'ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด' คว้า 'ซีไรต์' ปี 67 จากนวนิยาย 'กี่บาด'

'ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด' คว้า 'ซีไรต์' ปี 67 จากนวนิยาย 'กี่บาด'

ประกาศแล้ว รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือ 'ซีไรต์' ประเภทนวนิยาย ประจำปี 2567 ปรากฎว่า 'กี่บาด' ของ 'ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด' คว้ารางวัลไปครอง

ดร.สุเมธ  ตันติเวชกุล ประธานคณะกรรมการดำเนินงานรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) แถลงข่าวผลการตัดสินประจำปี 2567 วันที่ 28 ตุลาคม 2567 ณ C asean อาคาร CW Tower ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ

"การจัดประกวดรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือ ซีไรต์ เริ่มครั้งแรกในปี 2522 จัดประกวด 3 ประเภทด้วยกัน นวนิยาย เรื่องสั้น กวีนิพนธ์ หมุนเวียนกันไปแต่ละปี 

สำหรับปี 2567 เป็นประเภท นวนิยาย มีผู้ส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น 69 เรื่อง การพิจารณาแบ่งเป็น 2 รอบ รอบคัดเลือก และรอบตัดสิน คณะกรรมการรอบตัดสิน มี 7 ท่าน ดังนี้

1 รองศาสตราจารย์ ดร. ธัญญา สังขพันธานนท์ ประธานคณะกรรมการตัดสิน

2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธเนศ เวศร์ภาดา กรรมการตัดสิน

3 นรีภพ จิระโพธิรัตน์ กรรมการตัดสิน

4 รองศาสตราจารย์ ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร กรรมการตัดสิน

5 รองศาสตาจารย์ ดร. พิเชฐ แสงทอง กรรมการตัดสิน

6 จตุพล บุญพรัด กรรรมการตัดสิน

7 ดร.อลงกต ใหม่ด้วง กรรมการตัดสิน

คณะกรรมการตัดสินรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปีพุทธศักราช 2567 ประเภทนวนิยาย ได้พิจารณาแล้ว มีความเห็นว่า นวนิยายเรื่อง กี่บาด ของ ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด ได้รับรางวัล

\'ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด\' คว้า \'ซีไรต์\' ปี 67 จากนวนิยาย \'กี่บาด\'

Cr. Kanok Shokjaratkul 

กี่บาด เล่าเรื่องของ แม่ญิง ช่างทอผ้าแม่แจ่มสามรุ่น ที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับการทอซิ่นตีนจก นำเสนอผ่านโครงเรื่องการต่อสู้ และการส่งต่อมรดกภูมิปัญญาการทอผ้าในบริบทยุคสมัยที่มีความผันแปร โดยใช้กี่ทอผ้าเป็นเสมือนพื้นที่ของผู้หญิงที่เต็มไปด้วยความหมายอันหลากมิติ ทั้งการต่อรองทางเพศสภาพ การต่อสู้กับอคติของจารีต การเก็บงำความทรงจำทั้งดีและร้าย

\'ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด\' คว้า \'ซีไรต์\' ปี 67 จากนวนิยาย \'กี่บาด\'

Cr. Kanok Shokjaratkul 

ด้านศิลปะการประพันธ์ มีทั้งขนบวรรณศิลป์แบบดั้งเดิมประสานกับการสร้างสรรค์ใหม่ โดยใช้ศิลปะการทอผ้าและลวดลาย สื่อความหมายและดำเนินเรื่องอย่างมีเชิงชั้น เต็มไปด้วยสีสันท้องถิ่น นำพาผู้อ่านสู่อารมณ์สะเทือนใจ เห็นอกเห็นใจในชะตากรรมของมนุษย์ แม้จะต้องเผชิญประสบการณ์หรือความทรงจำอันปวดร้าวเพียงไร ชีวิตก็ต้องเดินไปข้างหน้า และถักทอเรื่องราวอันเป็นวัฒนธรรมเรื่องเล่าของมนุษยชาติต่อไป

