รวม 400 ร้านค้า ‘คราฟต์ไทย’ สุดชิค ในงาน ‘Crafts Bangkok 2024’
รวม 400 ร้านค้า ใน ‘Crafts Bangkok 2024’ แสดงผลงาน ‘คราฟต์ไทย’ กว่าหมื่นชิ้น ‘อันซีนงานคราฟต์’ ภูมิปัญญาที่ซ่อนอยู่ในวิถีชีวิต ถูกดีไซน์อย่างมีเอกลักษณ์อวดความเป็นไทย ออกมาเป็นผลงานที่ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน สุดชิค
Crafts Bangkok 2024 จะได้เห็นผลงานที่เรียกว่า อันซีนคราฟต์ งานหัตถศิลป์ ที่มีเสน่ห์เป็นภูมิปัญญาและวิถีชีวิต ผ่านการออกแบบดีไซน์ เดิมชาวบ้านคุ้นชินกับงานเหล่านี้เพราะเห็นมาตั้งแต่เกิด ปัจจุบันกลายเป็นงานที่มีเอกลักษณ์สวยอย่างไทยที่มีคุณค่า ในเวทีเสวนาขนาดย่อมในงานแถลงข่าว เมื่อวันอังคารที่ 13 ส.ค.67 ที่ Crafts Studio ชั้น 5 Central world
พรรณวิลาส แพพ่วง รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย หรือ SACIT กล่าวว่า ‘โอกาสคราฟไทย’ จะก้าวไกลระดับโลก ต้องมีการพัฒนาการ ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย และต้องไม่ลืมว่า อดีตคือรากของปัจจุบัน และปัจจุบันคือรากของอนาคต
เกี่ยวกับ งานคราฟต์ สินค้าภูมิปัญญาไทย ‘พรรวิลาส’ มองว่า “เราอยู่มาทุกวันนี้ได้ ก็มาจากองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ที่พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ทำมาตั้งแต่อดีต ถ้าเรารู้ว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นต้นทุน ที่จะสร้างอาชีพอะไรซักอย่าง ก็เริ่มจากตรงนั้นได้ จะทำผลิตภัณฑ์อะไรต่างๆ ต้องมี Storytelling มีเรื่องเล่าที่มาที่ไป และสามารถใส่จินตนาการ ใส่สิ่งที่จะเชิญชวนให้คนมาซื้อสินค้าของเรา”
รัฐ เปลี่ยนสุข สถาปนิก (จบสถาปัตย์ ไปเรียนต่อด้านงานไม้ในฝรั่งเศส) และนักออกแบบเจ้าของรางวัล Designer of the Year 2019 สาขา Product Design คิดว่า จะทำอย่างไร ให้ผลงานที่ออกมานั้น ยิ่งใช้ยิ่งมีมูลค่า หลังจากเคยตั้งคำถามว่าเคยออกแบบ โต๊ะไม้สักสวยหรูมูลค่า 8 แสนบาท พอคนเลิกใช้ ก็กลายเป็นสิ่งของที่แทบจะไม่มีมูลค่า หลังจากเขาเยี่ยมชมมิวเซียม จึงคิดได้ว่า เรื่องราวของวัฒนธรรมบวกกับงานหัตถกรรมที่กำลังจะสูญหาย คือผลงานที่ตอบโจทย์
รัฐ เปลี่ยนสุข,พรรณวิลาส แพพ่วง, ภิรดา เสนีวงศ์ ณ อยุธยา และสุรชัย แสงสุวรรณ
