ประวัติแกะสลักเทียนพรรษา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม วันเข้าพรรษา 2567

ประวัติแกะสลักเทียนพรรษา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม วันเข้าพรรษา 2567

ประวัติแกะสลักเทียนพรรษา งานช่างฝีมือดั้งเดิม มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จ.ร้อยเอ็ด ขึ้นทะเบียนปี 2560 ซอฟต์พาวเวอร์ไทย Soft Power แกะสลักเทียนพรรษาเกิดขึ้นเมื่อใด? เช็กปฏิทินท่องเที่ยวไทย เดือนกรกฎาคม 2567 งานบุญ วันเข้าพรรษา 2567 งานประเพณีแห่เทียนพรรษา 2567 ทั่วไทย

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" พามาเปิด"ประวัติแกะสลักเทียนพรรษา" งานช่างฝีมือดั้งเดิม มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ระดับจังหวัด ขึ้นทะเบียนปี 2560 จังหวัดร้อยเอ็ด ซอฟต์พาวเวอร์ไทย Soft Power แกะสลักเทียนพรรษาเกิดขึ้นเมื่อใด? ความหมายแกะสลักเทียน ต้นเทียนขี้ผึ้ง

พร้อมเช็กปฏิทินท่องเที่ยวไทย เดือนกรกฎาคม 2567 งานบุญ "วันเข้าพรรษา 2567" งานประเพณีแห่เทียนพรรษา 2567 ทั่วไทยต้องไปให้ได้รวมมาให้แล้ว

ประวัติแกะสลักเทียนพรรษา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม วันเข้าพรรษา 2567

ใกล้เข้ามาแล้วกับวันเข้าพรรษา 2567 วันสำคัญในพุทธศาสนาอีกวันหนึ่งที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดระยะเวลา "ฤดูฝน" ที่มีกำหนดระยะเวลา 3 เดือนตามที่พระวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือภาษาปากที่คุ้นชินว่า "จำพรรษา" นั่นเอง ซึ่งในปีนี้ วันเข้าพรรษา 2567 ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม 2567 แรม 1 ค่ำ เดือน 8 

และในวันเข้าพรรษา อีกหนึ่งกิจกรรมที่ขาดไม่ได้คือ ประเพณีถวายเทียนพรรษา เป็นประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันเรื่อยมาก็คือ ประเพณีหล่อเทียนพรรษา สำหรับให้พระภิกษุและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์

ซึ่งเทียนพรรษาสามารถอยู่ได้ตลอด 3 เดือน และเป็นกุศลทานอย่างหนึ่งในการให้ทานด้วยแสงสว่าง ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นงานประเพณี "ประกวดเทียนพรรษา" การแกะสลักเทียน ของแต่ละจังหวัด

ประวัติแกะสลักเทียนพรรษา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม วันเข้าพรรษา 2567

ประวัติแกะสลักเทียนพรรษา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม วันเข้าพรรษา 2567

การถวายขี้ผึ้งหรือเทียน เป็นความเชื่อของชาวไทยที่นับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ดส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาและยังคงยึดถือประเพณีและปฏิบัติตาม ฮีตสิบสองคลองสิบสี่ 

เมื่อถึงงานบุญประเพณีเข้าพรรษา ซึ่งเป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับศรัทธา ความเชื่อในทางพระพุทธศาสนา ที่ชุมชนจะทำต้นเทียนพรรษาแห่เทียนไปถวายพระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาในแต่ละวัดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปถวาย แด่พระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาในคุ้มวัดของตนเอง

พร้อมกับผ้าอาบน้ำฝนและเครื่องไทยทานต่างๆ เพื่อให้พระจุดบูชาคุณพระพุทธหรือใช้จุดเป็นแสงสว่างในการศึกษา ถ้าเทียนเล็กก็จะใช้เป็นเทียนบูชาครู หรือเทียนขันธ์ 5 ขันธ์ 8 หรือเทียนบูชาธรรม

ประวัติแกะสลักเทียนพรรษา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม วันเข้าพรรษา 2567

ประวัติแกะสลักเทียน ต้นเทียนพรรษา แกะสลักเทียนพรรษาเกิดขึ้นเมื่อใด? 