คณะกรรมการตัดสินจึงมีมติให้ นวนิยายเรื่อง กี่บาด ของ ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมเเห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำพุทธศักราช 2567 

ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2567

\'ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด\' คว้า \'ซีไรต์\' ปี 67 จากนวนิยาย \'กี่บาด\' Cr. Kanok Shokjaratkul 

  • ความเห็นของคณะกรรมการ

รองศาสตราจารย์ ดร. ธัญญา สังขพันธานนท์ ประธานคณะกรรมการตัดสิน กล่าวว่า กี่บาด มีลักษณะการสร้างสรรค์นิยายเปรียบเสมือนเป็นผ้าทอผืนหนึ่งที่เต็มไปด้วยความประณีตเหมือนการทำงานของกี่ทอผ้าและฝีมือ จิตวิญญาณ ความเชื่อ จารีตประเพณี

"เรื่องราวของผู้คนในนิยายเรื่องนี้เหมือนเส้นสายลายสีลวดลายต่าง ๆ ที่ปรากฎเป็นผืนผ้าผืนหนึ่ง ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต บริบททางยุคสมัยและสังคมที่ผันแปร เช่น ฉากหลังตอนหนึ่ง เป็นสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง มีผลกระทบต่อผู้คนในอำเภอเล็ก ๆ 

\'ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด\' คว้า \'ซีไรต์\' ปี 67 จากนวนิยาย \'กี่บาด\'

ผู้เขียนนำเสนอเรื่องราวของคนสามชั่วคน รุ่นแม่ รุ่นลูก รุ่นหลาน มีแนวความคิด ความหมายหลากหลายมิติ ไม่ว่าเรื่องการสืบทอดความเชื่อ จารีตประเพณี วิถีของการทอผ้าผูกพันเป็นหนึ่งเดียวกัน มีการต่อสู้ การต่อรองเรื่องเพศสถานะ

ในจารีตล้านนา การทอผ้าเป็นเรื่องของผู้หญิง แต่ผู้เขียนได้ใส่แนวความคิดที่เปลี่ยนไป นำเรื่องความหลากหลายทางเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง นิยายเรื่องนี้มีความเข้มข้น เป็นพื้นที่ในการต่อรอง สร้างตัวตนอัตลักษณ์ เต็มไปด้วยเรื่องราวของมนุษย์ในฐานะปัจเจกบุคคลที่ได้รับผลกระทบต่าง ๆ ที่ต่อสู้ฝ่าฟันอุปสรรค

\'ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด\' คว้า \'ซีไรต์\' ปี 67 จากนวนิยาย \'กี่บาด\'

Cr. Kanok Shokjaratkul 

ใช้ชื่อว่า กี่บาด กี่ คือ เครื่องทอผ้า บาด ด.เด็กสะกดคือ บาดแผลหรือว่าถูกบาด เปรียบเสมือนริ้วรอยความทรงจำประสบการณ์ทั้งดีทั้งร้ายเจ็บปวดขมขื่นและชะตากรรมของตัวละคร แสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีการต่อสู้

นิยายเรื่องนี้เปิดโอกาสให้ผู้อ่านตีความหรือสร้างความหมายได้อย่างหลากหลายมิติ โดยที่ผู้เขียนไม่ได้บอก ไม่ได้เฉลยทั้งหมด เพียงแต่ทิ้งปมปัญหาเอาไว้ครุ่นคิดต่อไป นิยายเรื่องนี้เปรียบเสมือนผ้าทอแม่แจ่มที่สวยงามประณีตละเมียดละไมและมีความเป็นศิลปะอย่างมาก

\'ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด\' คว้า \'ซีไรต์\' ปี 67 จากนวนิยาย \'กี่บาด\'

