บอร์ด กทท.จี้งานพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส3 เร่งดันศูนย์กลางขนส่งภูมิภาค

บอร์ด กทท.จี้งานพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส3 เร่งดันศูนย์กลางขนส่งภูมิภาค

”บอร์ดกทท.“ จี้งานก่อสร้างและพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส3 พร้อมเร่งปรับยุทธศาสตร์และ Master ของการท่าเรือ-ท่าเรือแหลมฉบังใหม่ ให้เป็นไปตามเป้าสอดรับนโยบายของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ชูไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาคโดยเร็ว

วันที่ 3 มิ.ย. 2567 นายชยธรรม์ พรหมศร ประธานกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ได้นำคณะกรรมการและที่ปรึกษาบอร์ดพร้อมด้วยนายเกรียงไกร  ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการ และผู้บริหาร กทท. ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และลงพื้นที่ที่ท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อรับทราบปัญหา และติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ส่วนที่ 1 งานก่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐาน ส่วนการถมทะเล เพื่อเร่งรัดติดตามการ แก้ไขปัญหาในการ ดำเนินงานให้ โครงการ สามารถแล้วเสร็จตรงเวลา เป็นไปตามกรอบระยะเวลาของสัญญา ที่ได้ทำไว้พร้อม ทั้งได้เดินทางไปตรวจการดำเนินงาน รับทราบปัญหาเพื่อแก้ไขให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการให้บริการขนส่งตู้สินค้าเชื่อมต่อทางเรือเข้ากับทางรถไฟ  ของ Single Rail Transfer Operator : SRTO  ซึ่งหากการดำเนินการมีประสิทธิภาพ ในการให้บริการ จะช่วยให้การขนส่ง สินค้า ผ่านช่องทางนี้มากขึ้น เป็นการลด ปริมาณการขนส่ง ทางถนนลง ซึ่งจะ เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล ที่ต้องการ บรรลุวัตถุประสงค์ในการ ลดต้นทุน การขนส่งโลจิสติกส์ในระบบการขนส่งสินค้าของประเทศโดยรวม ด้วยการบูรณาการ เพิ่มประสิทธิภาพ การขนส่งทางน้ำกับทางราง ที่มีต้นทุนถูกกว่า ให้ไร้รอยต่อแบบ Seamless Multimodal Transport ให้เกิด เป็นรูปธรรม โดยเร็ว

นอกจากนี้คณะฯยังได้เข้าเยี่ยมชมการปฏิบัติงานของบริษัท ฮัทชิสัน เทอร์มินัล จำกัด ที่ท่าเทียบเรือชุด D  รวมถึงรับทราบการนำระบบ รถบรรทุกไร้คนขับ autonomous truck ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า และมี เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาปรับใช้ในการปฏิบัติการ เพื่อยกระดับศักยภาพความปลอดภัยและ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามนโยบาย Green Transport ตลอดถึง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการของท่าเรือดังกล่าวในปัจจุบันและมี แผนที่จะขยายการให้บริการเพิ่มขึ้นในอนาคต

สำหรับการลงพื้นที่ติดตาม งานก่อสร้างในส่วนของ งานถมทะเล ในโครงการ พัฒนา ท่าเรือแหลมฉบัง เฟสที่ 3 ผู้แทน กลุ่มผู้รับเหมางาน ในกลุ่มกิจการร่วมค้า CNNC ได้รายงานความคืบหน้า ของการดำเนินงาน ที่ปัจจุบันได้มีการเร่งรัดเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยได้เพิ่มแรงงาน เครื่องจักร และเรือขุด Grab Dredger เข้ามาใช้ในการปฏิบัติงาน ทำให้ ปัจจุบันมีขีดความ สามารถในการขุดดินได้วันละ 2.3 ล้านลูกบาศก์เมตร และคาดว่าจะสามารถส่งมอบ งานก่อสร้างถมทะเลที่แล้วเสร็จ ใน พื้นที่ F1 ของ  โครงการฯ ให้แก่ กทท. ได้ทันภายในเดือน ก.ค.นี้

บอร์ด กทท.จี้งานพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส3 เร่งดันศูนย์กลางขนส่งภูมิภาค

บอร์ด กทท.จี้งานพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส3 เร่งดันศูนย์กลางขนส่งภูมิภาค

บอร์ด กทท.จี้งานพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส3 เร่งดันศูนย์กลางขนส่งภูมิภาค

บอร์ด กทท.จี้งานพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส3 เร่งดันศูนย์กลางขนส่งภูมิภาค

นายชยธรรม์ กล่าวว่า  แม้ว่าตัวแทนผู้รับเหมาจะรายงานว่าได้ดำเนินการเร่งรัด งานขุดและถมทะเลด้วยการเพิ่ม เครื่องจักรและแรงงานแล้ว  แต่จากรายงานของผู้ควบคุมงานพบว่า ปัจจุบัน ผลงานก่อสร้างของผู้รับจ้าง ในแต่ละสัปดาห์ ยังมีความล่าช้าจากแผนฯอยู่  จึงได้กำชับให้ผู้บริหารกทท.ใส่ใจติดตามคุณภาพการก่อสร้างให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ระบุในสัญญาจ้างควบคู่ไปกับการเร่งรัดแก้ปัญหาในรายละเอียดกับกลุ่มผู้รับเหมากิจการร่วมค้าฯ เพื่อให้งานแล้วเสร็จเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้  ซึ่งเป้าหมายสำคัญต่อไปคือ งานก่อสร้างถมทะเลต้องแล้วเสร็จพร้อมส่งมอบพื้นที่ F และพื้นที่ถมทะเลพื้นที่ 3 ทั้งหมดให้กทท. ได้ทันตามกรอบระยะเวลาที่ระบุในสัญญา เพื่อให้กทท.สามารถส่งมอบพื้นที่ถมทะเลที่แล้วเสร็จดังกล่าว ให้กับผู้รับสัมปทาน ได้ตามสัญญาสัมปทาน ที่กทท. ได้เซ็นไว้กับผู้รับสัมปทาน เพื่อทำการ พัฒนา ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ได้ แล้วเสร็จตามแผนฯต่อไป

นายชยธรรม์ กล่าวว่า การพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการขนส่งหลากหลายรูปแบบอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการขนส่งทางน้ำที่มีความสำคัญและถือเป็น gateway ในการขนส่ง นำเข้าและส่งออก สินค้าระหว่างประเทศ เป็นส่วนช่วยสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ  รวมทั้งเป็นรากฐานในการสร้างให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่ง Logistics Hub ของภูมิภาคตามนโยบายของรัฐบาลอีกด้วย

“ที่สำคัญในการลงพื้นที่และประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ครั้งนี้ได้พบว่า แผนยุทธศาสตร์แผนแม่บทการพัฒนาและแผนปฏิบัติการของการท่าเรือฯรวมถึงแผนแม่บทการพัฒนาของท่าเรือแหลมฉบังจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัย โดยกำหนดโจทย์ให้กับผู้บริหารการท่าเรือฯ ไปเร่งรัดดำเนินการร่วมกับพันธมิตรท่าเรือชั้นนำในต่างประเทศ ของ กทท.เพื่อให้ สามารถกำหนดเป็นแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการที่ทันสมัย สอดรับกับเป้าหมายนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาล นำเสนอบอร์ดคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นชอบ นำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาค (Logistic Hub) ได้อย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว” นายชยธรรม์ กล่าว

บอร์ด กทท.จี้งานพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส3 เร่งดันศูนย์กลางขนส่งภูมิภาค