ภิรดา เสนีวงศ์ ณ อยุธยา นักออกแบบจากแบรนด์ไตรโหมด เล่าว่า เมื่อทำงานออกแบบอยู่ในประเทศก็มักจะมองสิ่งแปลกใหม่จากเมืองนอก พอเธอได้ไปทำงานด้านออกแบบที่เมืองนอก ก็มองย้อนกลับมาในความเป็นไทยเพื่อหาความแตกต่างที่น่าสนใจ ใช้วัตถุดิบ และเทคนิค แบบไทยๆ ต่อมามีโอกาสศึกษางานคราฟต์ เชิงวัฒนธรรมของไทยมากขึ้น จึงปรารถนาให้งานคราฟต์เหล่านั้นมีชีวิตมากขึ้น และนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้จริงๆ
ในงาน Crafts Bangkok 2024 เธอเตรียมผลงาน ที่ทำร่วมกับโครงการกำลังใจ นำคอลเลคชั่นล่าสุด 2024 ไปนำเสนอ
“เป็นงานสม็อค ที่มีโอกาสไปพัฒนางานหัตถกรรมกับผู้ต้องขังเรือนจำหญิงกลางกรุงเทพฯ เป็นการต่อยอดทักษะที่มีอยู่เดิม สู่สินค้าไลฟ์สไตล์บริบถใหม่ๆออกมาสู่ตลาด เช่นการเลือกโทนสี การจับเลเยอร์ผ้าหลายๆชั้นเข้าด้วยกัน เป็นเทคนิคงานสม็อคที่อาจยังไม่มีใครทำ ออกแบบกระเป๋าให้เหมาะกับคนรุ่นใหม่
กระเป๋าสม็อคสีสันสวยงาม
งานหัตถกรรมร่วมสมัยเราจำเป็นต้องมองในเรื่องของเทรนด์ด้วย ดูความนิยมว่าปัจจุบันคนนิยมใช้กระเป๋าทรงไหน ถ้าเรานำเสนอภาพลักษณ์ที่น่าสนใจ คนก็จะเข้ามาหยิบจับ เข้ามาเรียนรู้ว่าสินค้านี้มาจากไหน ทำจากอะไร ก็จะมีการต่อยอดต่อไปได้”
สุรชัย แสงสุวรรณ ศิลปิน และช่างภาพชาวไทย
สุรชัย แสงสุวรรณ ศิลปิน และช่างภาพชาวไทย ที่ทำงานให้กับนิตยสารแฟชั่นระดับโลกอย่างลอฟฟิเชียล ประเทศฝรั่งเศส และเขาได้นำความเชี่ยวชาญด้านแฟชั่นมาส่งเสริม งานศิลปหัตถกรรมให้เป็น ซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ของประเทศไทย โดยได้ออกแบบชุดจากลวดลายเบญจรงค์ ถูกนำไปเข้าฉากในมิวสิควีดีโอของ ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BlackPink ศิลปินระดับโลก ปุย-สุรชัย แสงสุวรรณ กล่าวว่า
ชุดที่ลิซ่า-ลลิษา ใส่ในมิวสิควีดีโอ Rockstar
“ผมชอบในงานศิลปะ ความสามารถของผมก็คือถ่ายภาพแฟชั่น ให้กับนิตยสารก็เหมือนเป็นนักข่าวที่นำเสนอเทรนด์โลก นำเสนอความงามในปัจจุบัน ซึ่งทุกวันนี้เรากำลังมองหาอะไรที่แปลกใหม่ และแตกต่างอยู่เสมอ ผมว่างานหัตถกรรมไทยสร้างความแตกต่างเกิดความงามในระดับโลกได้
ชาวต่างประเทศเข้ามาในเมืองไทย และมาหา Inspiration ในเมืองไทยกันเยอะ ตัวศิลปินไทยเองก็ต้องรู้ว่าจะมีวิธีการปรับ และประยุกต์ใช้ยังไงได้บ้าง ทำยังไงให้ถูกใจทั้งคนไทยและคนต่างประเทศ ประเทศไทยเรามี Material อยู่แล้ว อยู่ที่ว่าจะนำไปใช้ยังไง ซึ่งผมถือว่าเป็นความท้าทาย”
‘ปุย-สุรชัย’ มองว่า นวตกรรม ไม่ใช่ เทคโนโลยี อย่างเดียว การเปลี่ยนวิธีคิด ยกตัวอย่างงานหัตถกรรมบางอย่าง ใช้ในวัดเท่านั้น นำออกมาประยุกต์ เป็นงานดีไซน์ใช้ใน งานคราฟต์ ได้ ถือว่าเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสังคมยุคใหม่ เปลี่ยนวิธีการเล่าเรื่องใหม่ เปลี่ยนวิธีใช้ใหม่ นี่ก็คือนวัตกรรมแล้ว