ต้นเทียนประเภทแกะสลักเป็นต้นเทียนสมัยใหม่ทำเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2502 นายคำเหมา แสงงาม ชาวจังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้ริเริ่มนำเอาแม่แบบของลายไทยมาใช้กับการแกะลายเทียน การประกวดเทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียง นายคำเหมา แสงงาม และคณะศิษย์ได้รับรางวัลชนะเลิศประจำทุกปีเสมอมา 

ประวัติแกะสลักเทียนพรรษา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม วันเข้าพรรษา 2567

นายครุฑ ภูมิแสนโคตรชาวบ้านทรายขาว ตำบลนาเมือง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้สืบทอดรูปแบบการทำเทียนพรรษา ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ คือ จะมีตีน เอว คอ ยอด รวม 4 ท่อน ตามแบบ พ่อครู ดร.คำเหมา แสงงาม และ พ่อครู อ.เมธา คำบุตร มาทำเทียนตามรูปแบบการทำเทียนพรรษาของจังหวัดร้อยเอ็ดครั้งแรกเมื่อปี 2525 

โดยแกะสลักเทียนพรรษาเพื่อเข้าประกวดให้กับชาวบ้านดงประเสริฐ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด การทำเทียนในปีนั้นถือว่าเป็นผลสำเร็จ ได้รับรางวัลชนะเลิศ อันดับ 1

ต่อมาก็แกะสลักเทียนให้วัดป่าขวัญเมือง วัดเสลภูมิ วัดศรีทองนพคุณ วัดเหนือ วัดมิ่งเมือง วัดเหนือ ประมาณ 10 กว่าปี โดยได้รับรางวัลชนะเลิศทุกครั้ง

ในปี 2544 ได้แกะสลักเทียนให้กับวัดบึงพลาญชัย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงตัดสินใจที่จะไม่ทำเทียนอีก จะทำแต่โบสถ์ ศาลา ประตูโขง หรืองานปูน และตกแต่งบั้งไฟเท่านั้น

ต่อมาในปี 2547 หลวงพ่อสุวรรณ สิริจฺนโท วัดราษฎรอุทิศ และนายนพคุณ เขตคาม ได้ไปตามให้มาแกะสลักเทียนให้วัด จึงได้กลับมาแกะสลักเทียนพรรษาอีกครั้งหนึ่ง ผลงานในปีนั้นได้รับรางวัลชนะเลิศ ปีที่ 2 ก็ได้รับรางวัลชนะเลิศอีกครั้ง 

ท่านหลวงพ่อพระครูปริยัตรวัฒนโชติ วัดสระแก้ว จึงขอให้ไปแกะสลักเทียนที่วัดท่านบ้างในปีต่อมา และได้แกะสลักเทียนพรรษาให้กับวัดป่าเรไร วัดท่านคร ได้รับรางวัลชนะเลิศต่อเนื่อง 11 ปี

ปี 2557 นายสาธิต กฤตลักษณ์ เลขานุการนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ได้เห็นความสำคัญในการเผยแพร่การทำเทียน จึงได้เชิญ มาเป็นวิทยากรสอนการแกะสลักเทียน ในปีนี้เอง นายบรรจง โฆษิตจิรนันท์ นายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด มองเห็นความสำคัญในรูปลักษณ์ หรือเอกลักษณ์ต้นเทียนพรรษาของเมืองร้อยเอ็ด กลัวจะสูญหาย 

เพราะทุกวันนี้จะทำเป็นรถต้นเทียน จึงได้เชิญให้มาดูสถานที่ที่จะตั้งต้นเทียนเพื่อจัดแสดงเทียนให้อนุชนรุ่นหลังได้เป็นแหล่งเรียนรู้ และให้เป็นผู้ถ่ายทอดผลงานการแกะสลักเทียนด้วยลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวร้อยเอ็ด

ซึ่งจัดแสดงอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2558 ในพิพิธภัณฑ์เทียนพรรษาเมืองร้อยเอ็ด ณ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

ประวัติแกะสลักเทียนพรรษา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม วันเข้าพรรษา 2567

เอกลักษณ์แกะสลักเทียนเมืองร้อยเอ็ด ความหมายแกะสลักเทียน ต้นเทียนขี้ผึ้ง

การแกะสลักเทียนเมืองร้อยเอ็ด การทำและรูปทรงจะแตกต่างจากที่อื่น คือ จะมี ฐาน 1 (ตีน) ฐาน 2 (เอว) เป็นจุดเด่นของเทียน ในท่อนที่ 3 ต้นเทียน เป็นที่บ่งบอกความหมายประวัติของพระพุทธเจ้า 

ยอดท่อนที่ 4 จะเป็นยอดบัวลูกแก้ว 3 ชั้น การหล่อจะทำทั้ง 4 ท่อน แล้วกลึงให้ได้รูปร่างก่อน ค่อยแกะสลักลวดลาย ลายที่ใช้ในการแกะสลัก ส่วนมากจะใช้ลายบัว เช่น บัวคว่ำ บัวหงาย บัวลูกแก้ว บัวกลีบขนุน บัวแดง บัวสัตบุศ เป็นต้น 

