120 ปี ชลประทาน ใช้ 2 เขื่อน ป้องน้ำแล้ง-น้ำท่วม
ชลประทานจังหวัดศรีสะเกษ เปิดกิจกรรม และชมนิทรรศการ วันคล้ายวันสถาปนากรมชลประทาน ครบ 120 ปี ร่วมกับภาคีเครือข่ายบริหารจัดการน้ำสู่แปลงนาเกษตรกร
เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 65 ที่ห้องประชุมสำนักงานชลประทานจังหวัดศรีสะเกษ นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดนิทรรศการ และกิจกรรมวันคล้ายวันสถาปนากรมชลประทานครบ 120 ปี เพื่อสร้างการรับรู้ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและความก้าวหน้าโครงการสำคัญในจังหวัด โดยหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนที่สนใจ เข้าร่วมพิธีเปิดในครั้งนี้ ทั้งนี้ กิจกรรมภายในงานมีการจัดนิทรรศการ ให้ความ และความสำเร็จของโครงการต่างๆที่ชลประทานได้ทำมา ร่วม 12 จุด ,การเสวนาในหัวข้อ"การปรับเปลี่ยนปลูกพืชมูลค่าสูงในเขตชลประทาน โดยมีวิทยากรที่มีความส่วนมาร่วมเสวนา ร่วมถึงภายในงานยังมีการประชุมและอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การบริหารจัดการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า
ขณะที่การวางแผนด้านการพัฒนาแหล่งน้ำในปัจจุบัน ทางสำนักงานชลประทาน ได้กำหนดกรอบด้านพัฒนาแหล่งน้ำไว้ 6 ด้าน คือ การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค ,การสร้างความมั่งคงของน้ำภาคการผลิตเพื่อเกษตรและอุตสาหกรรม ,ด้านการจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย ,การจัดการคุณภาพน้ำ ,นอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพต้นน้ำ และด้านบริหารจัดการ การชลประทานศรีสะเกษ ได้มีการปรับแผนและจัดลำดับความสำคัญยุทธศาสตร์ของจังหวัดควบคู่กันไป ในด้านการเกษตรและเพิ่มพื้นที่ของชลประทาน พัฒนาตามหลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 คือ "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" และการ รักษา สืบสาน และต่อยอด โดยแบ่งเป้าหมาย เป็น 4 กลุ่ม คือ น้ำพร้อม-คนพร้อม ,น้ำพร้อม-คนไม่พร้อม ,น้ำไม่พร้อม-คนพร้อม และน้ำไม่พร้อม-คนไม่พร้อม เพื่อให้การบริหาาจัดการแหล่งน้ำเป็นไปอย่างยั่งยืน
นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า จังหวัดศรีสะเกษมีแหล่งน้ำที่สำคัญก็คือเขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนา นอกจากนี้เรายังมีอ่างเก็บน้ำอีก 16 แห่งซึ่ง มีปริมาณน้ำที่กักเก็บอยู่ 55% ซึ่งในขนาดนี้ปริมาณน้ำฝนของการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาช่วงนี้ประเทศไทยจะมีฝนเป็นจำนวนมากและฝนส่วนมากจะมาที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเรา ขนาดนี้เรามีปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษข้อมูลล่าสุดคือประมาณ 400 มิลลิเมตร ค่าเฉลี่ยของเราทั้งปีจากข้อมูลเฉลี่ยจะอยู่ที่ 1,300 มิลลิเมตร โดยทางจังหวัดได้มีการประชุมการเตรียมพื้นที่รองรับเรื่องของอุทกภัยทั้งยังได้มีเรื่องของการบริหารจัดการน้ำเป็นเวลาวาระของจังหวัด โดยเน้นในเรื่องของการสร้างความร่วมมือ ซึ่งได้มีการลงไปในพื้นที่ไปทำจัดผังน้ำชุมชนทางน้ำ ตำบล หมู่บ้าน และได้มีการนำร่องไปแล้ว ส่วนที่สองการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำในระดับจังหวัดซึ่งตั้งอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษโดยใช้สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำ และได้มีการติดตามสถานการณ์ของทั้ง 16 อ่างเก็บน้ำ และ 2 เขื่อน ตลอดจนปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักขนาดนี้จากหน่วยงานภาคีเราได้คาดการณ์ว่าเราสามารถรองรับน้ำที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ คาดการณ์ว่าปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักๆ น่าจะเป็นในช่วงของเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน เราก็จะสามารถกระจายน้ำเหล่านี้ไปยังแก้มลิงและอ่างเก็บน้ำต่างๆ และสามารถบริหารจัดการได้
ด้าน นายจำรัส สวนจันทร์ ผอ.โครงการชลประทานศรีสะเกษ เปิดเผยว่า ในเบื้องต้นจังหวัดศรีสะเกษมีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการชลประทานอยู่ 3 หน่วยงาน คือ โครงการชลประทานจังหวัดศรีสะเกษ, โครงการส่งและบำรุงรักษามูลล่าง และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหัวนา เรามีอ่างเก็บน้ำอยู่ทั้งหมด 16 แห่ง และมีเขื่อนขนาดใหญ่ 2 แห่ง ในภาพรวมน้ำที่อยู่ในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำมีประมาณ 347 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งขณะนี้เราเก็บได้ 215 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 55% ในเรื่องของการทำแผนบริหารจัดการน้ำโดยจะประสานทั้ง 3 หน่วยงานและนำมาวิเคราะห์ ซึ่งตรงไหนจะเป็นจุดที่ต้องแก้ไขเร่งด่วน และจะมีแผนระยะกลาง, ระยะยาวโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษ มีพื้นที่ถึง 36,000,000 ไร่ แต่พื้นที่ชลประทานมีเพียงเล็กน้อยซึ่งมีพื้นที่เพียง 3% เท่านั้น ทำให้การเสียโอกาสของราษฎรเยอะมาก ที่จะนำน้ำมาใช้ให้ประชาชนไปสู่พื้นที่แปลงเกษตรของราษฎรให้ไวที่สุด นอกจากนั้นในแผนระยะสั้น คือ การป้องกันภัยจากน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างผนังกั้นน้ำ หรือการก่อสร้างแก้มลิงต่างๆ ตรงนี้ต้องทำให้ไวเพื่อที่จะช่วยบรรเทาภัยจากน้ำได้อย่างมาก ส่วนในระยะยาวนอกจากเรามี 3 หน่วยงานนี้ ระยะยาวเราได้มีการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเขื่อนขนาดใหญ่หรือโครงการขนาดเล็กในความรับผิดชอบของโครงการการก่อสร้างขนาดกลาง ซึ่งตรงนี้เราได้มีการวิเคราะห์ถึงความคุ้มค่ากับการลงทุนไว้บางส่วนแล้ว จังหวัดศรีสะเกษก็จะได้ดำเนินการก่อสร้างก็จะช่วยบรรเทาภัยจากน้ำไปอย่างแน่นอน