เปิดภาพ "ซูเปอร์ฟูลมูน" ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุด ในคืนวันอาสาฬหบูชา

เปิดภาพ "ซูเปอร์ฟูลมูน" ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุด ในคืนวันอาสาฬหบูชา

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) เปิดภาพ "ซูเปอร์ฟูลมูน" หรือ ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี ในคืน "วันอาสาฬหบูชา" 2565

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) เปิดเผยภาพเปรียบเทียบ "ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี" หรือ ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) ในคืน "วันอาสาฬหบูชา" 13 กรกฎาคม 2565 บันทึกจากหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา กับดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา

 

 

ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี หรือ ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) ในปี 2565 นี้ เกิดขึ้นในช่วงหลังเที่ยงคืนของวันที่ 13 กรกฎาคม 2565 เวลา 01.39 น. ของวันที่ 14 กรกฎาคม 2565 มีระยะห่างจากโลก 357,256 กิโลเมตร หากเปรียบเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงช่วงเวลาปกติ จะมีขนาดใหญ่กว่าประมาณ 7% และสว่างกว่าประมาณ 16%

 

แม้ว่าดวงจันทร์จะโคจรเข้าใกล้โลกทุกเดือน แต่อาจไม่ปรากฏเต็มดวงทุกครั้ง สำหรับ "ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี" ในปีถัดไปจะตรงกับวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ทางเพจเฟซบุ๊กสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

 

 

เปิดภาพ \"ซูเปอร์ฟูลมูน\" ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุด ในคืนวันอาสาฬหบูชา

Super Full Moon ปี 2565

 

เปิดภาพ \"ซูเปอร์ฟูลมูน\" ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุด ในคืนวันอาสาฬหบูชา

Super Full Moon ปี 2565

 

ขอบคุณข้อมูลจาก FB : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