Cr. Kanok Shokjaratkul 

ที่ชัดเจนมากคือการใช้ภาษา ภาษาถิ่น ทุกภาษาในโลกนี้มีคุณค่าเท่าเทียมกัน มันทำให้เห็นวิธีคิด เพราะว่าคนเราคิดผ่านภาษา แค่ชื่อลายผ้า คนล้านนาคิดลายตีนจกขึ้นมา มันมีความหมายที่ลึกซึ้ง ถ้าคนที่รู้เรื่องภาษาดี ๆ หรือรู้เรื่องลายผ้าดี ๆ เขาจะอัศจรรย์ใจ

ในเรื่องเป็นเรื่องของผู้คนในพื้นที่เล็กๆ แห่งหนึ่ง เป็นภาพตัวแทนของสังคมชนบท วิถีดั้งเดิม ที่เรียบง่าย นัยยะ กี่ คือเครื่องมือประดิษฐ์ มีความหมายว่าคืออำนาจของแม่หญิง

กี่ ผ้าทอ คือการต่อสู้ การต่อรอง ความภาคภูมิใจ ความเจ็บปวด ความทรงจำ เป็นพื้นที่ของผู้หญิงล้านนา ความหมายสำคัญที่เขาเสนอคือ ภาวะของมนุษย์ที่มีการต่อสู้ มีการดิ้นรน มีการสรุปบทเรียน คือสภาวะของมนุษย์ที่เป็นสากล"

\'ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด\' คว้า \'ซีไรต์\' ปี 67 จากนวนิยาย \'กี่บาด\' Cr. Kanok Shokjaratkul 

  • ภาพรวมของการตัดสินรอบสุดท้าย

ประธานคณะกรรมการตัดสิน กล่าวว่า ใน 8 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นนักเขียนรุ่นใหม่ แบ่งได้เป็นสองกลุ่ม

"กลุ่มแรก มีลักษณะสื่อถึงภาวะของปัจเจก เกี่ยวกับการสูญเสียอัตลักษณ์ ในยุคสมัยบริโภคนิยม กลุ่มที่สอง นำเรื่องราวในอดีตเชิงประวัติศาสตร์ มานำเสนอ 

เราดูที่ตัวงาน ไม่ได้ดูที่คนเขียน เพราะตัวบทสำคัญที่สุด และรางวัลนี้ก็ให้รางวัลตัวบท วรรณกรรมยอดเยี่ยม ไม่ใช่นักเขียนยอดเยี่ยม มีคำว่า สร้างสรรค์ เราพิจารณาการสร้างสรรค์ของผู้แต่ง นักประพันธ์ หรือนักเขียน สร้างสรรค์อะไรบ้าง

\'ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด\' คว้า \'ซีไรต์\' ปี 67 จากนวนิยาย \'กี่บาด\'

Cr. Kanok Shokjaratkul 

วรรณกรรมซีไรต์ เป็นแนววรรณศิลป์ ตั้งแต่ปี 2522 ไม่ว่า นวนิยาย เรื่องสั้น บทกวี จะเป็นลักษณะเดียวกัน คือ มุ่งนำเสนอความหมายบางอย่างที่มันกระตุ้น มีพลังทางด้านปัญญาทางความคิดความอ่าน และมีการสร้างสรรค์ในแง่ของกลวิธีเล่าเรื่อง 

นักประพันธ์คนนั้น นำมาจัดวาง หรือมีความคิดสร้างสรรค์อย่างไร อย่างเรื่องกี่บาด เขียนเรื่องราวของคนทอผ้า หรือผ้าทอ ตัวบทเปรียบเสมือนผ้าทอผืนหนึ่ง เป็นศิลปะผืนหนึ่ง สะท้อนให้เห็นว่าผู้เขียนมีเชิงชั้นวรรณศิลป์ ในการจัดวาง ในการประกอบสร้าง

\'ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด\' คว้า \'ซีไรต์\' ปี 67 จากนวนิยาย \'กี่บาด\'

นิยายเรื่องนี้เต็มไปด้วยสัญญะหลายอย่าง แม้แต่ชื่อเรื่อง แม้แต่ชื่อบท ก็เอาลายผ้าเข้ามา ลายผ้าบ่งบอกถึงการสืบทอดจารีตประเพณี ผู้คนทอผ้าก็มีอำนาจ มีช่องทางสร้างสรรค์ที่อาจแหวกแนวไปจากจารีตประเพณีก็ได้ เปรียบเสมือนกับการสร้างสรรค์ทางวรรณศิลป์

ในส่วนตัวนักเขียน เขียนขึ้นมาเพื่อให้คนอ่าน เพื่อให้สาธารณะ เราต้องมองว่าวรรณกรรมไปสร้างสรรค์อะไรให้กับคนอ่าน ในเรื่องของความหมาย ในเรื่องของแนวความคิด ได้ให้คุณค่าอะไรบ้าง มันจรรโลง ยกระดับ ให้ความหวัง กระตุ้นเตือน หรือเป็นอนุสติให้เกิดพุทธิปัญญาแก่คนอ่าน นี่คือความหมายของการสร้างสรรค์ที่มีต่อผู้อ่าน

\'ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด\' คว้า \'ซีไรต์\' ปี 67 จากนวนิยาย \'กี่บาด\' อย่าลืมว่า คนอ่านวรรณกรรมซีไรต์มีตั้งแต่เด็กเยาวชนไปจนถึงผู้ใหญ่ เราต้องคำนึงว่าวรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องในปีหนึ่ง ได้ให้สิ่งที่เป็นพิษหรือให้สิ่งที่ช่วยยกระดับ ช่วยให้ความหวัง ให้ความเข้าใจมนุษย์เพื่อจะได้เข้าใจซึ่งกันและกัน นี่คือสิ่งสำคัญที่ผู้อ่านควรได้รับ

ส่วนอีกอันหนึ่งคือความเพลิดเพลิน ความรื่นรมย์ อาจมาจากการครุ่นคิด หรือการติดตามลีลา ชั้นเชิงในการประพันธ์ สองสิ่งนี้อธิบายคำว่า สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นแก่นหลักของการให้รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน"

\'ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด\' คว้า \'ซีไรต์\' ปี 67 จากนวนิยาย \'กี่บาด\'

Cr. Kanok Shokjaratkul 

รองศาสตราจารย์ ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร กรรมการตัดสิน กล่าวสรุปได้สามประเด็น ว่า

"ประเด็นแรก กี่บาดเป็นคำพ้องเสียง ในภาษาไทย กี่ มีความหมายว่า เท่าไร บาด เป็นบาดแผล เป็นการเล่นภาษา และกล้ามากที่ใช้ภาษาถิ่น ผู้เขียนไม่ใช่คนเหนือแต่เรียนรู้ภาษาเหนือ ดำเนินเรื่องด้วยภาษาเหนือ ไม่ใช่แค่บทสนทนาอย่างเดียว บทบรรยายด้วย การดำเนินเรื่องค่อนข้างรวดเร็ว การเล่นกับภาษาเป็นจุดเด่นของนิยายร่วมสมัย

\'ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด\' คว้า \'ซีไรต์\' ปี 67 จากนวนิยาย \'กี่บาด\'

Cr. Kanok Shokjaratkul 

ประเด็นที่สอง ความหาญกล้าในการสร้างสรรค์ สร้างโครงเรื่องโดยนำเอา 16 ลายของผ้าซิ่นแม่แจ่ม แต่ละชื่อนำมาเป็นชื่อตัวบท แล้วแต่ละตัวบทก็ประสานเป็นหนึ่งเดียวกับตัวหลัก

