คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

มาทำความรู้จักนักเขียนและผลงานเข้ารอบ 'ซีไรต์' Short list ประเภทนวนิยาย ทั้ง 7 คน กับ 8 ผลงาน ก่อนถึงวันประกาศผลผู้ชนะเลิศ เพียงเล่มเดียว

เนื่องในวาระครบรอบ 90 ปี หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และ กองทุนศรีบูรพา จัดกิจกรรม 'Novels of Life' ซีไรต์ ไปให้สุด โฉมใหม่นวนิยายไทย คุยกับนักเขียน Short list ซีไรต์

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อัญณิฐา ดิษฐานนท์ ผู้อำนวยการหอสมุดฯ กล่าวเปิดงาน วันที่ 22 ตุลาคม 2567 ณ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือ ซีไรต์ (Southeast Asian Writers Award : S.E.A. Write) ประจำปี 2567 เป็นประเภท นวนิยาย มีผลงานที่ผ่านเข้ารอบ Short list จำนวน 8 ผลงาน มีดังนี้

1. กี่บาด โดย ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด

2. คุณเคนต์และข้าพเจ้า Ms. Kent & Me โดย LADYS (ลาดิด)

3. แชมเปญจ์น ซูเปอร์โนวา และการฆ่าตัวตายครั้งสุดท้ายของชาลี โดย พิชา รัตนานคร

4. แมลงสาบในเมืองสลด โดย อ้อมแก้ว กัลยาณพงศ์

5. แมลงอายุสั้นที่เราไม่รู้จัก โดย กล้า สมุทวณิช

6. ล้านนาฮาเร็ม โดย สาคร พูลสุข  

7. ห้องเรณู โดย วิภาส ศรีทอง

8. อันกามการุณย์ Non fa niente โดย LADYS (ลาดิด)

คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

จรูญพร ปรปักษ์ประลัย นักวิจารณ์วรรณกรรม นักเขียนบทภาพยนตร์ ละคร ซีรีส์ ผู้ดำเนินรายการ กล่าวเชิญนักเขียนทุกท่านขึ้นบนเวทีแล้วพูดคุยกันถึงที่มาของผลงานและความน่าสนใจของแต่ละเล่ม 

คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

Cr. Kanok Shokjaratkul

LADYS (ลาดิด) 

  • คุณเคนต์และข้าพเจ้า Ms. Kent & Me โดย LADYS
  • อันกามการุณย์ Non fa niente

LADYS (ลาดิด) หรือ ณชนก ยุวภูมิ เป็นผู้ที่มีผลงานเข้ารอบซีไรต์ถึง 2 เล่ม เริ่มต้นเป็นนักเขียนเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ขณะนั้นศึกษาอยู่ที่คณะแพทย์

"เขียนนิยายทีนเอจเป็นหนังสือทำมือไปฝากขายร้านหนังสืออิสระได้ค่อนข้างเยอะ คิดว่าน่าจะเลี้ยงตัวเองได้ ก็เลยออกจากคณะแพทย์มาเขียนหนังสือ แล้วก็ทำสำนักพิมพ์อยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี

คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

คุณเคนต์ฯ เป็นเรื่องราวของตัวเอกที่เรียกตัวเองว่าข้าพเจ้า เดินทางไปชำระทรัพย์สมบัติของคุณย่าที่เพิ่งเสีย คุณย่ามีบ้านริมทะเลมีชายหาด เขาได้ไปเจอกับสมุดบันทึกของคุณย่าที่เขียนถึงคุณเคนต์อย่างสม่ำเสมอ บรรยายไว้ว่า ผู้หญิงผิวดำมีขาข้างเดียว มีความเพี้ยน ชอบลงไปที่ชายหาด

พูดถึงความยากในการใช้ชีวิตของคนข้ามเพศ แฝงสัญญะเอาไว้ ซ่อนไว้ ไม่ได้หยุดที่เรามีร่างกายเป็นผู้หญิงเท่านั้น ความเป็นผู้หญิงหรือความเป็นผู้ชาย หรือความเป็น Non-binary เจ้าของร่างกายเป็นคนพูดว่าฉันเป็นอะไร เป็นเรื่องที่ใส่ Message เข้าไป

คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

อันกามการุณย์ ถ้าคิดว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็น 18 บวก เล่มนี้ก็ 18 บวก แต่เนื้อหาไม่ได้บรรยายไปในแบบนั้น เล่าเรื่องเซ็กส์ในแง่มุมอื่น ในสังคมที่ไม่ได้มีแค่การกระทำ มันมีความสัมพันธ์เชิงอำนาจ การยอมรับตัวตน แม่คนหนึ่งเป็นผู้ชาย เกิดมาในร่างกายที่สังคมบอกว่าเป็นผู้หญิง มีการผ่าตัดเปลี่ยนเพศ

เขาได้เจอกับผู้ชายอีกคนหนึ่ง ดำเนินไปสู่ความสัมพันธ์ ด้วยความที่เป็นคนนอกของประเทศนั้น ๆ ทำให้เขานึกถึงลูกขึ้นมา ก็เล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ฟังในความคิดของตัวเอง เล่มนี้ใช้เวลาสองปี ใช้ของที่มีอยู่ในชีวิตใส่ลงไปจนรู้สึกว่าไม่มีอะไรจะเขียนอีกแล้ว สื่อออกมาตรง ๆ ว่าฉันรู้สึกยังไงกับร่างกาย ฉันต้องเปลี่ยน ก็เป็นได้เลยวันนี้"

คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

Cr. Kanok Shokjaratkul

ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด

  • กี่บาด

เป็นนิยายเล่มแรกที่ประเสริฐศักดิ์เขียน แล้วก็ได้เข้ารอบซีไรต์เลย

"เริ่มต้นงานเขียนช่วงโควิด เพราะงานประจำบังคับให้อยู่แต่ในห้อง ไม่ได้ทำงาน 3 เดือน อยู่คนเดียวไม่ได้คุยกับใคร เกิดความคิดมากมาย ก็เลยเริ่มเขียนเรื่องสั้น จากนั้นก็เขียนนิยายเรื่องกี่บาด เป็นเรื่องแรก

กี่บาด คือคำพ้องเสียง ถ้าได้ยินแบบไม่เห็นตัวเขียน จะคิดว่า How much กี่บาท พอเราเขียนเป็น ด.เด็ก ก็กลายเป็น How many บาดแผลนี้โดนมากี่ครั้งแล้ว และความหมายสุดท้ายคือ กี่ทอผ้า มันทำร้ายคนทอผ้ายังไงได้บ้าง แม้กระทั่งตอนที่ทออยู่

คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

เราไม่ใช่คนเหนือแต่เขียนเรื่องคนเหนือ เพราะดูสารคดีแม่แจ่มแล้วเหมือนวิญญาณของเรื่องราวของตัวละครเข้ามาสิง เกิดความรู้สึกแรงกล้ามาก ว่าฉันต้องเขียนเรื่องนี้ให้ได้ เหมือนเขาจับมือเราเขียนเรื่องราวไปเรื่อย ๆ ชีวิตช่างทอผ้าในอ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

กี่บาด คือความงดงามระยิบระยับราวกับลายของผ้าซิ่นตีนจก แม้แต่บาดแผลของตุ๊ดตัวละครที่เจอก็เหมือนเป็นการสลักลวดลายเอาไว้ในชีวิตของตัวละครในแต่ละตัว

คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

Cr. Kanok Shokjaratkul

ออกแบบเรื่องให้เหมือนผ้าซิ่นตีนจกผืนงามผืนหนึ่ง แบ่งเป็น 3 พาร์ท หัวซิ่น ตัวซิ่น ตีนซิ่น แต่ละพาร์ทถักทอด้วยเรื่องราวที่ต่างกัน มีกลวิธี ความงดงามของวัฒนธรรม ตั้งแต่ฝ้าย จากดอกฝ้ายเป็นปุยฝ้าย เป็นเส้นด้าย ค่อย ๆ จกทีละลาย ๆ

คนอ่านจะได้รู้ความงดงามของตัวละคร วิถีชีวิต วัฒนธรรม ที่ช่างทอคนหนึ่งต้องเผชิญในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เล่าผ่านลายผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ ทีละลาย ๆ ตั้งแต่ลายแรกจนถึงลายที่ 16 เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อมาจากแม่สู่ลูกสาว จากรุ่นสู่รุ่น เป็นเรื่องของชาวบ้าน ทัศนคติ และการตัดสินใจ"

คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

Cr. Kanok Shokjaratkul

พิชา รัตนานคร

  • แชมเปญจ์น ซูเปอร์โนวา และการฆ่าตัวตายครั้งสุดท้ายของชาลี

เป็นผลงานเล่มที่สองของพิชา เล่มแรกคือ ชายผู้เขียนหนังสือได้ไม่เกิน 7 หน้า

"เมื่อก่อนทำงานเป็น Ghost Writer, บรรณาธิการ แล้วออกมาเพราะอยากเขียนแต่เรื่องที่อยากอ่าน เล่มนี้ใช้เวลา 6 ปี (เพิ่งได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทนวนิยาย เซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 21 ปี 67 มาหมาด ๆ )

คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

เรื่องราวของชาลี มนุษย์เงินเดือน ทำงานออฟฟิศแปดโมงถึงห้าโมงเย็นวนเวียนเป็นลูปอย่างนั้นไปเรื่อย ๆ การฆ่าตัวตายของเรื่องนี้เป็นสัญลักษณ์ของคนคนหนึ่งที่อยากจะทำแต่ว่าไม่ได้ทำสักที มีข้ออ้างมากมาย

อยากจะฆ่าตัวตายแต่ว่ากลัวโดนมีดบาด กลัวการขี่มอเตอร์ไซค์แล้วจะเกิดอุบัติเหตุ เป็นตลกร้าย มันไม่ได้ซับซ้อน ใช้สัญลักษณ์เยอะ 

คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

Cr. Kanok Shokjaratkul

คนอื่นอาจจะค้นคว้าประวัติศาสตร์ แต่ผมดูตามเว็บบอร์ด บางคำถามเป็นคำถามเมื่อสิบปีที่แล้ว ตอนนี้ก็ยังเป็นคำถามเดิมอยู่ ผมคิดว่ามันไม่ใช่ปัญหาของปัจเจกแล้วแต่เป็นปัญหาของยุคสมัย ที่ทุกคนต้องถาม ต้องเผชิญหน้า

ที่ตลกคือ ในสิบปีนี้ คำตอบมันเป็นคำตอบเดิมเลย ในปี 54, 58 ตอนนี้ปี 67 แล้วยังมีคน reply เป็นร้อยคำตอบว่าฉันก็เป็นอย่างนี้เหมือนกัน เรารู้สึกว่านี่ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ แล้ว มันเป็นเรื่องของทุกคนที่น่าจะเข้าใจ เป็นเรื่องตลกแบบขื่น ๆ เล่าแบบเสียดสี"

คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

Cr. Kanok Shokjaratkul

กล้า สมุทวาณิช

  • แมลงอายุสั้นที่เราไม่รู้จัก

ข้าราชการด้านกฎหมายที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานราชการบอกว่า เริ่มต้นจากเขียนเรื่องสั้นก่อน แล้วส่งประกวดมาเรื่อย ๆ เคยเข้ารอบ Short list ซีไรต์ ปี 57 หลังจากนั้นก็ลองเขียนนิยายดูบ้าง

"เรื่องนี้มี 2 มุมมอง เล่าถึงผู้ชายคนหนึ่งที่เพิ่งหย่ากับภรรยาไป แล้วเขาลืมนิยายไว้บนเครื่องบิน พอเครื่องบินส่งคนเที่ยวหนึ่งเสร็จก็ต้องรับคนอีกเที่ยวบินหนึ่ง มีผู้หญิงคนหนึ่งเพิ่งแท้งลูกกำลังจะเดินทางไปที่เขื่อนเชี่ยวหลานด้วยความมุ่งหมายบางอย่าง ไปเจอหนังสือเล่มนี้ก็เอามาอ่าน

คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

เรื่องราวเล่าสลับไปสลับมา ระหว่างผู้ชายคนนี้กับผู้หญิงคนนั้น และเรื่องราวในหนังสือด้วย สื่อว่าบางสิ่งที่เราได้เห็นในชีวิตเรา หรือคำพูดของใครบางคนที่พูดกับเรา ก่อนหน้าที่จะเกิดคำพูดนี้ขึ้นมา ก่อนหน้าที่จะเกิดเป็นพฤติกรรมของคน มันผ่านอะไรมา มันบ่มเพาะอะไรบางอย่าง

พูดถึงชีปะขาว แมลงที่ใช้ชีวิตอยู่ในน้ำ แล้วขึ้นมาบนอากาศแค่ครั้งเดียวมีเวลา 2 วันเพื่อสืบพันธุ์ ตัวละครจะมีคำพูดว่า อย่ามาตายต่อหน้ากูเด็ดขาด มันก็มาจากความเป็นมาตอนหนึ่งในชีวิตเขา

คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

Cr. Kanok Shokjaratkul

สารที่ผมอยากสื่อ คือ การกระทำหลายอย่างในชีวิตเรา หรือการกระทำของคนอื่นก็ตาม มันไปเพาะบางอย่างในตัวคนอื่นทั้งนั้น คำพูดที่เราพูดออกไป มันเกิดจากใครหรือบางอย่างมาเพาะไอนี่ไว้กับเรา เคยพูดเรื่องนี้ไว้กับเราทำให้เราเปลี่ยนมาเป็นคนแบบนี้ มีวิธีพูดแบบนี้

ตัวละคร อารยา มีนักเขียนระดับมือรางวัลคนหนึ่งไปพรากความบริสุทธิ์ของเธอไป ซึ่งตัวละครตัวนั้นออกมาแค่ครั้งเดียวแล้วก็หายไปเลย การที่คุณไปทำกับผู้หญิงคนหนึ่งแบบนี้ มันจะส่งผลยังไงกับชีวิตเขาต่อมา ทุกการกระทำของเรา ทุกคำพูดของเรา มันส่งผลต่อคนอื่นจริง ๆ "

คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

Cr. Kanok Shokjaratkul

อ้อมแก้ว กัลยาณพงศ์

  • แมลงสาบในเมืองสลด

ปัจจุบันทำงานประจำเป็น Content Marketing ที่บริษัทแห่งหนึ่ง และทำหอจดหมายเหตุ อังคาร กัลยาณพงศ์ เล่มนี้เป็นผลงานเล่มที่ 4

"3 เล่มแรกคือ  อีกไม่นานเราจะสูญหาย, พ่ออังคาร ผู้มาจากดาวโลก, ในเงาคือเราผู้ซ่อนเร้น เล่มนี้พูดถึงความย้อนแย้งในตัวเอง อยากมีความสุข แต่กลับกลายเป็นสิ่งที่มีความน่ารังเกียจ

คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

พอเป็นความทุกข์ มันทำให้เราได้บทเรียนอะไรบางอย่าง เราได้สิ่งที่ดี ๆ จากมัน ไม่ใช่ว่าเราจะต้องหลีกหนีความทุกข์ ก็เลยเอาคาแรคเตอร์ของตัวละครกับงานมาสร้างให้มัน Contrast กัน

เราเลือกแมลงตัวนี้เพราะมันสามารถซอกซอนไปได้ทุกที่ อยู่กับความทุกข์น่ารังเกียจ คนไม่ยอมรับ แล้วมันแปลงร่าง บินได้

