะเสื่อมลงทุกครั้งที่ทำ แต่อายุใช้งานลองก์ไทม์ เราใช้ 5-6 ปี เปลี่ยนครั้งที่สองอาจเป็น 12 ปี ขึ้นอยู่กับว่าเราออกแบบเป็นอะไร ถ้าเป็นขวดน้ำไม่แน่ อาจเจอขวดเดิม เรียกว่า แมคคานิเคิล รีไซเคิล คือการเอาไปบดแล้วหลอมใหม่ แบบกายภาพ ถ้าเป็น เคมีคัล รีไซเคิล คือการไปแยกองค์ประกอบ พลาสติกจะกลับไปเป็นน้ำมัน แล้วน้ำมันถูกสกัดมาเป็นพลาสติกใหม่

พอเราใช้ วัสดุรีไซเคิล และ ทำให้สิ่งที่เราออกแบบให้คุ้มค่ากับทรัพยากรที่เราใช้มากที่สุด ให้อยู่ในขั้นของการบริโภคอย่างยาวนาน ไปจนถึงเรื่องที่ว่ามันเสื่อมสภาพ สามารถอัปเกรด เปลี่ยนชิ้นส่วนได้มั้ย หรือมันพังไป สามารถไปสู่การรีไซเคิลได้ จนกระทั่งว่าเราสามารถรับพลาสติกของเราเองกลับมารีไซเคิลได้ หรือแม้แต่การรับพลาสติกของคนอื่นมารีไซเคิลด้วย เพื่อให้ระบบของการบริโภคเป็นแบบหมุนเวียน เรียกว่า regenerative เหมือนฟื้นฟูด้วย

\'ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์\' \'Qualy\' ดีไซน์เล่าเรื่องจาก \'พลาสติกรีไซเคิล\'      ผู้ก่อตั้ง Qualy

เช่นธรรมชาติต้องการเวลาในการฟื้นตัว เขาเยียวยาตัวเองได้ ถ้ามนุษย์หายไปสักร้อยปี เขาก็กลับมา แต่ตอนนี้มนุษย์ใช้ตลอดเวลา ก็เกิดไม่ทันใช้ การที่เรามาหมุนเวียนสิ่งที่ทำไปแล้วก็จะช่วยให้เราไม่รบกวนธรรมชาติ และเราใช้ของนี้หมุนเวียนอย่างคุ้มค่า เป็นแนวคิดในปัจจุบันแล้วว่าเราต้องใช้ทรัพยากรด้วยวิธีนี้”

ใช้เวลาศึกษานานมั้ย เมื่อเปลี่ยนวัตถุดิบ

“ทุกวันนี้เรายังศึกษาอยู่ ตอนแรกใช้เวลา ดูยาก อุปสรรคเยอะแยะ อย่างแรกเลยเวลาจะทำงานซอสซิ่งเอาจากไหน ตอนนั้นมีแค่ร้านขายของเก่า ซาเล้ง มีวงศ์พาณิชย์ จะไปอย่างนั้นหรือเปล่า ไม่มีโรงงานที่เราจะไปซื้อพลาสติกได้

\'ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์\' \'Qualy\' ดีไซน์เล่าเรื่องจาก \'พลาสติกรีไซเคิล\' ถึงตอนนี้ยังยากเลย ตอนนั้นเริ่มจากแหล่งที่มีพลาสติกให้เราระดับหนึ่ง เมื่อก่อนของ รีไซเคิล จะเป็นวัสดุเสียจากกระบวนการผลิตภายในโรงงานและวนเวียนขายต่อ ๆ กัน จากโรงงานนี้ไปโรงงานอื่น ซึ่งจะวนไปสู่ธุรกิจที่ทำของถูก ที่ไม่กี่บาท หรือพลาสติกที่เป็นกระถางต้นไม้ดำ ๆ บางครั้งพลาสติกที่มีกลิ่น อาจเกิดจากการรีไซเคิลหลายรอบ เมื่อก่อนธุรกิจรีไซเคิลจะเป็นสไตล์นั้น

เมื่อเราอยากปรับเปลี่ยนแต่ไม่อยากทำแล้วดูเกรดต่ำ เริ่มแรกไปร่วมกับอิชิตันก่อน จากคำแนะนำของอาจารย์ท่านหนึ่ง เราเริ่มเอาขวดที่เขาผลิตเสีย เอาขยะนี้มาผลิต

\'ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์\' \'Qualy\' ดีไซน์เล่าเรื่องจาก \'พลาสติกรีไซเคิล\'     ที่เปิดขวดมีแมกเนตติดตู้เย็น

พอโปรเจคต์แรกออกไปก็มีโครงการอื่น ๆ ติดต่อเข้ามา เช่น โครงการวน ทำเรื่องเก็บถุงพลาสติกใช้แล้ว พวกพลาสติกห่อกันกระแทกต่าง ๆ ซึ่งไม่อยู่ในการขายเป็นระบบ ไม่มีใครรับซื้อของพวกนี้เพราะมีหลากสี น้ำหนักเบา รีไซเคิลมาก็เอากลับมาเข้าระบบไม่ได้ง่าย ไม่เหมือนพวกขวดเพท ที่ยังกลายไปเป็นเส้นใย กลายเป็นผ้าได้

จาก โครงการวน มูลนิธิเจเอฟ ที่ทำเรื่อง แหอวน ก็มาติดต่อ เขาคิดว่าเรามีใจจะทำเรื่องนี้ เลยทดลองทำ เอามาทดสอบกับชิ้นงานที่เรามีว่า ถ้าเอาเม็ดพวกนี้มาฉีดดูจะขึ้นรูปได้มั้ย เพราะไม่ได้อยู่ในสภาพสมบูรณ์แบบเม็ดพลาสติกใหม่ จะมีอุปสรรคหลายอย่าง ทางเลือกของการผลิตไม่ได้ง่าย เรื่องการควบคุมให้เป็นควอลิตี้ที่เราอยากได้ก็ไม่ได้ง่าย การแปรรูปให้พร้อมที่จะใส่ในเครื่องจักรก็ไม่ได้ง่าย

เพราะเวลาเราคุยกับแหอวน คือซื้อมาเป็นแหเลยนะไม่ได้เป็นเม็ดพลาสติก เดี๋ยวเราไปโปรเซสเองให้เข้าไปในเครื่องฉีดพลาสติกได้”

\'ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์\' \'Qualy\' ดีไซน์เล่าเรื่องจาก \'พลาสติกรีไซเคิล\'     แหอวนที่ชาวประมงไม่ใช้แล้ว ผลิตเป็นจานรองแก้วและอุปกรณ์เครื่องเขียน

จึงเป็นที่มาของแหอวนทำจานรองแก้วรูปเต่าทะเล

“แหอวนส่วนใหญ่มาจากชุมชนประมง ภาคตะวันออกกับใต้ มูลนิธิเข้าไปรวบรวมจากชุมชน ติดต่อให้เราซื้อขายกับชุมชน คือถ้าเราทำเองคงยากมากในการที่เราจะเข้าไปคุยในแต่ละชุมชน มูลนิธิเขาทำงานกับเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว รณรงค์ไม่ให้เป็นขยะในทะเล เลยคิดโครงการว่าถ้ามีใครซื้อจะดีมากเลย เพราะของพวกนี้มันขาดเสียทุกวัน เสียแล้วยังไงต่อ ถ้าเป็นรายได้ได้เขาก็จะไม่ทิ้ง จะมีโอกาสเก็บกลับมามากขึ้น หรือพบเห็นสิ่งที่ทิ้งไว้ก็เก็บมาเป็นรายได้ได้ด้วย เขามาติดต่อกับเรา เราต้องลองดูก่อน พอลองพบว่าใช้ได้ เลยมีการทำงานต่อเนื่อง”

\'ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์\' \'Qualy\' ดีไซน์เล่าเรื่องจาก \'พลาสติกรีไซเคิล\'     จุกปิดฝาและใช้เป็นที่เปิดขวดได้ด้วย

จากแหอวนก็ไปต่ออีกหลาย ๆ วัสดุ

“มีนักวิจัย หน่วยงานต่าง ๆ ที่เขารวบรวม โดยภาพรวมเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า ขยะกำพร้า เพราะไม่มีใครเอา ไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ แต่ถ้าดูให้ดีมันยังสามารถที่จะเป็นทรัพยากรได้ ถ้าเรารู้วิธีที่จะใช้ หรือเอาไปใช้แบบสร้างสรรค์ แต่โดยมากเราจะทำงานกันแบบแพสซีฟ เชิงรับ หมายถึงว่ามีความต้องการมาก่อน แล้วจึงไปหาซอสซิ่ง เช่น ลูกค้าบอกเราว่าอยากได้อะไร เราต้องไปหาของตามนั้น”

