กว่าจะมาเป็น ‘ศิลปิน’ สร้างสรรค์ ‘ศิลปะ’ ต้องเริ่มต้นที่...

กว่าจะมาเป็น ‘ศิลปิน’ สร้างสรรค์ ‘ศิลปะ’ ต้องเริ่มต้นที่...

หลากหลายความคิดเห็นของศิลปินหลายสาขา ที่จะมาบอกกับคนรุ่นใหม่ว่า ‘ศิลปะ’ ในยุคนี้ หรือการจะเป็น ‘ศิลปิน’ นั้น จะต้องทำอย่างไร

มูลนิธิเอสซีจี จัดงานประกาศผล ยุวศิลปินไทย 2567 รางวัล Young Thai Artist Award 2024 จำนวน 36 คน จากศิลปะ 6 สาขา ได้แก่ ศิลปะ 2 มิติ, ศิลปะ 3 มิติ, ภาพถ่าย, ภาพยนตร์, วรรณกรรม, การประพันธ์ดนตรี เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ภายในงานมีการเสวนา Art Talk หัวข้อ ศิลปะมีไว้เพื่อใคร? โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์) ปี 2565, อนุชา บุญยวรรธนะ ผู้กำกับภาพยนตร์, ลำพู กันเสนาะ จิตรกร, นักรบ มูลมานัส ศิลปินเจ้าของรางวัลสุพรรณหงส์, ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักแสดง นักจิตบำบัดด้วยศิลปะการเคลื่อนไหว 

  • ศิลปะ คืออะไร

ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์) ปี 2565 กล่าวว่า ศิลปะเกิดขึ้นมาในโลกหลายพันปีแล้ว ตั้งแต่คนเริ่มเขียนผนังถ้ำ ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีคำว่า ศิลปะ

"คำว่า ศิลปะ เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อ 100-200 ปีมานี่เอง มันยากมากที่จะบอกว่าศิลปะคืออะไร อริสโตเติล บอกว่าศิลปะคือการเลียนแบบ พูดแบบนี้ในวันนี้ไม่ได้เลยนะ แล้วมันก็เปลี่ยนมาเรื่อย ๆ ตามยุคสมัย โรแมนติกก็อย่างหนึ่ง เรียลลิสติกก็อย่างหนึ่ง โมเดิร์นอาร์ตยิ่งไปกันใหญ่

กว่าจะมาเป็น ‘ศิลปิน’ สร้างสรรค์ ‘ศิลปะ’ ต้องเริ่มต้นที่...

Cr. Kanok Shokjaratkul

ปิกัสโซ่ บอกว่า ศิลปะคือ abcdefghijk ไม่รู้อะไร ตอบให้เรางง ศิลปะเดี๋ยวนี้ ตัวใครตัวมันจริง ๆ เอาโถฉี่วางไว้ในมิวเซียมก็คือศิลปะ ศิลปินอิตาเลียนเอาขี้ใส่กระป๋องแล้วเอาไปประมูลก็เป็นศิลปะ ศิลปะมีความหลายหลาก คำจำกัดความของมันคือ สิ่งที่มนุษย์ทำ สร้างสรรค์ และมีความงาม

มีแต่มนุษย์เท่านั้นที่ได้รับสิ่งต่าง ๆ จากศิลปะ ภาษาที่ถ่ายทอดหรืออะไรก็แล้วแต่ อย่างสัตว์ มันไม่สื่อภาษาอะไรกับใคร ถ้าเราไปดูรังนกกระจาบ มันก็ไม่ได้คิดอะไร มันทำ ๆ ไปอย่างนั้นเอง แต่มนุษย์เหนือกว่านั้น วิเศษกว่านั้น มีภาษา จากภายในสู่ภายนอก และจากภายนอกมาสู่ตัวเอง

กว่าจะมาเป็น ‘ศิลปิน’ สร้างสรรค์ ‘ศิลปะ’ ต้องเริ่มต้นที่...

Cr. Kanok Shokjaratkul

กว่าจะมาเป็น ‘ศิลปิน’ สร้างสรรค์ ‘ศิลปะ’ ต้องเริ่มต้นที่...

