‘สินค้าจีนทะลัก’ รัฐบาลต้องปกป้องช่วยเหลือ ก่อนไทยจะล่มจม

‘สินค้าจีนทะลัก’ รัฐบาลต้องปกป้องช่วยเหลือ ก่อนไทยจะล่มจม

การพูดคุยหาแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไทยที่กำลังวิกฤต จาก 'สินค้าค้าจีน' ทุนจีน ทะลักเข้าไทยโดยไม่มีการต้านทานจากรัฐบาล ส่งผลให้ประชาชนหลากหลายอาชีพได้รับผลกระทบเดือดร้อนกันถ้วนหน้า

"ในเมื่อคนเราต้านทานความแก่ชราไม่ได้ เราก็ต้านทานความเปลี่ยนแปลงของโลกนี้ไม่ได้ เราทำได้เพียงเรียนรู้ ปรับตัว อัพสกิล แล้วอยู่กับโลกนี้ต่อไปให้ได้"

ข้อความนี้คือใจความหลัก หลังจากได้รับฟังเสวนา Work Life Flow : เมื่องานคือชีวิต วันที่ 5 ตุลาคม 2567 ในงาน เมื่อบ้านกลายเป็นสถานที่ทำงาน (วันที่ 21 กันยายน-27 ตุลาคม 2567)

 

จัดโดย มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ (HomeNet Thailand) ร่วมกับ สมาคมเครือข่ายแรงงานนอกระบบ (ประเทศไทย) ณ ห้อง Sand Box ชั้น 3 แมด มันมัน ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์

กิจกรรมเสวนา มีวิทยากร 4 ท่าน ได้แก่ กชพร กลักทองคำ, พรรณี รวมทรัพย์, รุ่งโรจน์ อาชาเทวัญ และ สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล

‘สินค้าจีนทะลัก’ รัฐบาลต้องปกป้องช่วยเหลือ ก่อนไทยจะล่มจม

Cr. Homenet Thailand

พูลทรัพย์ สวนเมือง ตุลาพันธุ์ ผู้ศึกษาเรื่องแรงงานนอกระบบ และ ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ กล่าวว่าวันที่ 20 ตุลาคม เป็น วันผู้ทำการผลิตที่บ้านสากล

"ในประเทศไทยมีผู้ทำการผลิตที่บ้านมากกว่า 2 ล้านคน 70% เป็นแรงงานหญิง เราทำงานที่บ้าน Work from home ก่อนที่จะมีโควิด แต่คนส่วนใหญ่มองไม่เห็น และไม่ได้รับสิทธิเหมือนคนงานทั่วไป 

‘สินค้าจีนทะลัก’ รัฐบาลต้องปกป้องช่วยเหลือ ก่อนไทยจะล่มจม

เราจัดงานนี้ขึ้นมาเพื่อ 1. ให้สังคมรู้ว่าเรายังมีตัวตน ทั้งผลิตเองขายเองและผู้ที่รับงานมาจากโรงงาน เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเศรษฐกิจของประเทศ 2. เรามาแลกเปลี่ยนว่าตอนนี้มีปัญหาอะไรบ้าง 3. วิกฤติตอนนี้มีสินค้าจีนเข้ามามากกว่าเดิม 2-3 เท่า เรามาส่งเสียงให้ฝ่ายนโยบายหาแนวทางแก้ไขปัญหา และทำให้ผู้ทำงานผลิตที่บ้านได้รับสิทธิ"

ระกาวิน ลีชนะวานิชพันธ์ ประธานมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ กล่าวว่า มูลนิธิฯเกิดขึ้นในปี 2540 เป็นช่วงวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง แรงงานที่รับงานมาทำที่บ้านและแรงงานนอกระบบ เริ่มจากกลุ่มหัตถกรรม แล้วขยายไปยังกลุ่มแรงงานนอกระบบอื่น ๆ ที่เขาไม่ได้รับสิทธิ

‘สินค้าจีนทะลัก’ รัฐบาลต้องปกป้องช่วยเหลือ ก่อนไทยจะล่มจม

"วันที่ 7 ตุลาคม เป็นวัน Decent work หรือ งานที่มีคุณค่า งานที่ตอบสนองความต้องการเกี่ยวกับชีวิตการทำงานได้ ในแง่โอกาสงาน รายได้ ความมั่นคง ปลอดภัยของตนและครอบครัว ได้พัฒนาตนเอง มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและมีส่วนร่วม ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมทางเพศ และเป็นส่วนหนึ่งของสังคม

กระทรวงแรงงานให้การสนับสนุนทั้งเรื่องกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านปี 2553 ประกันสังคมมาตรา 40 ซึ่งเป็นแค่ครึ่งทาง ยังมีอีกหลายอย่าง ในเรื่องของแหล่งทุน เราก็ยังไม่เข้าถึง

ยิ่งช่วงนี้เศรษฐกิจฝืดเคือง เราอยากให้ภาครัฐมีโควต้าให้เราได้ทำงานของภาครัฐบ้าง หรือว่ามีตลาดของภาครัฐนำสินค้าของเราไปขายบ้าง อยากให้ช่วยแรงงานไทย ซึ่งเท่ากับอุดหนุนสินค้าไทย"

‘สินค้าจีนทะลัก’ รัฐบาลต้องปกป้องช่วยเหลือ ก่อนไทยจะล่มจม

Cr. Homenet Thailand

  • สินค้าจีนทะลัก โอกาสและทางรอดของผู้ผลิตที่บ้านอยู่ตรงไหน

"เดิมเรารับงานจากโบ๊เบ๊ ประตูน้ำ กางเกงช้าง กางเกงขาสั้น เสื้อ กิฟท์ชอป แต่ตอนนี้ไม่มีมา เพราะว่ามีสินค้าผลิตสำเร็จรูปจากจีน ใช้วัตถุดิบประเทศจีน ใช้แรงงานประเทศจีน มาขายในประเทศไทย"

กชพร กลักทองคำ สมาคมเครือข่ายแรงงานนอกระบบ ประเทศไทย เล่าให้ฟัง และกล่าวต่อว่า

"คนที่เคยรับงานมาให้เราก็ผันตัวไปรับงานสำเร็จรูปมาขาย ทำให้เราไม่มีงาน ร้านค้าเล็ก ๆ ร้านวัตถุดิบ คนปลูกฝ้าย ทอผ้าเส้นด้าย ก็ขายของไม่ได้ เราแข่งขันกับเขาไม่ได้เพราะจีนพัฒนาสินค้า พัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ส่งขายออนไลน์ ที่มีถึง 6 แอพฯที่รับสั่งสินค้าจากประเทศจีน

‘สินค้าจีนทะลัก’ รัฐบาลต้องปกป้องช่วยเหลือ ก่อนไทยจะล่มจม

ราคา 19 บาทก็สั่งได้แล้ว ทำให้เราไม่มีงาน เขาไม่มาจ้างเราทำงาน ดุลการค้ามันไปอยู่ตรงไหน ทุกวันนี้คนสั่งออนไลน์ กลุ่มเรามี 40-50 คนแล้วมีคนรอบ ๆ อีก 200 คน เราต้องเสียภาษีซื้อ 7% ภาษีค่าจ้าง 3% ร้านค้าหาบเร่แผงลอยร้านเล็ก ๆ อยู่ไม่ได้ เทคโนโลยีมันไวมาก

เราขาดทักษะทางเทคโนโลยีและระบบการแข่งขันทางการตลาด เราไม่มีต้นทุนประชาสัมพันธ์ เราไม่รู้จักผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่การรับงานยังต้องผ่านระบบอุปถัมภ์อยู่

เราไม่ได้เสียแค่งาน สภาพแวดล้อมก็เสีย ของจากจีนที่สั่งมาถ้าใช้ไม่ได้ก็เป็นขยะ เรามีเงินน้อย ของดี ๆ แพง ๆ ไม่มีเงินซื้อ สินค้าจีนส่งผลกระทบวงกว้าง ตอนนี้คนรับงานตัวเล็ก ๆ 1-3 คนไม่มีงานเลย"

‘สินค้าจีนทะลัก’ รัฐบาลต้องปกป้องช่วยเหลือ ก่อนไทยจะล่มจม

Cr. Homenet Thailand

ไม่เพียงเท่านั้น กชพร บอกว่ายังมีปัญหาเรื่อง ภาษี ที่ไม่เป็นธรรมอีกด้วย

"เราต้องจดทะเบียนนิติบุคคล มีภาษี VAT เรารับงานขนาดย่อย 40-50 คน แต่มีรายได้เท่ากับคนพันล้าน สำนักงานบัญชีโทรมา ตอนนี้ของพี่เกิน 30 ล้านแล้วนะ เขาไม่ได้ดูกำไร เขาดูทั้งหมด ที่ขายไป 30-50 ล้าน มันเป็นต้นทุน 80% ที่เหลือ 20% เป็นประกันสังคม, ค่าเช่าบ้าน, ค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าขนส่ง

เขาถือว่าเป็น SME ขนาดเล็กต้องเสียรายได้ปีละ1แสนถึง1แสนห้า ถ้าเราไม่เก็บสต็อกสินค้าเราต้องเสียอีกปีละ 5000 บาท ให้สรรพากร ต้นทุนเราผลิต 75 บาท คนกลางไปเสนอ 140 เอาไปติดยี่ห้อของเขาขาย 600 เราลืมตาอ้าปากไม่ได้ เพราะเงื่อนไขสังคมโครงสร้างต่าง ๆ มันกดทับพวกเรา"

‘สินค้าจีนทะลัก’ รัฐบาลต้องปกป้องช่วยเหลือ ก่อนไทยจะล่มจม

  • แนวทางการส่งเสริมและคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านในสภาวะวิกฤติ

พรรณี รวมทรัพย์ กองคุ้มครองแรงงานนอกระบบ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ภาครัฐได้ออกกฎหมายและพ.ร.บ.ออกมาช่วยเหลือ ได้แก่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553

"มีการปฏิบัติมาแล้ว 14-15 ปี อาจไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เราได้เสนอกฎหมายที่มีการปรับปรุงในเดือนกุมภาฯปีนี้ ตอนนี้เรื่องอยู่ในเลขารัฐมนตรี คำนิยามเดิมกำหนดเป็นงานอุตสาหกรรม แต่ปัจจุบัน มีงานพาณิชยกรรม เกษตรกรรม หัตถกรรม และงานบริการอื่นที่รับงานไปทำที่บ้านด้วย

‘สินค้าจีนทะลัก’ รัฐบาลต้องปกป้องช่วยเหลือ ก่อนไทยจะล่มจม

กำลังอยู่ในช่วงรับฟัง เรามีคณะกรรมการคุ้มครอง มีปลัดกระทรวงเป็นประธาน มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มีกรรมการผู้แทนผู้จ้างงาน เพื่อขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ที่สะท้อนปัญหามา เรามีคณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมาย มีคณะขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมฯ มีพนักงานตรวจแรงงาน

ถ้าผู้ว่าจ้างทำไม่ชัดเจน มีการคืนหลักประกันของการทำงาน ซึ่งอายุขั้นต่ำของเด็กที่รับงานไปทำที่บ้าน 15 ปี งานอันตราย 18 ปี มีเรื่องกฎหมายลำดับรองออกมา 19 ฉบับ ล่าสุดเป็นเรื่องหลักเกณฑ์เรียกรับเงินในการรับงานไปทำที่บ้าน"

‘สินค้าจีนทะลัก’ รัฐบาลต้องปกป้องช่วยเหลือ ก่อนไทยจะล่มจม

  • ทางรอดของผู้ผลิตที่บ้าน

"นิยามของไมโคร SME คือ มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 1.8 ล้าน ภาครัฐชอบเรียกเราไปขึ้นทะเบียนเพื่อรู้ว่าเราอยู่ตรงไหน พอเราต้องการความช่วยเหลือ ก็บอกให้เราออกไปก่อน"

รุ่งโรจน์ อาชาเทวัญ รองประธานสมาพันธ์ SME ไทย พูดถึงสถานะในปัจจุบันให้ฟัง และกล่าวต่อว่า

"สสว.(สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) เป็นหน่วยงานที่ต้องช่วย SME มีโครงการเยอะ แต่ให้เราออกไปก่อน แล้วมาทำเรื่องเบิก แล้วถ้าไม่เข้าเกณฑ์ ใครรับผิดชอบ ไม่มี อันนี้ผมไม่เรียกว่าช่วยเหลือ เพราะช่วยเหลือต้องให้ก่อน ไม่ใช่รอได้

‘สินค้าจีนทะลัก’ รัฐบาลต้องปกป้องช่วยเหลือ ก่อนไทยจะล่มจม

สำหรับคนรับงานไปทำที่บ้านก็ต้องย้อนไปที่ภาพใหญ่ ทำไมงานเราถึงหายไป เพราะตลาดเราไม่ได้ถูกปกป้อง อย่าง กางเกงช้าง เกิดที่ไทย แต่ภาครัฐไม่ได้ปกป้อง คนส่วนใหญ่อยากได้ของถูกแล้วไม่สนใจว่ามันผลิตที่ไหน 

เราเลยคำว่าอุตสาหกรรม 4.0 ไปแล้ว คนรับงานไปทำที่บ้านคือยุค 2.0 เรากำลังตามเทรนด์ที่เขาผลิตได้มหาศาลในเวลาหนึ่งชั่วโมง แต่หนึ่งชั่วโมงของเราทำได้แค่ไหนก็แค่นั้น อายุเพิ่มขึ้น สุขภาพแย่ลง การผลิตลดลง เวลาเราซื้อของต้องได้เดี๋ยวนี้ การผลิตของก็เหมือนกันต้องได้เดี๋ยวนี้ เขาก็เอาโรบอทมาทำงานแทน

สิ่งที่เราต้องก้าวข้ามคือ เรารู้เรื่องออนไลน์แค่ไหน คนไทยเป็นนักชอป แต่คนจีนเป็นนักขาย เรื่องแรกที่รัฐต้องทำคือปกป้องตลาดให้เรา สินค้าที่เราผลิตแทบตายใช้เวลานานมาก มันเป็นงานศิลปะแฮนด์เมด ถ้าเอาไปขายในยุโรปจะแพงมาก

‘สินค้าจีนทะลัก’ รัฐบาลต้องปกป้องช่วยเหลือ ก่อนไทยจะล่มจม

อย่างชามตราไก่ของไทย 20-30 บาทกับของจีนราคาถูกกว่าแล้วได้หลายใบ ใครจะไม่ซื้อบ้าง ของเราเป็นศิลปะแต่ไม่ได้ยกตัวผู้ผลิตให้เป็นศิลปิน อยากให้ภาครัฐไปปกป้องงานช่างสิบหมู่ของบ้านเรา งานหัตถกรรมบ้านเรา ต้องช่วยกันปกป้องตลาด

ทุกวันนี้ จีนเห็นอะไรกลับไปแป๊บเดียวเขาผลิตได้เร็วกว่าเราอีกแล้วต้นทุนก็ถูกกว่า เราต้องปกป้องอย่าให้เขาเข้ามาได้ เพราะยังไงเราก็สู้เขาไม่ได้ ทุกวันนี้การตลาดต้องนำการผลิต ถ้าอยากขายแมสต้องทำเครื่องจักร ถ้าไม่อยากขายแมสต้องทำตลาดให้ได้ แล้วไม่ต้องผลิตเยอะ

อะไรที่เป็นสินค้าพื้นบ้านเราอยากให้ภาครัฐปกป้อง แล้วพวกเราต้องอัพสกิลตัวเองไปอยู่ในช่างสิบหมู่ให้ได้ เราต้องดูว่าตลาดต้องการอะไรแล้วผลิตสิ่งนั้น ไม่ใช่ทำมาเยอะแล้วค่อยมาหาตลาด ถ้าทำได้มันจะเป็นทางรอด"

‘สินค้าจีนทะลัก’ รัฐบาลต้องปกป้องช่วยเหลือ ก่อนไทยจะล่มจม

  • แนวทางการแก้ปัญหาและสร้างโอกาสอย่างเท่าเทียมให้ผู้ผลิตที่บ้าน

"ก่อนหน้าปี 40 เศรษฐกิจดีมาก ตั้งแต่ปี 51 เศรษฐกิจไทยโตช้า ขณะที่เวียดนามเพิ่ม 8 เท่า จีนเพิ่ม 13 เท่า ของไทยโตแค่ 2-3% ตอนนี้เราซวยซ้ำซวยซ้อนจากสินค้าออนไลน์ ออเดอร์ง่าย ค่าส่งถูก"

สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล ประธานคณะกรรมาธิการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร สส.พรรคประชาชน กล่าวถึงเศรษฐกิจไทยที่ย่ำแย่ และกล่าวต่อว่า

"ปีที่แล้วเราขาดดุลการค้าให้จีน 1.3 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7% เราแบ่งประเภทธุรกิจเป็น 46 กลุ่ม ได้รับผลกระทบไปแล้ว 25 กลุ่ม กำลังจะเพิ่มเป็น 30 กลุ่มในสิ้นปีนี้

‘สินค้าจีนทะลัก’ รัฐบาลต้องปกป้องช่วยเหลือ ก่อนไทยจะล่มจม

เรียกว่า 2 ใน 3 ของธุรกิจทุกประเภทในไทยกำลังได้รับผลกระทบจากสินค้าราคาต่ำจากต่างชาติ เช่น ประเทศจีน คนทำงานที่บ้านก็ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมออเดอร์หายไป

ช่วงสองปีที่ผ่านมา สินค้าจากต่างชาติเข้ามาวันละ 2-3 แสนชิ้น ยังไม่นับนอมินี แถวห้วยขวาง บางบอน เยาวราช ภูเก็ต เชียงใหม่ ร้านขายของสินค้าที่ระลึกก็เปลี่ยนเป็นคนต่างชาติบ้านเขาหมดแล้ว 

ใน จ.ลำพูน มีลำไย 5 เจ้า ไม่มีล้งไทยเลย ถ้าเขากดกิโลละบาทรายได้เราจะหายไป จากเดิมใช้รถขนส่งไทยก็เปลี่ยนมาเป็นรถเขาขนส่งเอง แล้วก็รับจ้างขนของกลับไปอีก ธุรกิจขนส่งวันนี้รถจากต่างชาติเข้ามาเต็มเลย แล้วก็ผูกขาดไปสู่อย่างอื่น 

‘สินค้าจีนทะลัก’ รัฐบาลต้องปกป้องช่วยเหลือ ก่อนไทยจะล่มจม

ถ้าเราชอปออนไลน์สินค้าต่ำกว่า 1,500 บาทไม่ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม เอาแค่เรื่องภาษีเรื่องเดียว สินค้าไทยก็แพ้แล้ว สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็ไม่ต้องมี มอก. ตั้งแต่มี สมอ. (สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) มา มี มอก.ที่ไปบังคับแค่ 144 มาตรฐาน ทั้งที่มีมากกว่านั้นมากมาย

คนดูเรื่องนี้คือ กระทรวงพาณิชย์ ที่จะบอกว่าต่างชาติทำธุรกิจอะไรได้บ้าง

เรื่องนอมินี เขาหาคนไทยมาถือหุ้น 51 แต่อำนาจบริหาร 49 อยู่ที่ต่างชาติ ปีที่แล้วจับได้ 2 ราย คัดจากหมื่นราย แล้วใน 2 บริษัทนี้ถือหุ้นอยู่ 267 บริษัท

‘สินค้าจีนทะลัก’ รัฐบาลต้องปกป้องช่วยเหลือ ก่อนไทยจะล่มจม

ถ้าบริษัทไหนผู้ถือหุ้นไทย 51 % ต่างชาติ 49 % แล้วกรรมการผู้มีอำนาจลงนามเป็นต่างชาติ นี่คือกลุ่มเสี่ยง ผมเคยถาม เขาบอกว่า ระบบที่เก็บอยู่บอกได้ว่าเป็น 51:49 แต่ไม่ได้เก็บว่ากรรมการผู้มีอำนาจเป็นต่างชาติหรือคนไทย อันนี้ต้องไปแก้

เรื่อง SME ประเทศไทยมี SME ขนาดกลางขนาดย่อม 3,000,000 กว่าราย สสว. รวบรวมมา 3 ปีได้ 300,000 ราย กว่าจะครบ 3 ล้านต้องใช้เวลา 27 ปี มันไม่ทันปัญหา สสว.ต้องเร่งทำให้ดีกว่านี้ จะได้รู้ว่าเงินที่ช่วย SME มันไปตกที่ใคร ใครควรได้รับความช่วยเหลือ ใครที่ได้ทุกปีก็ต้องปัดออก

‘สินค้าจีนทะลัก’ รัฐบาลต้องปกป้องช่วยเหลือ ก่อนไทยจะล่มจม

Cr. Homenet Thailand

รัฐบาลต้องจริงจังกว่านี้ จะเอาแต่กลัวเขาตอบโต้ไม่กล้าทำอะไรไม่ได้ ตอนนี้รอบบ้านเรา อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ เขามีมาตรการภาษีออกมาปกป้องเศรษฐกิจประเทศของเขาแล้ว 

ในฐานะสส. ในฐานะกรรมการเศรษฐกิจ ปัญหามันเร่งด่วน คุณต้องเร่งแก้ เราอยากให้การใช้งบประมาณเกิดประโยชน์กับประชาชนมากกว่านี้

‘สินค้าจีนทะลัก’ รัฐบาลต้องปกป้องช่วยเหลือ ก่อนไทยจะล่มจม

Cr. Homenet Thailand

ถ้าประชาชนมีเรื่องเดือดร้อน รู้ว่าใครเป็นนอมินี หรือต่างชาติ หรือเห็นสินค้าไหนไม่มี อย. มอก. ร้านไหนเป็นทุนต่างชาติ ส่งมาเลย

เราจะไปติดตามกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บอกว่าประชาชนเดือดร้อน เรารวบรวมข้อมูลมาให้แล้ว ไม่ต้องไปหาข้อมูล ตรวจแล้วเป็นยังไง มาตอบประชาชน จะได้แก้ปัญหาได้"

ถ้ารัฐบาลไทยไม่ปกป้องเศรษฐกิจไทยไม่ช่วยเหลือประชาชนคนไทย แล้วใครจะมาปกป้องได้ ?