เทียนเมืองร้อยเอ็ดที่นำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เทียนพรรษาเมืองร้อยเอ็ด ณ สถานแสดงพันธ์สัตว์น้ำ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร สูง 4 เมตร 70 เซนติเมตรประกอบด้วยลวดลายการแกะสลัก 

ความหมายแกะสลักเทียน ต้นเทียนขี้ผึ้ง

ฐาน 1 (ตีนหรือฐานแรก) แกะเป็นลายกรวยเชิง ลายบัวคว่ำ 

ฐาน 2 (เอว) แกะเป็นลายลูกฟักก้ามลายอุบะบัวคว่ำ บัวหงาย ลายร้อยกนก บัวคว่ำ ลูกแก้วรักร้อย บัวกาบปลี ต้นเทียน จะผูกเป็นลายก้านเย่ง ใบเทศผสมช่อกนกเปลวเพลิง 

ซุ้มทั้ง 4 แกะเป็นรูปพุทธประวัติจะแกะสลักเป็นภาพสังเวชนียสถาน 4 คือ ประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมจักร ปรินิพพานหมายถึง เกิดขึ้น เรียนรู้ สั่งสอน แล้วก็ดับ เป็นสัจธรรม คือธรรมชาติของสังขาร

ช่อง 2 หมายถึง ธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ คือ ชีวิตของสัตว์โลกทั้งหลาย ตั้งแต่เสี้ยววินาทีที่เกิดขึ้นจะถูกกาลเวลา (ลายหน้ากาล) กลืนกินชีวิตทุกเสี้ยววินาที 

ลายช่อกนกเปลวเพลิง หมายถึง ชีวิตเมื่อดับไปแล้ว ย่อมไปตามผลของกรรม คือ การกระทำ เช่น เราทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี เราทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว ดังเช่นพุทธภาษิตตรัสไว้ หว่านพืชเช่นไร ก็ได้ผลเช่นนั้น 

ยอดท่อนที่ 4 แกะสลักเป็นยอดบัวลูกแก้ว 3 ชั้น หมายถึง วัฐจักร 3 คือ กิเลส ความเศร้าหมอง กรรม คือ การกระทำ วิบาก คือ ผลของกรรม

การแกะสลักเทียนเป็นการสร้างงานศิลปะที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เนื่องจากชาวพุทธจะนำเทียนไปถวายวัดในวันเข้าพรรษา เพื่อให้พระจุดบูชาคุณพระพุทธหรือใช้จุดเป็นแสงสว่างในการศึกษา เป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่สื่อให้เห็นถึงความละเมียดละไมทางจิตใจ และความคิดสร้างสรรค์ของช่างแกะสลัก 

ปฏิทินท่องเที่ยวไทย เดือนกรกฎาคม 2567 งานบุญ งานประเพณีแห่เทียนพรรษา 2567 ทั่วไทยต้องไปให้ได้รวมแล้ว

  • งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี จัดงานตั้งแต่วันที่ 17-23 กรกฎาคม 2567 ณ บริเวณโดยรอบทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • งานประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษาและถวายเทียนพระราชทาน จัดงานตั้งแต่วันที่ 19-21 กรกฎาคม 2567 ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
  • งานแห่เทียนโคราช จัดงานตั้งแต่วันที่ 20 - 21 กรกฎาคม 2567 ณ บริเวณลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
  • งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาและตักบาตรบนหลังช้าง จัดงานตั้งแต่วันที่ 19-20 กรกฎาคม 2567 ณ อนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดี ศรีณรงค์จางวาง จังหวัดสุรินทร์
  • ประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำ จัดงานวันที่ 20 กรกฎาคม 2567 ณ ชุมชนริมน้ำคลองลาดชะโด อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ประเพณีแห่เทียนพรรษา อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด จัดงานวันที่ 16-22 กรกฎาคม 2567 ณ บริเวณหน้าโรงเรียนเมืองเกษตรพิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

 

ประวัติแกะสลักเทียนพรรษา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม วันเข้าพรรษา 2567

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ปฏิทินท่องเที่ยวไทย เดือนกรกฎาคม 2567 งานบุญ งานประเพณีแห่เทียนพรรษา (คลิก)

 

ประวัติแกะสลักเทียนพรรษา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม วันเข้าพรรษา 2567

 

อ้างอิง-ภาพ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม