กราดยิงหนองบัวลำภู กับการพัฒนาระบบงานยุติธรรม I กรกฎ ทองขะโชค
ส.ต.อ.ปัญญา ก่อเหตุ กราดยิงศูนย์เด็กเล็ก ที่ หนองบัวลำภู จนมีผู้เสียชีวิตแล้ว 36 รายเเละมีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมากทั้งเด็กเเละผู้ใหญ่
ปรากฎการณ์ดังกล่าวนักเรียนไม่ควรต้องเข้าโรงเรียนและกลัวตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงโดยทั่วไป ไม่น้อยไปกว่าความรุนแรงจากอาวุธปืนโดยเฉพาะ โรงเรียนหรือชุมชนต้องมั่นใจในความปลอดภัยทางกายภาพของนักเรียน คุณครู ผู้ปกครอง
ผลกระทบด้านลบของความรุนแรงของอาวุธปืนหรือดาบ ที่มีผลต่อสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ของประชาชนอยู่บ่อย สัมผัสกับภาพและเรื่องราวที่น่ากลัวและหลีกเลี่ยงไม่ได้ความรุนแรงในโรงเรียน หรือในที่สาธารณะซึ่งอยู่ภายใต้การมีแผนระวังการเกิดเหตุการณ์รุนแรงของภาครัฐ
ทำความเข้าใจว่าทำไมเหตุการณ์เหล่านี้จึงเกิดขึ้น และอื่นๆ ที่สำคัญสามารถป้องกันได้อย่างไร ในขณะเดียวกัน สื่อมวลชน/ทั้งทางการและไม่ทางการก็ให้ความสนใจเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก
เปิดเผยและเพิ่มความรู้สึกกลัวความวิตกกังวลโดยทางอ้อมและความเปราะบางในโรงเรียน แม้ว่านักเรียน คุณครู ผู้ปกครองจะไม่ได้เข้าร่วมโรงเรียนที่เกิดการกราดยิง
เหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจเหล่านี้มีผลกระทบดังก้องเพื่อพัฒนาเยาวชนและความเป็นอยู่ที่ดี อย่างไรก็ตามโรงเรียนยังคงดิ้นรนเพื่อตอบสนองความต้องการของจิตใจของผู้ปกครอง คุณครูและนักเรียนคนอื่นๆ ความต้องการด้านสุขภาพเนื่องจากอาจไม่เพียงพอสำหรับการรักษาจิตใจ
การกระทำความผิดโดยการกราดยิงไม่เพียงมีผลร้ายต่อตัวผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบและสร้างความวิกลได้เป็นอย่างมาก
การกระทำความผิดดังกล่าวที่มีลักษณะรุนแรงหรือการกระทำความผิดที่สะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดจิตใจของผู้กระทำผิด คือ ส.ต.ท.ปัญญา ทั้งยังไม่สามารถลงโทษผู้กระทำความผิดได้หรือจากได้ฆ่าตัวตาย เพื่อให้พ้นจากความรับผิด
จึงมีประเด็นเพื่อการปรับปรุงพัฒนาระบบการป้องกันและเยียวยาอาชญากรรมในอนาคต ดังนี้
ประเด็นการรับราชการของตำรวจ การรับประชาชนเข้าเป็นตำรวจแน่นอนมีการทดสอบทั้งความรู้ กำลังกาย และการตรวจสอบสารยาเสพติดในร่างกาย แต่หากผู้ที่ต้องการเป็นตำรวจที่มีพื้นฐานยาเสพติดหรือยุ่งเกี่ยวยาเสพติดมาในอดีต
แต่เมื่อมีความประสงค์ต้องการสอบตำรวจ ก็ฝึกฝนร่างกาย ผ่านการสอบวิชาการ การทดสอบร่างกาย และอาจผ่านการตรวจสอบสารยาเสพติดด้วยด้วยวิธีการการตรวจเลือด เพราะในห่วงเวลานั้นไม่มีสารเสพติดในร่างกาย
หลักสูตรของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรตามภาคต่างๆ ระยะเวลาอบรมประมาณ 8 เดือนถึง 1 ปี ก็สามารถออกมาทำงานรับใช้ประชาชนได้ พร้อมทั้งมีทักษะและความรู้ในการใช้อาวุธปืนเมื่อออกไปทำงานสังกัดสถานีตำรวจก็ต้องแสวงหาในการซื้ออาวุธปืนเพื่อใช้ในการป้องกันตัวโดยปริยายอยู่แล้ว
เมื่อมีปัญหาทั้งส่วนตัวหรือหน้าที่การงานก็กลับไปหวนเสพยาเสพติดอีกครั้ง เมื่อมีสารเสพติดหรือเสพสารเสพติดระบบราชการโดยเฉพาะเจ้าพน้าที่ตำรวจก็เป็นวินัยร้ายแรง ทำให้ออกจากทางราชการ
สถานการณ์ออกจากราชการและต้องถูกดำเนินคดียาเสพติด จึงเป็นที่มาของการลดความมีเกียรติยศหรือศักดิ์ศรีในมุมมองของผู้ก่อเหตุ ที่ถูกทำลาย
แต่อาวุธที่ตนไปฝึกฝนมาและซื้อหาด้วยเงินส่วนตัวก็ยังสามารถใช้ในการป้องกันตัวตามกฎหมายได้อีก แม้จะให้ถูกออกจากราชการจึงเป็นปัจจัยสำคัญของการก่อเหตุร้ายที่มีการคิดล่วงหน้า ต้องการหนีความผิดทุกๆ เรื่องในท้ายที่สุดอยู่แล้วโดยการฆ่าตัวตาย
สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องนำประเด็นเหล่านี้ไปถอดบทเรียนในการรับตำรวจชั้นประทวนซึ่งแต่ละปีจะรับจำนวนมาก โดยเฉพาะในปี พ.ศ.2565 รับถึง 1,200 กว่าอัตรา โดยรับจำนวนอัตราสูงมาหลายปี อาจด้วยเหตุผลเนื่องจากมีอาชญากรรมเพิ่มขึ้น