ผลงานฮือฮาล่าสุดของเขาคือได้ออกแบบชุดที่ ‘ลิซ่า BlackPink’ ใส่ในมิวสิควีดีโอเพลง ROCKSTAR ถ่ายทำที่เยาวราช ประเทศไทย เมื่อเขาได้รับการติดต่อมา ก็อยากนำเสนอความเป็นไทยที่แปลกเข้าไปอีกขั้น โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากวัดอรุณ กับวัดโพธิ์ ที่เขาชื่นชอบ ดึงเอายักษ์วัดโพธิ์ และเทคนิคการทำเครื่องลายคราม จากวัดอรุณมาแปะลงบนชุด
ใช้เวลาในการทำชุดแค่ 2 อาทิตย์ ทว่าคิดนานมากมีการปรับเปลี่ยนหาวิธีต่างๆ ในวันถ่ายทำเขาใช้เวลาแต่งหน้า ลิซ่านานถึง 5 ชั่วโมง ใช้เวลาถ่ายทำตั้งแต่ 18.00-06.00 น. เขาชื่นชมในพลังการทำงานของศิลปินระดับโลกว่า 6 โมงเช้าลิซ่ายังเต้นแรงไม่ตก (ฉากบันไดเลื่อน)
ในงาน Crafts Bangkok 2024 นอกจากเราจะได้เห็นชุดที่ ‘ลิซ่า-ลลิษา’ สวมใส่ในมิวสิควีดีโอแล้วยังมี ‘ภาพถ่ายแฟชั่น’ เล่าเรื่องราวต่างๆ เป็นการร่วมงานกับเด็กดาวน์ซินโดรม เนื่องจากเขาเปิดค่ายศิลปะกับกลุ่มเด็กๆ ดังกล่าว
พรรณวิลาส แพพ่วง
รัฐ เปลี่ยนสุข สถาปนิก และนักออกแบบ
ภิรดา เสนีวงศ์ ณ อยุธยา นักออกแบบจากแบรนด์ไตรโหมด
หมวย-ดร.อริสรา กำธรเจริญ
สิ่งที่อยากจะฝากถึงคนทำงานคราฟต์
แนวโน้มคนในปัจจุบันจะเลือกซื้อสินค้าที่มีความหมาย มีเรื่องราวที่มาที่ไป หรือ Telling Story
และปัจจุบันนี้ เทคโนโลยี กับ งานศิลปะ กลายเป็นศาสตร์เดียวกัน งานหัตถกรรมที่กำลังเกิดขึ้นมา เป็นวิถีชีวิตที่สะท้อนเรื่องราว รัฐ เปลี่ยนสุข มองว่าปัจจุบันคนไม่ได้ซื้อของเพราะราคา ทว่าหลายคนหาซื้อของที่มีความหมาย มีคุณค่า
ยิ่งเทคโนโลยีก้าวหน้าเร็วแค่ไหน คนก็ยิ่งมองหาตัวตนมากขึ้น งานหัตถกรรมนับจากนี้ต้องมีความหมาย อย่างเช่น เป็นงานหัตถกรรมที่รักษาสิ่งแวดล้อมทางน้ำ ตัดหญ้ากก ขึ้นมา ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม ปลายังคงอยู่ได้อย่างอุดมบูรณ์ ก็จะทำให้คนตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น
‘ปุย-สุรชัย ’ มองว่า การสร้างสรรค์ งานหัตถกรรม ต้องคิดถึงผู้คนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ว่าพวกเขาตอนนี้อยู่ที่ไหน มองโครงสร้างของสังคมให้ออก แล้วกำหนดทิศทาง เพื่อสร้างความหมาย ตัวตน เป็นสิ่งที่ท้าทาย เทคโนโลยีช่วยให้การรวมกลุ่มทำได้ง่ายกว่าในอดีต จุดเด่น ที่แตกต่าง