\'ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์\' \'Qualy\' ดีไซน์เล่าเรื่องจาก \'พลาสติกรีไซเคิล\'      ผลิตจากวัสดุ ABS (ภาพ : Qualy)

ลูกค้ามีความต้องการสินค้าอัพไซเคิลแค่ไหน

“ลูกค้าไม่ได้บอกว่าต้องการสินค้าอัพไซเคิล ถ้าเราทำโจทย์ให้ลูกค้า เราจะไม่มีวันได้ทำเรื่องพวกนี้เลย สมมุติทำจานรองแก้วรูปเต่า เขาจะไม่มีโจทย์ว่าทำจากแหอวนได้มั้ย ไม่มีเลย สิ่งเหล่านี้เราจะต้องแอคทีฟ ถ้าเรามีแหอยู่เยอะนั่นคือโจทย์ของเรา เอาไปทำอะไรดี มันไม่ได้เป็นการรอให้เขาบอกโจทย์แล้วเราค่อยทำ

ลองนึกถึงภาพดูว่า ตอนเราซื้อของรีไซเคิลเราไม่ได้ไปสั่งทำ เราซื้อเพราะเขามีขาย ลูกค้าไม่ได้ให้โจทย์ว่าต้องทำจากพลาสติกรีไซเคิล ไม่เคยมี ไปซื้อของก็ยังไม่มีแผนกรีไซเคิล เพราะมันไม่ใช่โจทย์ของใครเลย เพราะถ้าเป็นโจทย์จริงมันก็ต้องมีแล้ว

เช่นนี่คือร้านเฟอร์นิเจอร์รีไซเคิล ตอนนี้มีมั้ยหมวดสินค้ายั่งยืน เข้าไปในชอปปี้ ลาซาด้าก็ไม่มี”

\'ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์\' \'Qualy\' ดีไซน์เล่าเรื่องจาก \'พลาสติกรีไซเคิล\' ตอนนี้ควรมีมั้ย แผนกสินค้าจากวัสดุรีไซเคิล

“ควรมี ตอนนี้ก็เริ่มมีแล้ว ลองนึกภาพเมื่อ 10 ปีก่อน หลายคนบอกว่าจะเอาขยะมาไว้ในบ้านทำไม ทำไมฉันต้องใช้อะไรที่ทำจากขยะด้วย คือมันประหลาดที่เอาขยะมาใช้ เหมือนสมัยก่อนอาจหัวเราะคนสิงคโปร์ว่า น้ำใช้แล้วมาวน มารีไซเคิล กรองแล้วมาดื่มใหม่ ตลก...

แต่ตอนนี้ไม่ตลก ต้องทำแล้ว ต่อไปยิ่งเข้มขึ้นนะ เป็นอะไรที่เราต้องทำเชิงรุก คิดแบบเชิงรุก คือทำขึ้นมาก่อน แน่นอนมันมีความเสี่ยงอยู่แล้วว่า ถ้าคนไม่สนใจ หรือคนมองเนกาทีฟ จะทำยังไง ความคิดเราคือแบบนี้ คนจะตอบรับยังไง แล้วเราก็ปรับกันไปตามฟีดแบ็ค

\'ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์\' \'Qualy\' ดีไซน์เล่าเรื่องจาก \'พลาสติกรีไซเคิล\'      แอปเปิ้ลใช้เก็บของ (ภาพ : Qualy)

แต่ เราต้องคิดด้วยว่า เรามีขยะอยู่เยอะแยะ เราจะเปลี่ยนอะไรให้ใคร จะมีโจทย์หลายระดับ ที่แน่ ๆ คือต้องคิดเองตั้งแต่ต้น หาข้อมูล อย่างคนอื่นเขาไม่มีบังคับว่าต้องใช้ขยะกองนี้ให้หมด เขาจะใช้อะไรก็ได้”