ถึงแม้ขณะเหตุการณ์เกิดที่ได้มีกระทำความผิดจะไม่ได้สังกัดหน่วยงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว แต่หน้าที่หลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการมีแผนป้องกันระวังเหตุร้ายเพื่อการยับยั้งในทันท่วงทีก็ยังคงอยู่
เมื่อผู้กระทำความผิดใช้อาวุธปืนยิงเด็กๆ แล้วยังสามารถเข้ารถกลับบ้านไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร โดยไม่สามารถสกัดคนร้ายได้ จึงถือว่าการป้องกันอาชญากรรมของรัฐไม่ว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือหน่วยงานทางปกครองล้มเหลว จึงเป็นที่มาของความโคกเศร้าครั้งใหญ่ของประเทศไทย
หน่วยงานในการควบคุมและป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ จึงจำเป็นต้องปรับแผนในการระวังเหตุการณ์ อาญากรรมที่มีความรุนแรงได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้นายสั่ง
ประเด็นของเหยื่ออาชญากรรม เมื่อเกิดอาชญากรรมขึ้นตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา ผู้เสียชีวิตจะได้รับ ค่าตอบแทนการเสียชีวิต 30,000 บาท ค่าจัดการศพ 20,000 บาท ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูไม่เกิน 30,000 บาท และค่าเสียหายอื่น 30,000 บาท รวมเงินเยียวยาผู้เสียชีวิต 110,000 บาท ให้กับทายาท ซึ่งถือเป็นระบบความยุติธรรมทางอาญาปกติ
ในการมุ่งที่จะควบคุมอาชญกรรมมากกว่าการป้องกัน คือ การป้องกันประชาชนผู้บริสุทธิ์มิให้ตกเป็นเหยื่อ อย่างไรก็ตามหากประชาชนต้องตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม รัฐจึงต้องรับผิดชอบในการชดเชยความเสียหายเนื่องจากรัฐไม่สามารถคุ้มครองพลเมืองของตนให้ปลอดภัยจากอาชญากรรม
แต่เมื่อพิจารณากรณีดังกล่าวแม้เป็นการกระทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งมีหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่เข้าไปช่วยเหลือเบื้องต้นหลายๆ ส่วนงาน แต่ถือว่าการกระทำการอันเป็นความผิดอาญา คือ กระทำการใดอันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต หรืออันตรายอย่างร้ายแรงต่อร่างกาย หรือเสรีภาพของบุคคลใดๆ
ถ้าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมีความมุ่งหมายเพื่อสร้างความปั่นป่วนให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน ผู้นั้นกระทำความผิดฐานก่อการร้าย
กรณีดังกล่าวประชาชนทั้งประเทศเกิดความหวาดกลัวติดตามข่าวสาร และวิตกกังวลจึงเป็นความผิดฐานก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 135/1 เช่นเดียวกับหลายๆ เหตุการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผ่านมา
รัฐควรศึกษา เพื่อติดตามมาตรการในการช่วยเหลือเยียวยาในทุกๆ กิจกรรม จากทุกภาคส่วนเพื่อให้เป็นรูปแบบออกมาให้เห็นว่าผู้ได้รับผลกระทบจะได้รับอะไรจากใครบ้างอย่างไร ซึ่งจะได้รับการช่วยเหลือจากที่กำหนดตามกฎหมายและกฎระเบียบที่มีอยู่แล้วเดิม เป็นสิทธิที่ประชาชนและข้าราชการมีอยู่แล้ว
ดังนั้น การกำหนดให้การเยียวยาควรสูงกว่าปกติอาชาญากรรมปกติ หากเทียบกับกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามระเบียบคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายและผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทําของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
อันสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2555 ซึ่งถือว่าผู้ก่อความไม่สงบเรียบร้อยได้กระทำความผิดเกี่ยวกับก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญาและเจ้าหน้าที่รับรองสามฝ่าย รัฐต้องเยียวยาเฉพาะในตัวเงินจำนวน 500,000 บาท(ห้าแสนบาท)
และหากเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐเป็นฝ่ายก่อให้เกิดความเสียหายถึงชีวิต ต้องเยียวยาไม่เกิน 7,000,000 บาท(เจ็ดล้านบาท) จึงควรนำหลักเกณฑ์เหล่านี้มาพิจารณาเพื่อให้เกิดการควบคุมและป้องกันอาชญากรรมที่รุนแรงไม่ให้เกิดการสูญเสียในทุกระบบขึ้นในอนาคตอีกต่อไป.