อัปเดต "โควิดวันนี้" 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด กทม. 2990 จับตา บุรีรัมย์ ชลบุรี ปากน้ำ
เกาะติดเช็คอัปเดตล่าสุด "โควิดวันนี้" 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด กทม. ยอด 2990 ราย จับตา บุรีรัมย์ ชลบุรี ปากน้ำสมุทรปราการ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ ขอนแก่น อุบลราชธานี และมหาสารคาม
อัปเดตต่อเนื่อง เกาะติดสถานการณ์ โควิดวันนี้ 5 พ.ค. 65 เกาะติดความคืบหน้า 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด จากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ตรวจสอบอัปเดต 10 จังหวัด อันดับพบผู้ติดเชื้อโควิดสูงสุด
รายงานวันนี้ ผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศรายใหม่ วันที่ 5 พฤษภาคม 2565 ตรวจสอบ 10 จังหวัดอันดับ
05/05/2565 กรุงเทพมหานคร หรือ กทม. ยอดติดเชื้อโควิดสูงสุดอันดับ 1 ของประเทศ ตามด้วย บุรีรัมย์ ชลบุรี ปากน้ำสมุทรปราการ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ ขอนแก่น อุบลราชธานี และมหาสารคาม
วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2565 เวลา 12.30 น.
สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ
ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565
ผู้ป่วยรายใหม่ 9,790 ราย
ผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,077,179 ราย
หายป่วยแล้ว 2,001,925 ราย
เสียชีวิตสะสม 7,216 ราย
----------------------------
ข้อมูลสะสมตั้งแต่ปี 2563
ผู้ป่วยยืนยันสะสม 4,300,614 ราย
หายป่วยแล้ว 4,170,419 ราย
เสียชีวิตสะสม 28,914 ราย
ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 - 4 พฤษภาคม 2565
มีผู้รับวัคซีน สะสมทั้งหมด จำนวน 134,175,785 โดส
----------------------------
วันที่ 4 พฤษภาคม 2565 มีผู้รับการฉีดวัคซีน
เข็มที่ 1 จำนวน 17,808 ราย
เข็มที่ 2 จำนวน 47,584 ราย
เข็มที่ 3 จำนวน 79,417 ราย
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19
ศูนย์ข้อมูลCOVID19
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก
วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2565 เวลา 10.00 น.
ยอดผู้ติดเชื้อรวม 515,327,840 ราย
อาการรุนแรง 40,615 ราย
รักษาหายแล้ว 469,866,848 ราย
เสียชีวิต 6,269,507 ราย
อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 83,356,490 ราย
2. อินเดีย จำนวน 43,091,299 ราย
3. บราซิล จำนวน 30,502,501 ราย
4. ฝรั่งเศส จำนวน 28,805,690 ราย
5. เยอรมนี จำนวน 25,116,363 ราย
ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 24 จำนวน 4,300,614 ราย
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19
ศูนย์ข้อมูลCOVID19
สธ. เผยแนวทางการจัดตั้ง ‘คลินิกรักษาผู้ป่วย Long COVID’ ให้คำปรึกษา – ส่งต่อแพทย์เฉพาะทาง
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เผยแพร่แนวทางการจัดตั้ง “คลินิกรักษาผู้ป่วย Long COVID” โดยแบ่งแนวทางการจัดการออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่
1. ด้านการให้บริการ 2. ด้านบุคลากรที่ให้บริการ 3. ระบบสารสนเทศในการดำเนินการ
4. การเข้าถึงระบบ ผลิตภัณฑ์ และบริการ 5. ระบบการเงินการคลัง 6. ภาวะผู้นำการอภิบาล
สำหรับแนวทางการจัดตั้ง “คลินิกรักษาผู้ป่วย Long COVID” คือการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการตั้งคลินิกรักษาผู้ป่วย Long COVID ขึ้นในโรงพยาบาลทุกระดับ โดยให้บริการแบบผู้ป่วยนอก ผ่านการนัดหมายการรับบริการหรือให้บริการผ่านระบบพบแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ทั้งคลินิก Long COVID และคลินิกเสมือนจริง (Virtual clinic)
ในส่วนของรูปแบบ คลินิกจะให้บริการแบบผู้ป่วยนอก ผ่านการนัดหมายการรับบริการหรือให้บริการผ่านระบบพบแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ทั้งคลินิก Long COVID และคลินิกเสมือนจริง (Virtual clinic) โดยสถานที่และวันเวลานั้น ใช้การจัดตั้งในสถานพยาบาลทุกระดับ โดยเฉพาะหน่วยบริการระดับปฐมภูมิเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้สะดวกรวดเร็ว ซึ่งจะเปิด-ปิด ตามเวลาราชการ หรืออาจดำเนินการเฉพาะวันโดยเน้นระบบการนัดหมายล่วงหน้า
ที่มา : กรมการแพทย์
กทม. เปิดจองฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ผ่าน แอปฯ QueQ
สอบถามเพิ่มเติม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โทร. 0 2203 2883
ที่มา : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์