เมื่อผู้บริโภครู้ว่าสินค้าทำจากพลาสติกรีไซเคิลทำให้ขายดีขึ้นมั้ย

“อย่างแรก สินค้าที่คนยอมใช้จะต้องตอบโจทย์เดิมที่เขาต้องการก่อน ส่วนเรื่องการ อัพไซเคิล รีไซเคิล ยัง..คนจะนึกถึงตัวเองก่อน นึกถึงคุณค่าที่ฉันจ่ายเงินไป เหนือไปกว่านั้นคือได้คอนทริบิวต์อะไรบางอย่างกลับสู่สังคมหรือกลับสู่โลกด้วย แต่ถ้าไปกับสังคม กับสิ่งแวดล้อม แต่ตัวเขาไม่ได้อะไร เขาจะเอาไปทำไม ไม่อยากจะเสียเงินซื้อ อย่างนั้นคือการทำบุญไม่ใช่ซื้อของ

เราทำของขาย สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการจะต้องมี เขาอยากได้ของสวย ฟังก์ชั่นดี คุ้มค่ากับที่จ่าย เหล่านี้ต้องได้ก่อน สิ่งที่เราทำไปก็เป็นคุณค่าที่เสริมเข้าไป

\'ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์\' \'Qualy\' ดีไซน์เล่าเรื่องจาก \'พลาสติกรีไซเคิล\'     เครื่องเขียนผลิตจากวัดสุ ABS (ภาพ : Qualy)

เรื่องสิ่งแวดล้อม กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับชุมชน เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นในชิ้นงาน บางครั้งเขาอาจตัดสินใจซื้อจากรูปทรง หรือฟังก์ชั่นที่เขาต้องการจากการเลือกแบบ แล้วค่อยมารู้ว่าทำจากวัสดุแบบนี้ ช่วยชุมชนด้วย เป็นเรื่องที่เขาต้องไปอ่านเพิ่ม หรือเห็นจากการนำเสนอ

บางครั้งก็เป็นหน้าที่ของเราที่ทำให้เข้าถึงได้ แล้วการที่ของอย่างหนึ่งมีมิติอื่น ๆ ให้เขาตัดสินใจด้วยก็น่าจะดี เขาอาจไม่จำเป็นต้องรู้ลึกเรื่องของวัสดุ หรือรู้เรื่องการกระจายรายได้ แต่รู้ว่ามีอิชชู่ในสินค้าที่เขาจ่ายเงินไป กับอีกแบรนด์ที่อาจสวยเหมือนกันแต่ไม่มีเรื่องนี้ ตรงนั้นอาจเป็นจุดตัดสินที่ทำให้เขาซื้อ”

\'ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์\' \'Qualy\' ดีไซน์เล่าเรื่องจาก \'พลาสติกรีไซเคิล\'     circular design ตอบโจทย์ฟังก์ชั่นใช้งาน (ภาพ : Qualy)

Qualy ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า

“ผมคิดว่าแบรนด์ของเราจะมีส่วนร่วมในเป้าหมายความยั่งยืนมากขึ้น และอย่างเต็มรูปแบบ ตอนนี้เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร แล้วค่อย ๆ แตะประเด็นสังคมบ้างแล้ว จะมีความร่วมมือไปอีกหลายวงการ คนจะมองเราในอีกรูปแบบหนึ่ง

ทุกวันนี้อาจมองว่าเราเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ มีคาแรกเตอร์บางอย่าง และมองว่าเราขายงานพลาสติกที่เป็นรีไซเคิล

\'ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์\' \'Qualy\' ดีไซน์เล่าเรื่องจาก \'พลาสติกรีไซเคิล\'     ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์

ตอนนี้จะเห็นของใหม่ ๆ ที่เราทำ เช่นไปร่วมกับโรงพยาบาล ร่วมกับบอร์ดเกม มีเกมแยกขยะ ไปทำหุ่นที่ช่วยสอนการช่วยชีวิตคน สอนปั๊มหัวใจ พอเรื่องที่เราทำฉีกออกไป ภาพจำจะไม่ใช่พลาสติกแล้ว เพราะสิ่งสำคัญของแบรนด์เราไม่ใช่ตัววัตถุดิบ แต่เป็นเรื่องของความคิดมากกว่า

ในอนาคต ผมอยากให้คนรู้สึกว่านี่คือ แบรนด์ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความยั่งยืนอยู่ในตัว พร้อมจะร่วมมือกับคนอื่น คือ คนจะไม่ได้จำแล้วว่าเราทำเรื่องพลาสติก แต่จำว่าเราทำเรื่องสร้างสรรค์ ยั่งยืน