ประเด็นที่สาม เรื่องเพศสภาพ มีความปวดร้าวของผู้หญิง พื้นที่ของผู้หญิงคือการทอผ้า กี่เป็นชีวิตและจิตวิญญาณ เฉพาะผู้หญิงเท่านั้นที่จะทอผ้าได้ ในความจำกัดขอบเขต ผู้ใหญ่มองเห็นว่าแม้จะไม่ใช่ผู้หญิงแต่มีความสนใจทอผ้า ก็เปิดให้เพศทางเลือกได้เกิดขึ้นมาแล้วได้สืบสาน แสดงถึงความยืดหยุ่นใจกว้างของสังคมไทย ที่มองเห็นคนที่เห็นคุณค่าของการทอผ้า

\'ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด\' คว้า \'ซีไรต์\' ปี 67 จากนวนิยาย \'กี่บาด\'

Cr. Kanok Shokjaratkul 

ที่น่าสนใจคือ ทำให้ผ้าผืนหนึ่งได้เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง รายละเอียดที่หยิบยกมามีการศึกษาเป็นอย่างดี แต่ละบทเริ่มจาก หัวซิ่น ตัวซิ่น ตีนซิ่น วางโครงเรื่องได้อย่างเหมาะเจาะ บอกว่าผืนผ้ามีชีวิตและจิตวิญญาณ เป็นเรื่องเล่าที่มีความแปลกใหม่เก๋ไก๋มาก

กี่บาด ได้รับการยกย่อง เพราะใช้ของเดิมมาเล่าเรื่อง ทั้งสถานภาพสังคมและเพศทางเลือกได้ชวนติดตาม อ่านไม่ยาก มีการเล่นชั้นเชิงทางภาษา"

\'ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด\' คว้า \'ซีไรต์\' ปี 67 จากนวนิยาย \'กี่บาด\' Cr. Kanok Shokjaratkul 

  • นิยายเล่มแรกที่เขียนคือ กี่บาด 

ก่อนหน้า ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด ได้ไปร่วมงาน Novels of Life ซีไรต์ ไปให้สุด โฉมใหม่นวนิยายไทย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2567 เขาเล่าว่า

"เริ่มต้นงานเขียนในช่วงโควิด เพราะงานประจำบังคับให้อยู่แต่ในห้อง ไม่ได้ทำงาน 3 เดือน อยู่คนเดียวไม่ได้คุยกับใคร เกิดความคิดมากมาย ก็เลยเริ่มเขียนเรื่องสั้น จากนั้นก็เขียนนิยายเรื่อง กี่บาด เป็นเรื่องแรก

\'ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด\' คว้า \'ซีไรต์\' ปี 67 จากนวนิยาย \'กี่บาด\'

Cr. Kanok Shokjaratkul 

กี่บาด คือ คำพ้องเสียง ถ้าได้ยินแบบไม่เห็นตัวเขียน จะคิดว่า How much กี่บาท พอเราเขียนเป็น ด.เด็ก ก็กลายเป็น How many บาดแผลนี้โดนมากี่ครั้งแล้ว และความหมายสุดท้ายคือ กี่ทอผ้า มันทำร้ายคนทอผ้ายังไงได้บ้าง แม้กระทั่งตอนที่ทออยู่

เราไม่ใช่คนเหนือแต่เขียนเรื่องคนเหนือ เพราะดูสารคดีแม่แจ่มแล้วเหมือนวิญญาณของเรื่องราวของตัวละครเข้ามาสิง เกิดความรู้สึกแรงกล้ามาก ว่าฉันต้องเขียนเรื่องนี้ให้ได้ เหมือนเขาจับมือเราเขียนเรื่องราวไปเรื่อยๆ ชีวิตช่างทอผ้าใน อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

\'ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด\' คว้า \'ซีไรต์\' ปี 67 จากนวนิยาย \'กี่บาด\'

Cr. Kanok Shokjaratkul 

กี่บาด คือ ความงดงามระยิบระยับราวกับลายของผ้าซิ่นตีนจก แม้แต่บาดแผลของตุ๊ดตัวละครที่เจอก็เหมือนเป็นการสลักลวดลายเอาไว้ในชีวิตของตัวละครในแต่ละตัว"