Cr. Kanok Shokjaratkul

เรื่องการมีตัวตน อาร์ติสต์ไม่ได้คิด เขาอยากจะแสดงอะไรก็แสดงออกไป ตัวตนอยู่ที่คนอื่นมองมาต่างหากว่าเขามีตัวตนไหม ผมอายุ 77 แล้วยังไม่เจอตัวตนเลย ไม่จำเป็น อยู่ที่ว่าเราทำมันหรือเปล่า เราต้องทำมันสม่ำเสมอมาเรื่อย ๆ ตลอดชีวิต นั่นล่ะแล้วคนอื่นจะดูเราเองว่ามีตัวตนหรือเปล่า

ศิลปะของผมคือการเดินทาง ชีวิตเป็นยังไง ศิลปะก็เป็นอย่างนั้น สมัยหนุ่ม ๆ เป็นนักล่าเงินรางวัล พออายุมากขึ้นเป็นครูบาอาจารย์ก็ไม่อยากแข่งกับลูกศิษย์แล้ว มะเร็งก็เป็นมาแล้ว แล้วใช้ศิลปะนี่ล่ะบำบัด

ศิลปะในปัจจุบันสื่อเรื่องความคิดมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องใช้ฝีมือ บางงานไม่ได้ใช้ฝีมือเลย เราต้องมีทักษะในการดูงานศิลปะ ไปศึกษาว่าเขาแสดงออกกันยังไง ทักษะเป็นเรื่องสำคัญต้องเรียนรู้"

กว่าจะมาเป็น ‘ศิลปิน’ สร้างสรรค์ ‘ศิลปะ’ ต้องเริ่มต้นที่...

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ถ้าอยากสำเร็จ ต้อง ‘หมกมุ่น’

ลำพู กันเสนาะ จิตรกร กล่าวว่า เราทำงานศิลปะ เกิดจากตอนเด็ก ๆ เรียนวิชาไหนก็ไม่เก่งเลย แต่ศิลปะ เราทำได้

"เราก็ตั้งใจทำมาเรื่อย ๆ จนรู้สึกว่าเราไปทางนี้ได้ กลายมาเป็นอาชีพในทุกวันนี้ เป็นกิจวัตรประจำวัน ที่วาด Subject นี้ เพราะเราเข้าถึงมันได้มากที่สุด ถ่ายทอดออกมาสู่คนอื่นให้เข้าใจได้ง่าย

การได้รางวัล สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เงิน เรื่องความภาคภูมิใจ เกียรติยศ การมีคนเห็นคุณค่าเป็นสิ่งที่ตามมา แล้วเงินรางวัล Young Thai Artist Award ก็มากที่สุด คือ 300,000 บาท มันเปลี่ยนแปลงชีวิตเราได้

กว่าจะมาเป็น ‘ศิลปิน’ สร้างสรรค์ ‘ศิลปะ’ ต้องเริ่มต้นที่...

Cr. Kanok Shokjaratkul

คนที่มีพรสวรรค์ก็เหมือนคนที่มีต้นทุนที่ดี ส่วนคนที่จะมีกำไรได้ต้องเกิดจากความ หมกมุ่น เวลาที่เราคิดอยากจะทำอะไร ไม่เคยคิดว่ามันเป็นเรื่องยาก ถ้าเราอยากจะทำ ถ้าคนบนโลกทำได้เราก็ต้องทำได้ ถ้าเราอยากมีความสำเร็จในงานศิลปะใด ๆ เราต้องมีความหมกมุ่น

เพราะเราไม่ได้เริ่มมาจากคนที่มีพื้นฐานทางศิลปะหรือทำงานศิลปะได้ดี เวลาที่เราหมกมุ่นอะไร เราจะทำได้ดี เหมือนตอนสอบเข้าจิตรกรรม เป็นช่วงเวลาที่ตัดสินความเป็นความตาย ถ้าเราไม่ตั้งใจก็ไม่มีที่เรียนแล้ว เป็น 24 ชั่วโมงที่ตื่นขึ้นมาแล้วตั้งใจเรียน ฝึกซ้อมจนสอบเข้าได้ นั่นคือสิ่งที่เราหมกมุ่นจนทำให้เรามีทุกวันนี้ได้"

กว่าจะมาเป็น ‘ศิลปิน’ สร้างสรรค์ ‘ศิลปะ’ ต้องเริ่มต้นที่...

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • สร้าง ‘ลายเซ็น’ ให้ตัวเองต้องทำอย่างไร 

อนุชา บุญยวรรธนะ ผู้กำกับภาพยนตร์ กล่าวว่า ตอนที่ทำหนังคู่รักชายรักชาย เมื่อ 20 ปีก่อน สมัยนั้นยังไม่มีคำว่า ซีรีส์วาย

"ตอนเราทำหนังก็ไม่ได้คิดอะไรมากไปกว่าคำว่า คอลเล็คชั่น เวลาเราใช้ชีวิต แล้วพบเจออะไรที่มีความงาม พบเจอผู้คนที่เราชื่นชอบ พบเจอคาแรคเตอร์ หรือว่าเหตุการณ์อะไรที่เราประทับใจ เราก็เอาสิ่งนั้นมาใส่ในหนังของเรา

กว่าจะมาเป็น ‘ศิลปิน’ สร้างสรรค์ ‘ศิลปะ’ ต้องเริ่มต้นที่... Cr. Kanok Shokjaratkul

หนังเรื่อง ตามสายน้ำ ที่ได้รางวัล Young Thai Artist Award ตอนนั้นทำเป็นหนังยาว 50 นาที เราทำเพราะเรามีความเข้าใจเพศหลากหลาย เราชอบดอกไม้รองเท้านารี ก็ใส่เข้าไป ชอบน้ำตก ก็ใส่เข้าไป สมุดเก็บดอกไม้ที่เห็นในหนัง ก็เป็นสมุดที่เราเก็บดอกไม้จริง ๆ

เฟรมของภาพยนตร์ก็เป็นสิ่งที่มีความงามในมุมของเรา แล้วร้อยเรื่องทุกอย่างให้มันผสานเป็นหนึ่งเดียว แต่ถ้าเรามีอันนั้นอันนี้อยากใส่แล้วใส่ไปเยอะ ๆ มันก็มั่ว เราต้องคิดว่าอันนี้ยังใส่ในงานนี้ไม่ได้ก็ใส่ในงานหน้า

กว่าจะมาเป็น ‘ศิลปิน’ สร้างสรรค์ ‘ศิลปะ’ ต้องเริ่มต้นที่...

Cr. Kanok Shokjaratkul

สิ่งที่เราให้ความสำคัญคือ เราจะตอบแทนสังคมยังไง เรามีหน้าที่ที่ต้องสื่อสารประเด็นสังคมบางอย่างออกไป อย่าคิดจับจดอยู่กับความเป็นส่วนตัว เอาประเด็นที่โกลบอลหรืออินเตอร์เนชั่นนอลหน่อย จะสื่อสารยังไง

การเลือกหนังไปฉายในฟิล์มเฟสติวัลเขาจะเลือกหนังที่มีความเชื่อมโยงถึงกัน ถ้าเรื่องเป็นไทยมาก เป็นส่วนตัวมาก เขาก็ไม่อิน ไม่เอาไปฉาย

กว่าจะมาเป็น ‘ศิลปิน’ สร้างสรรค์ ‘ศิลปะ’ ต้องเริ่มต้นที่...

Cr. Kanok Shokjaratkul

ถ้าถามเรื่องลายเซ็น ในมุมมองของนุชี่ 1) เราต้องสร้างงานขึ้นมาก่อน 2) งานนั้นต้องฉายให้คนดู 3) เราต้องดูงานศึกษางานของตัวเองด้วย อันไหนทำแล้วดี ก็เอาสิ่งนั้นมาเป็นลายเซ็นของเราได้ แล้วต้องเกิดจากการสั่งสม งานของเราจะมีดอกไม้ มีมุมถ่ายภาพในป่า มีตัวละครที่เป็น LGBT นี่คือสิ่งที่คนดูบอกว่าเขาจำลายเซ็นเราได้"

กว่าจะมาเป็น ‘ศิลปิน’ สร้างสรรค์ ‘ศิลปะ’ ต้องเริ่มต้นที่...

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ศิลปะร่วมสมัย เปิดกว้างให้กับทุกสิ่ง 

นักรบ มูลมานัส ศิลปินเจ้าของรางวัลสุพรรณหงส์ กล่าวว่า ตัวเองแตกต่างจากศิลปินท่านอื่น ๆ ตรงที่ไม่ได้เรียนมาทางด้านศิลปะ แต่จบด้านอักษรศาสตร์มา

"เรามีภาพในหัว เรามีความคิด แต่เราวาดรูปไม่สวย เราก็พยายามทำโน่นนี่นั่น แล้วความเป็นงาน ศิลปะร่วมสมัย มันเปิดกว้างพอที่เราจะใช้เทคนิคบางอย่างที่เราไม่ได้ทำด้วยมือเราเอง

กว่าจะมาเป็น ‘ศิลปิน’ สร้างสรรค์ ‘ศิลปะ’ ต้องเริ่มต้นที่...

Cr. Kanok Shokjaratkul

เริ่มจากเป็นคนเก็บสิ่งของเก่า ๆ อยู่แล้ว ภาพสิ่งพิมพ์อะไรต่าง ๆ เราสนใจงานศิลปะวัฒนธรรม ก็หาวิธีการประดิษฐ์ภาพในหัวของเราออกมาโชว์ได้ นี่คือจุดเริ่มต้นของการทำ คอลลาจ

คอลลาจ มีแง่มุมที่น่าสนใจ สังคมทุกวันนี้ประกอบสร้างมาจากสิ่งที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เราสร้างภาพที่มาจากยุคสมัยที่แตกต่างกัน มีส่วนประกอบของอดีตและอนาคต

กว่าจะมาเป็น ‘ศิลปิน’ สร้างสรรค์ ‘ศิลปะ’ ต้องเริ่มต้นที่...

Cr. Kanok Shokjaratkul

พูดถึงความสอดคล้อง บางทีก็มีความขัดแย้ง เป็นภาวะที่บอกถึงโลกปัจจุบันของมนุษย์ที่เต็มไปด้วยสิ่งต่าง ๆ ที่บางทีเราก็หาคำตอบไม่ได้ จากการทำคอลลาจ 2 มิติ ก็ค่อย ๆ ทำเป็นอินสตอลเรชั่น ทำเป็นปฏิมากรรม ทำเป็นสื่อผสมมากขึ้น

ประวัติศาสตร์ศิลปะมันเอื้อให้คนในยุคสมัยใหม่หามีเดียต่าง ๆ มาตอบโจทย์ ทั้งในเชิงคอนเซปต์และในเชิงวิธีการมากขึ้น มีความกว้างขวางมากขึ้น จากตอนเด็ก ๆ ภาพยนตร์อยู่ในส่วนหนึ่ง ภาพประกอบอยู่ในส่วนหนึ่ง

กว่าจะมาเป็น ‘ศิลปิน’ สร้างสรรค์ ‘ศิลปะ’ ต้องเริ่มต้นที่...

Cr. Kanok Shokjaratkul

ทุกวันนี้ทุก ๆ อย่างมันค่อย ๆ กลายเป็นอาณาบริเวณที่อยู่รอบกันมากขึ้น ทุกคนบูรณาการออกมาเป็นมัลติดิสเพลย์มากขึ้น ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่มีทักษะหรือไม่มีทักษะ พรมแดนของศิลปะร่วมสมัยมันทำให้ทุกคนทำงานศิลปะได้ ทุกคนเป็นศิลปินได้ ไม่ว่าคุณจะมีข้อจำกัดอะไรต่าง ๆ ก็ทำในสิ่งที่คุณให้นิยาม และเป็นศิลปะได้

เราสามารถเอาทักษะต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับศิลปะ 100% หยิบจับสิ่งนั้นมาอยู่ในงานได้ สิ่งสำคัญในการทำชิ้นงานศิลปะคือการที่เราเปิดตา เปิดใจ เปิดหู ไปดูงานศิลปะต่าง ๆ ที่เขาจัด เพื่อหาแรงบันดาลใจ

กว่าจะมาเป็น ‘ศิลปิน’ สร้างสรรค์ ‘ศิลปะ’ ต้องเริ่มต้นที่...

Cr. Kanok Shokjaratkul

เวลาไปดูงานแล้วมีสิ่งต่าง ๆ มากระทบกับใจเรา มีประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม มีเรื่องแรงงาน ทำให้เราได้เรียนรู้ วัยเรียน วัยเริ่มต้นทำงาน เป็นวัยที่เราตื่นเต้น เปิดรับทุกโสตประสาท ทุกสัมผัสของเรามันเร้ากับสิ่งที่เราพบเจอ

แล้วทุกวันนี้ก็มีโอกาสมากขึ้น มีเวทีประกวด มีพื้นที่แสดงงานศิลปะ เต็มไปหมด อยู่ที่ว่าเราจะค้นหาตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน สั่งสมประสบการณ์และสิ่งที่เรารับรู้แล้วทำให้มันออกมาเป็นชิ้นงานได้อย่างไร"

กว่าจะมาเป็น ‘ศิลปิน’ สร้างสรรค์ ‘ศิลปะ’ ต้องเริ่มต้นที่...

