"ฝีดาษลิง" ปัจจัย 5 ข้อ ทำไมถึงมีความยุ่งยากในการควบคุมโรค
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) โพสต์เฟซบุ๊กประเด็นโรค "ฝีดาษลิง" ซึ่งแม้ว่าจะยังไม่มีรายงานพบ "ฝีดาษลิงในไทย" อย่างไรก็ตาม หมอยง ระบุว่า โรคนี้มีความยุ่งยากในการควบคุมโรค โดยแบ่งออกเป็น 5 ข้อ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กประเด็นโรค "ฝีดาษลิง" ซึ่งแม้ว่าจะยังไม่มีรายงานพบ "ฝีดาษลิงในไทย" อย่างไรก็ตาม หมอยง ระบุว่า โรคนี้มีความยุ่งยากในการควบคุมโรค โดยแบ่งออกเป็น 5 ข้อด้วยกัน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- "ฝีดาษลิง" เผยตัวเลขผู้ติดเชื้อ เช็ก 4 อาการที่พบมากสุด อัปเดต ฝีดาษลิงในไทย
- "ฝีดาษลิง" เทียบการติดต่อกับโควิด-19 คนทั่วไปควรฉีดวัคซีนหรือยัง?
- "ฝีดาษลิงในไทย" อัปเดตล่าสุด ผู้สัมผัสใกล้ชิด 12 ราย เช็กอาการเข้าข่ายไหม?
โดย หมอยง ได้โพสต์ถึงประเด็นโรค "ฝีดาษลิง" พร้อมยกปัจจัย 5 ข้อเกี่ยวกับความยุ่งยากในการควบคุมโรค โดยระบุว่า ฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิง ที่ระบาดในปีนี้ในยุโรปและอเมริกามีผู้ป่วยร่วม 500 ราย ส่วนใหญ่เพศชายถึง 98% และอยู่ในวัยเจริญพันธุ์อายุ 20 ถึง 50 ปี
ปัจจัย 5 ข้อเกี่ยวกับความยุ่งยากในการควบคุมโรค ดังนี้
1.อาการของโรคไม่ได้รุนแรงแบบไข้ทรพิษ ยังไม่มีใครเสียชีวิตเลย เมื่อมีอาการน้อยบางรายก็ไม่ได้รับการวินิจฉัย
2.ตุ่มที่ขึ้นก็ไม่ได้มาก 30% เกิดในที่ลับ บริเวณอวัยวะเพศและถ้าไม่มีอาการมากหรือตุ่มขึ้นน้อยก็จะไม่ได้พบแพทย์
3.โรคนี้ติดต่อเกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์ เพราะมีการสัมผัสกันอย่างใกล้ชิด
4.ไม่มีหลักฐานในการติดต่อจากสัตว์ หรือเดินทางมาจากแอฟริกา เป็นการติดต่อระหว่างคนสู่คน
5.ถ้าเชื้อฝีดาษวานร ที่ระบาดอยู่ขณะนี้ เข้าไปติดยังสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสัตว์ฟันแทะ ในตระกูล หนู กระต่าย กระรอก สัตว์เหล่านี้จะมีอาการน้อยมาก และเป็นพาหะที่จะกระจายโรคได้ จะยากต่อการควบคุมขึ้นอีก นำไปสู่การเกิดโรคประจำถิ่น ขณะนี้โรคประจำถิ่นอยู่แอฟริกา มีความกังวลว่า ถ้าติดในสัตว์เลี้ยงที่กำลังระบาดอยู่นี้ก็อาจประจำถิ่นอยู่ยุโรปต่อไป
CR เฟซบุ๊ก หมอยง