"ไฟไหม้สำเพ็ง" บทเรียนราคาแพง เร่ง “การไฟฟ้า” นำสายไฟลงดิน

"ไฟไหม้สำเพ็ง" บทเรียนราคาแพง เร่ง “การไฟฟ้า” นำสายไฟลงดิน

ผู้ว่าฯ “ชัชชาติ” รับ "เพลิงไหม้สำเพ็ง" เป็นบทเรียนราคาแพง เดินหน้าหารือ กฟน. ปรับความปลอดภัยให้ประชาชน พร้อมเร่งโครงการนำสายไฟลงดิน สั่งสำนักงานเขตสำรวจจุดเสี่ยงไฟไหม้ เผยไม่เสียกำลังใจไฟไหม้2ครั้งใน1สัปดาห์ ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด

เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 65 จากกรณีเหตุการณ์เพลิงไหม้ที่ตลาดสำเพ็ง เจ้าหน้าที่ใช้เวลานานกว่า3ชั่วโมงจึงจะสามารถควบคุมเพลิงไว้ได้ ส่งผลให้อาคารพาณิชย์ 4ชั้นเสียหายทั้งหมด 6คูหา เป็นร้านขายวัสดุ ถุงกระดาษ ที่เป็นพลาสติก และรัานขายกิ๊ฟช็อป และมีผู้เสียชีวิย 2 ราย คือ นางสาวจิราพัช สุ่มมาก อายุ52ปี พนักงานเก็บเงินราชวงศ์บรรจุภัณฑ์ และนายเพชร เดือม อายุ 35ปี พนักงานร้านราชวงศ์รุ่งเรือง บรรจุภัณฑ์ ที่หลบหนีออกมาไม่ทัน

\"ไฟไหม้สำเพ็ง\" บทเรียนราคาแพง เร่ง “การไฟฟ้า” นำสายไฟลงดิน

ในวันนี้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่มาตรวจสอบจุดเกิดเหตุด้วย และให้กำลังใจร้านค้าที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ พร้อมแสดงคงามเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิต และบอกเหตุผลว่า ที่ถูกตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมไม่ลงพื้นที่มาตั้งแต่แรกว่า ไม่จำเป็นต้องลงไปในทุกพื้นที่​ที่เกิดเหตุ​การณ์​ เพราะจะทำเป็นการกีดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งขณะดับเพลิงไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของตนเอง แต่ก็ได้มีการโทรสอบเจ้าหน้าเพื่อติดตามความคืบหน้าด้วยตนเอง ซึ่งได้ส่งให้ที่ปรึกษาผู้ว่ากทม.มาติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แต่เมื่อดับไฟเสร็จแล้วตนเองก็ต้องมา เพราะจะเป็นหน้าที่ของกทม.โดยตรงที่ต้องดำเนินการป้องกันแก้ไขปัญหา
 

โดย นายชัชชาติ บอกว่า ประชาชนในพื้นที่สะท้อนว่าสาเหตุหลักของเพลิงไหม้ เกิดจากหม้อแปลงที่ชำรุด จนระเบิดด้านนอก ประกอบกับมีสายสื่อสารจำนวนมาก และมีเชื้อเพลิงเยอะทำให้ลามเข้าไปรวดเร็ว

ซึ่งเบื้องต้นได้รับรายงานว่า มีอาคารที่ได้รับความเสียหาย 6 คูหา โดยมี 1 คูหา ที่พบว่าพื้นชั้นสองทรุดตัวลงมา และได้รับรายงานว่าผู้เสียชีวิต​ 2 ราย และมีพนักงานดับเพลิงบาดเจ็บ 9 ราย นอกจากนี้ยังพบว่ารถยนต์​เสียหาย 3 คัน รถจักรยานยนต์​ 1 คัน ซึ่งต้องตรวจสอบสาเหตุที่แน่ชัดอีกครั้ง เพราะโดยปกติสายไฟไม่สามารถ​ไหม้เองได้ แต่ยอมรับว่า สายไฟและสายสื่อสารก็เป็นอุปสรรค​ในการเข้าควบคุม​เพลิงของเจ้าหน้าที่ โดยในสัปดาห์หน้า​จะมีการหารือกับการไฟฟ้า​นครหลวง และเจ้าของบริษัทสายสื่อสาย เพื่อหาแนวทางแก้ไขด้านความปลอดภัยร่วมกัน และเร่งรัดโครงการนำสายไฟและสายสื่อสารลงใต้ดินให้เร็วที่สุดด้วย

\"ไฟไหม้สำเพ็ง\" บทเรียนราคาแพง เร่ง “การไฟฟ้า” นำสายไฟลงดิน

และเจ้าของอาคารจะต้องตรวจสอบเครื่องใช้ไหฟ้าต่างๆที่อยู่ในอาคาร เพราะอาคารที่มีความเสี่ยงคืออาคารที่มีเชื้อเพลิงภายในอยู่จำนวนมาก ทำให้มีความรุนแรงขึ้น จึงอยากให้ช่วยดูแลภายในของตัวเองด้วย
 

นายชัชชาติ ยอมรับด้วยว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็นบทเรียนราคาแพงที่ต้องนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำซาก โดยเฉพาะการไฟฟ้านครหลวงซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง และเชื่อว่าจะมีศักยภาพที่จะดูแลชีวิตประชาชนได้ ส่วนกทม.จะให้เร่งให้สำนักงานเขตสำรวจจุดเสี่ยงเพิ่มเติมด้วย อาจจะใช้ทราฟฟี่ฟองดูเป็นตัวแจ้งเหตุด้วย ซึ่งหากประชาชนพบจุดเสี่ยงก็สามารถแจ้งไปยังสำนักงานเขตได้

ทั้งนี้นายชัชชาติ ยังบอกอีกว่า อนาคตอาจจะต้องพิจารณาปรับกฎหมายควบคุมอาคารเพราะปัจจุบันยังไม่ได้กำหนดเรื่องปริมาณเชื้อเพลิงในอาคาร ซึ่งมองว่าต้องเริ่มต้นจากตัวเองก่อน สำรวจความเสี่ยงในพื้นที่ก่อน และจะมีการพิจารณากฎระเบียบให้เข้มข้นขึ้น ส่วนอาคารต่างๆมองว่า คงต้องเครื่องดับเพลิงมือถือ และอุปกรณ์ภายในอาคารที่ควรจะมีเพื่อเป็นการป้องกันด้วย

\"ไฟไหม้สำเพ็ง\" บทเรียนราคาแพง เร่ง “การไฟฟ้า” นำสายไฟลงดิน

ส่วนกรณีที่เกิดเหตุ​เพลิงไหม้ 2 ครั้ง ภายใน 1 สัปดาห์​จะทำให้เสียกำลังใจในการทำงานหรือไม่ นายชัชชาติ​ ยืนยันว่าไม่สูญเสีย​กำลังใจ และจะทำให้ดีที่สุด ทั้งนี้แนวทางการช่วยเหลือต่อเจ้าของอาคาร ผู้เสียชีวิต​ ผู้ได้รับบาดเจ็บ​ และผู้ที่ได้รับผลกระทบ​ในครั้งนี้ จะต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องข้อกฎหมายว่าจะช่วยเหลือในเรื่องใดได้บ้าง

และภายหลังเจ้าหน้าที่นำส่งผู้เสียชีวิตไปยังโรงพยาบาลตำรวจ และควบคุมเพลิงได้ทั้งหมดแล้ว เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าได้เข้ามาตัดสายสื่อสารบริเวณหน้าจุดเกิดเหตุออกทั้งหมดด้วย