พูดถึงภาวะภายใน แล้วเข้าไปสำรวจตัวเอง ในตัวของผู้ชายคนหนึ่ง ก็มีความเป็นพวกเราทั้งหลาย จนกระทั่งมันประสบความทุกข์มาก ๆ เขาก็สร้างเกราะขึ้นมา

คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

Cr. Kanok Shokjaratkul

มนุษย์มักจะมองแต่ในแง่ที่สร้างสรรค์ สว่าง สดใส แต่คนนี้สร้างความย้อนแย้งในตัวเอง พูดถึงความทุกข์ว่า จริง ๆ แล้วมันดี ถ้าคนเราเจอแต่ความสุข แล้วเจออะไรที่ไม่ดีขึ้นมาก็รับไม่ได้ แต่ถ้าเราเจอความทุกข์มาเยอะ ๆ มันก็สร้างเกราะบางอย่างที่ทำให้อยู่ได้

เราเป็นคนชอบสภาวะหม่นหมอง โลกแตก รู้สึกว่ามันโรแมนติกดี เป็นโลกที่มันเป็นจริงสภาวะจากนี้ไป จิตมนุษย์มีความซับซ้อน ซ่อนกันไปมา เราต้องค้นหาสิ่งที่มันอยู่ในจิตใต้สำนึก"

คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

Cr. Kanok Shokjaratkul

สาคร พูลสุข  

  • ล้านนาฮาเร็ม

ปัจจุบันเป็นครู อยู่ที่จังหวัดน่าน มีผลงานเข้ารอบซีไรต์มาแล้ว 4 ครั้ง ทำงานเขียนมาตลอด แต่หลัง ๆ ห่างหายไปบ้าง เพราะใช้เวลาหาข้อมูล

"เล่มนี้เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ นำเสนอเรื่องราวของคนสมัยก่อน ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 การดำรงอยู่ของชนชั้นปกครอง บางเรื่องถูกบันทึกไว้มีหลักฐาน แต่บางเรื่องไม่กล้าบันทึก ผมก็ไปสืบเสาะมา แม้แต่คนเหนือเองก็ไม่รู้มาก่อน

คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

อย่างที่เชียงใหม่ มีเจ้าชีวิตอ้าว ใครพูดคำว่า อ้าว จะถูกประหารชีวิต ตัวละครทุกตัวในเรื่องนี้มีอยู่จริง 90% สมมติขึ้นมาแค่ 1-2 คน เจ้าชีวิตคนอื่น ๆ ล้วนแต่มีชีวิตที่โลดโผน เรื่องอำนาจ เรื่องผลประโยชน์ จะรักกับใครก็ช่างต้องมาแต่งกับวงศาคณาญาติเพื่อรักษาอำนาจไว้

ผมจะไม่ใช้ชื่อจริง แต่เหลือเค้าไว้ คนที่ศึกษาประวัติศาสตร์ทางเหนือจะรู้ว่าหมายถึงใคร อย่างเจ้าคนหนึ่ง เป็นผู้หญิง พูดภาษาอังกฤษสื่อสารกับชาวต่างชาติได้ เฉลียวฉลาดรูปร่างหน้าตาสะสวยมีความคิดอิสระมีความสัมพันธ์กับผู้ชายมากหน้าหลายตา ทั้งขุนนางสยามพ่อค้าชาวต่างชาติ และเจ้าด้วยกันเอง สุดท้ายเสียชีวิตอย่างลึกลับ น่าจะตายเพราะถูกวางยา

คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

Cr. Kanok Shokjaratkul

มีเจ้าอีกคนหนึ่งอยากได้สามีแต่คนนั้นมีลูกมีเมียแล้ว ก็บอกให้พ่อตัวเองที่เป็นเจ้าเมืองไปขอให้พระไปบิณฑบาตรกับผู้ชาย พระจำเป็นต้องทำเพราะวงการสงฆ์ตอนนั้นกำลังสั่นคลอน เรื่องนี้ประวัติศาสตร์ไม่ได้บันทึกไว้

อีกคนเป็นตัวเอกของเรื่อง เป็นมิชชันนารี เข้ามาเมืองไทยสมัยรัชกาลที่ 4 แรก ๆ ก็มารักษาผู้คนในเชียงใหม่ หลัง ๆ ทนความเย้ายวนของผลประโยชน์ไม่ไหว ไปค้าขายไม้สักจนร่ำรวย ใช้ชีวิตเสเพลมีผู้หญิงเป็นของตัวเอง 20 คน เวลาเสพสุขเรียกมาครั้งละ 3 คน

คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

Cr. Kanok Shokjaratkul

คำว่า ฮาเร็ม ของผมซ่อนนัยเอาไว้ว่า หัวเมืองทางเหนือกับการเป็นฮาเร็มของสยาม ฮาเร็มของนักล่าอาณานิคม ที่มีเรื่องราวมากมาย

ล้านนาฮาเร็ม 18 บวกไหม ชื่อเรื่องดูหวือหวา ผมหลีกเลี่ยงการบรรยายฉากอีโรติกด้วยเพลงพื้นเมืองทางเหนือ ค่าว มีท่วงทำนองสนุกสนาน อาจจะไม่ได้รายละเอียดเหมือนร้อยแก้ว ไม่ต้องกลัวว่าชื่อเรื่องกับหน้าปกจะไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน หากอยากรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ที่หายไป หรือถ้ามีใครสักคนกล้าบันทึกเรื่องราวสมัยนี้ไว้ ก็คงจะดี"

คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

Cr. Kanok Shokjaratkul

วิภาส ศรีทอง

  • ห้องเรณู กล่าวว่า

ผู้ลาออกจากการเรียนในคณะแพทย์มาเขียนหนังสือ ทั้งเรื่องสั้นและนวนิยาย 

"เล่มนี้เป็นผลงานเล่มที่ 13 และเป็นนวนิยายเล่มที่ 6 ห้องเรณู มาจากยายผมที่มีเขียงหมู อยู่ที่จังหวัดพัทลุง แล้วยายผมก็ขายผักดอง ทุกคนที่ทำเขียงหมูจะต้องขายผักดอง

คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

เรื่องนี้เกี่ยวกับครอบครัวหนึ่ง ที่ย้ายมาอยู่บ้านเก่ากลางกรุงที่รีโนเวทใหม่ บ้านนี้เคยทำผักดองอยู่ที่ห้องใต้ดิน มีความชื้นเยอะ ผ่านช่วงเวลาที่เกิดโรคระบาด แล้วไม่มีวัคซีน คนตายมากขึ้นเรื่อย ๆ

ครอบครัวนี้ต้องเผชิญอยู่กับคนรอบข้างที่ตายขึ้นเรื่อย ๆ บ้านนี้มีเชื้อรา เหมือนเพนนิซิลิน ป้องกันครอบครัวนี้ แต่ก็ปิดกั้นไม่ให้ครอบครัวนี้ไปที่ไหนได้ ทำให้ติดค้างอยู่ที่นั่น

คุยกับนักเขียน ทั้ง 7 ว่าที่ ‘ซีไรต์’ นวนิยาย ประจำปี 67

Cr. Kanok Shokjaratkul

ตัวละครหลักคือเด็กชาย ที่ต้องผ่านภาวะที่โลกเปลี่ยนไป มีร่างกายที่เชื่อมกับสิ่งมีชีวิตอื่น มีความเป็นไซไฟบวกกับนิยายโลกแตก

เป็นเล่มเฉพาะกาล ไวรัสโรคระบาดมันหนักหนามาก หลายปีที่ผ่านมาไมโครไบโอมันเข้ามาบ้านเราเยอะ ให้คนจินตนาการเองว่าข้างนอกมันเกิดอะไรขึ้น ผ่านคนในครอบครัว ใส่ประเด็นเรื่องบ้าน ให้เสียงตัวละครที่ไม่มีชีวิตให้มีชีวิตขึ้นมา"