ภิรดา เสนีวงศ์ ณ อยุธยา มองว่าการที่งานหัตถกรรมจะขายได้ ต้องประทับใจคนก่อน อาทิ การนำเสนอที่มาตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทำให้ลูกค้าเติบโตไปพร้อมๆกับแบรนด์ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ การอธิบายให้รู้ว่ากว่าจะมีผลงานชิ้นนี้ออกมาได้ต้องทำอะไรบ้าง เป็นการสร้างมูลค่าให้กับสินค้า เพราะเกิดความเข้าใจ ว่าทำไมงานคราฟต์จึงราคาแพง กว่างานในอุตสาหกรรมทั่วไป ดังนั้นการเล่าเรื่องจึงมีความสำคัญ
งานหัตถกรรมไม่จำเป็นต้องทำมือ 100 เปอร์เซ็นต์ก็เป็นได้ สสท . เป็นพื้นที่ให้คนเข้ามาเรียนรู้ และต่อยอดไปได้ จะอยู่รอดได้ ไม่ใช่อยู่แค่ไหนประเทศ เสน่ห์ที่ลงไปในโปรดักเช่นเทคนิคต่างๆ วัตถุดิบที่ไม่เหลือในโลกนี้อีกเลย (รักษ์สิ่งแวดล้อม) ของที่แพงกว่า มีคุณค่าท SACIT รวมสุดยอดงานคราฟต์นับหมื่นชิ้น ในงาน "Crafts Bangkok 2024"
งาน ‘Crafts Bangkok 2024’ เอาใจคนรักงานคราฟต์ มีผลงานที่ผู้ประกอบการนำมาจำหน่ายสินค้าแฮนด์เมดนับหมื่นรายการ ผู้ประกอบการณ์กว่า 400 คูหามารวมไว้ที่เดียว
โดยปีนี้จะจัดภายใต้แนวคิด Sustainable Arts and Crafts เน้นการเชื่อมโยงธรรมชาติและนวัตกรรม เพื่อสร้างความยั่งยืนในวงการศิลปะและงานหัตถกรรม โดยแสดงศิลปะและงานฝีมือที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย
ผลงานชื่อ 'บักเฟียง' ของรัฐ เปลี่ยนสุข
เก้าอี้สิทสาท
พร้อมทั้งการผสมผสานกับศิลปะ และงานฝีมือจากทั่วโลก เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในวงการ หัตถกรรม ภายใต้แนวคิด สัมผัสศิลปะ จากท้องถิ่นสู่โลก ต่อยอดอัตลักษณ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเพิ่มมูลค่าท้องถิ่นด้วยความคิดสร้างสรรค์
จนเกิดเป็นผลงาน Masterpiece เพื่อยกระดับภูมิปัญญาของท้องถิ่นไทยสู่เวทีโลก ในงานยังมีศิลปินชื่อดัง มามอบความบันเทิง อาทิ พั้นซ์ วรกาญจน์, วง Rooftop, พีท พล และ ไอซ์ ศรัณยู
'ไอ้จุด' ผลงาน วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์
ชุดโคมไฟ ร้าน Paper Art Thai
หมวกเพ้นท์ จากร้าน Nine Shop
กระเป๋าสม็อค งานคราฟต์จากเรือนจำฯ
ผู้สนใจสามารถเข้าชมงาน ‘Crafts Bangkok 2024’ และร่วม ชม – ชอป - ชิล ในงานที่ ‘รวม 400 ร้านค้า’ ได้ระหว่างวันที่ 24 - 28 สิงหาคม นี้ ณ ฮอลล์ 98 - 99
ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น. หรือดูรายละเอียดได้ที่
เว็บไซต์ www.sacit.or.th / Facebook : sacitofficial / IG : sacit.official