อัปเดต "โควิดวันนี้" 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด กทม. 1,491 จับตา ระยอง สิงห์บุรี นครศรีฯ
เกาะติดเช็คอัปเดตล่าสุด "โควิดวันนี้" 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด กทม.ยอด 1,491 ราย จับตา ระยอง สิงห์บุรี นครศรีธรรมราช บุรีรัมย์ ชลบุรี สระแก้ว ชัยภูมิ สมุทรปราการ และนราธิวาส
อัปเดตต่อเนื่อง เกาะติดสถานการณ์ โควิดวันนี้ 2 มิถุนายน 2565 เกาะติดความคืบหน้าสถานการณ์ติดเชื้อโควิด COVID จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เช็ก 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด กทม.ยอด 1,491 ราย จับตา ระยอง สิงห์บุรี นครศรีธรรมราช บุรีรัมย์ ชลบุรี สระแก้ว ชัยภูมิ สมุทรปราการ และนราธิวาส
สธ.เตรียมความพร้อม 4 ด้าน ปรับ “โควิด” สู่โรคประจำถิ่นภายใต้แนวคิด Health for Wealth
กระทรวงสาธารณสุขเสนอการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ เพื่อรองรับการเดินหน้าไปสู่โรคประจำถิ่นอย่างปลอดภัย ภายใต้แนวคิด Health for Wealth ใช้สุขภาพสร้างความเข้มแข็งประเทศ คือ ประชาชนปลอดภัย เศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง ประเทศไทยแข็งแรง โดยมีเป้าหมายเพื่อคืนระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้ประชาชนทุกคน ผู้ป่วยทุกโรค ได้ใช้บริการตามปกติ เนื่องจากโรคโควิด 19 ลดความรุนแรงลงมาก ไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรงจนกระทบกับการรักษาพยาบาลโรคอื่น ๆ อีกต่อไป โดยจะมีการเตรียมพร้อมมาตรการทั้ง 4 ด้าน ดังนี้
1. มาตรการด้านสาธารณสุข เดินหน้า Universal Vaccination จะเร่งการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ได้มากกว่า 60% ปรับระบบเฝ้าระวังเน้นการระบาดเป็นกลุ่มก้อนและผู้ป่วยปอดอักเสบ ผ่อนคลายมาตรการสำหรับผู้เดินทางจากต่างประเทศ ปรับแนวทางการแยกกักผู้ป่วยและกักกันผู้สัมผัส
2. มาตรการด้านการแพทย์ ปรับแนวทางการดูแลรักษาโควิด 19 แบบผู้ป่วยนอก เน้นดูแลผู้ป่วยที่เสี่ยงอาการรุนแรง และมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยภาวะ Long COVID ปรับมาตรการการดูแลรักษาผู้ป่วยทั่วไป ไม่ต้องตรวจหาเชื้อโควิค 19 ยกเว้นมีอาการหวัด สงสัยติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยในหรือต้องผ่าตัด จะตรวจ ATK หรือ RT-PCR ตามความเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ป่วยรายอื่นและบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเตรียมระบบการรักษาพยาบาลที่เหมาะสมกับอาการและระดับความรุนแรงของโรค เตียง บุคลากร สำรองยาและเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลไว้อย่างเพียงพอ หากเกิดการระบาดซ้ำ
3. มาตรการด้านกฎหมาย สังคมและองค์กร โดยบริหารจัดการด้านกฎหมายเพื่อลดความสูญเสียและเพิ่มประสิทธิภาพระบบสาธารณสุข ซึ่งคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติจะพิจารณาเสนอให้ปรับโรคโควิด 19 จากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งจะมีแนวทางการควบคุมป้องกันโรคคล้ายกับโรคติดต่อทั่วไป รวมถึงมีการผ่อนคลายมาตรการทางสังคม ลดการจำกัดการเดินทางและการรวมตัวของคนหมู่มาก ซึ่ง
ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ศบค.ได้เห็นชอบให้พื้นที่นำร่องท่องเที่ยวและพื้นที่เฝ้าระวัง เปิดสถานบันเทิง ผับบาร์ คาราโอเกะ อาบ อบ นวด หรือสถานบริการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันได้ โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนด และเน้นย้ำประชาชนและสังคมยังเข้มมาตรการ 2U คือ Universal Prevention สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง และ Universal Vaccination ฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม
4. มาตรการด้านการสื่อสาร ทุกภาคส่วนร่วมสร้างความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมให้ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตร่วมกับโควิดได้ (Living with COVID) โดยสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อสร้างความร่วมมือของประชาชนในแต่ละช่วงเวลา
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก
วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน 2565 เวลา 10.00 น.
ยอดผู้ติดเชื้อรวม 533,538,507 ราย
อาการรุนแรง 36,688 ราย
รักษาหายแล้ว 504,389,201 ราย
เสียชีวิต 6,315,721 ราย
อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 86,146,955 ราย
2. อินเดีย จำนวน 43,165,738 ราย
3. บราซิล จำนวน 31,060,017 ราย
4. ฝรั่งเศส จำนวน 29,545,397 ราย
5. เยอรมนี จำนวน 26,422,135 ราย
ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 24 จำนวน 4,457,580 ราย
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19
ศูนย์ข้อมูลCOVID19