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • เข้าใจตัวเองมากขึ้น ด้วย 'ศิลปะ'

ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักแสดง นักจิตบำบัดด้วยศิลปะการเคลื่อนไหว กล่าวว่า ศิลปะในมุมมองของการบำบัดคือการสื่อสาร

"เวลาพูดถึงการสื่อสาร คนมักเข้าใจว่า เป็นการสื่อสารจากโลกข้างในไปสู่โลกข้างนอก แต่ถ้าเราต้องการเข้าใจโลกข้างนอก เรามีศิลปะเป็นตัวกลางสื่อสารเข้ามาสู่ตัวเรา

กว่าจะมาเป็น ‘ศิลปิน’ สร้างสรรค์ ‘ศิลปะ’ ต้องเริ่มต้นที่...

Cr. Kanok Shokjaratkul

การนำศิลปะมาบำบัดผู้คน เราเริ่มจากการเป็นนักแสดง เข้ากลุ่มละครที่ชอบพูดประเด็นสังคมผ่านงานศิลปะ วันหนึ่ง ซ้อมเสร็จกลับบ้าน อยู่ดี ๆ ก็มีความทรงจำบางอย่างที่ลืมไปแล้ว เกิดขึ้นมา แล้วมันก็เกิดมากขึ้น  มันทำงานบางอย่างกับโลกข้างในเราไปด้วยคู่ขนานกัน

เราอยากเข้าใจว่าศิลปะมันทำงานอย่างไรกับจิตใจและโลกข้างใน แล้วถ้าเราจะจัดการโลกข้างในของเราผ่านกระบวนการทางศิลปะจะทำยังไงให้ควบคุมมันได้ ก็ไปเรียนศาสตร์ศิลปะการเคลื่อนไหวเพื่อการเยียวยาดูแล

กว่าจะมาเป็น ‘ศิลปิน’ สร้างสรรค์ ‘ศิลปะ’ ต้องเริ่มต้นที่...

Cr. Kanok Shokjaratkul

มันเป็นเหมือนถนนสองเลนที่ใช้ร่วมกัน แต่เป้าหมายปลายทางตรงกันข้าม อันหนึ่งเอาเรื่องข้างในส่งออกเพื่อสื่อสารกับโลกข้างนอก แต่อีกเส้นหนึ่ง ไม่มีคนข้างนอก แต่สื่อสารฉายกลับมาข้างในให้ตัวเราเป็นทั้งผู้สร้าง ผู้ทำ ผู้ดู เพื่อให้เกิดความเข้าอกเข้าใจ

เพราะในโลกใบนี้เราอาจจะไม่ได้เข้าใจทุกอย่าง บางเรื่องก็หนักหนาสำหรับตัวเราที่เราจะเผชิญหน้ากับมันตรง ๆ กระบวนการทางศิลปะมีอะไรบางอย่างที่ทำให้เรากล้ามองมากขึ้น อยู่กับมันนานขึ้น ใคร่ครวญกับมันมากขึ้น เห็นชัดขึ้น เข้าใจขึ้น ย่อยปั๊บ ยอมรับ ซึมซับประสบการณ์ กลายเป็นความเข้าใจ เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโต

กว่าจะมาเป็น ‘ศิลปิน’ สร้างสรรค์ ‘ศิลปะ’ ต้องเริ่มต้นที่...

Cr. Kanok Shokjaratkul

ตอนเราเรียนรู้ศาสตร์แต่ละอย่างมันแยกชิ้นกัน มีกรอบ มีขอบเขต มันทำให้เราสัมพันธ์กับโลก ณ ปัจจุบันไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้นการลดกรอบ เป็นสิ่งแรกที่เราทำได้ ถ้าเรากล้าผนวกสิ่งต่าง ๆ กล้าทดลอง โดยไม่ต้องรีบนิยาม ไม่งั้นมันจะปิดกั้นความเป็นไปได้

การเชื่อมโยงลากจูงผสมไปเรื่อย ๆ แล้วก็ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนเกิดความเสถียรบางอย่างจนเกิดสิ่งใหม่ได้จริง ๆ

กว่าจะมาเป็น ‘ศิลปิน’ สร้างสรรค์ ‘ศิลปะ’ ต้องเริ่มต้นที่...

Cr. Kanok Shokjaratkul

มีศิลปะมากมายที่ผสมกลมกลืนไปกับชีวิตได้ ลองเปิดอานุภาพตรงนั้นจะทำให้คนเห็นศักยภาพเต็มไปหมด และเมื่อจะเอาไปใช้ ก็ต้องเลือกว่า ศิลปะที่ทำออกมามีวัตถุประสงค์อะไร ลดกรอบแล้วใช้ความกล้าหาญ"