ใครๆก็เรียกว่า 'ทิพย์เกสร' ไม้ล้มลุก กินแมลง กระจายอยู่อีสานเหนือ
ทำความรู้จักไม้ล้มลุก กินแมลง ใครๆก็เรียกว่า "ทิพย์เกสร" กระจายอยู่ทั่วอีสานเหนือ ลักษณะเด่นดอกสีม่วงอ่อนแกมชมพู ดักจับแมลงเป็นอาหาร ชื่อดั้งเดิมว่า "หญ้าสีฝอยเล็ก" พร้อมเปิดบทกลอน คำกลอนทิพย์เกสร ไพเราะชวนฟัง
เผยโฉม "ทิพย์เกสร" ที่ใครๆ อยากรู้จัก! ทำความรู้จักไม้ล้มลุก กินแมลง ใครๆก็เรียกว่า "ทิพย์เกสร" กระจายอยู่ทั่วอีสานเหนือ ลักษณะเด่นดอกสีม่วงอ่อนแกมชมพู ดักจับแมลงเป็นอาหาร ชื่อดั้งเดิมว่า "หญ้าสีฝอยเล็ก" พร้อมเปิดบทกลอน คำกลอนทิพย์เกสร ไพเราะชวนฟัง
ทำความรู้จัก "ทิพย์เกสร" ที่ใครๆ อยากรู้จัก
- ทิพย์เกสร มีชื่อดั้งเดิมว่า "หญ้าสีฝอยเล็ก"
- Utricularia minutissima Vahl.
- วงศ์ LENTIBULARIACEAE
ไม้ล้มลุก กินแมลง ลำต้นเล็กมากอยู่ใต้ดิน ใบเดี่ยวขนาดเล็กรูปแถบ และมีใบที่เปลี่ยนรูปเป็นถุงขนาดเล็ก สำหรับดักจับแมลงเป็นอาหาร
ดอกออกเป็นช่อ 1-3 ดอก ก้านช่อดอกสูง 10-30 ซม. ดอกย่อยสีม่วงอ่อนแกมชมพู ผลเป็นผลแห้งชนิดแตกเมื่อแก่
"ทิพย์เกสร" พบได้ที่ไหนบ้าง?
"ทิพย์เกสร" พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย เช่น ไทย, อินเดีย, ศรีลังกา, พม่า, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, จีน, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, สุมาตรา, บอร์เนียว, ฟิลิปปินส์, นิวกินิ, ออสเตรเลีย
ในประเทศไทยพบขึ้นกระจายอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ตามบริเวณลานหินทรายน้ำขังและพื้นที่โล่งชุ่มน้ำ
พบที่จังหวัดเชียงใหม่, เลย, อุบลราชธานี, กาญจนบุรี, สระแก้ว, ชลบุรี, จันทบุรี, ตราด, สุราษฎร์ธานี, พังงา, สงขลา, ปัตตานี, และนราธิวาส
พบตามพื้นที่ชื้นแฉะ เปิดโล่ง มักพบบนดินทราย ในระดับความสูง 0-1,300 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ออกดอก ออกผลช่วงเดือนสิงหาคม-ธันวาคม
คำกลอน "ทิพย์เกสร"
"ทิพย์เกสรโอนอ่อนไหวยามใกล้ค่ำ
สวยเด่นล้ำชมพูนุจดุจหยาดฟ้า
ให้ลุ่มหลงวาบหวามงามตรึงตา
สวยเกินกว่าธรรมชาติได้วาดไว้"
อ้างอิง-ภาพ : ดร.วีระชัย ณ นคร อดีตผู้อำนวยการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ , สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ , กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช