จิราพร ชวนคนไทย - ต่างชาติ ร่วมโครงการรวมน้ำใจ บริจาคโลหิตเฉลิมพระเกียรติ

จิราพร ชวนคนไทย - ต่างชาติ ร่วมโครงการรวมน้ำใจ บริจาคโลหิตเฉลิมพระเกียรติ

“จิราพร” ชื่นชม  แจ๊ค บราวน์ (Jack Brown) อินฟลูเอนเซอร์หนุ่มชาวอังกฤษ เชิญชวนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติร่วม ‘โครงการรวมน้ำใจ บริจาคโลหิต 10,000,000 ซีซี’

นางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ ‘โครงการรวมน้ำใจ บริจาคโลหิต 10,000,000 ซีซี เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

ที่นอกจากประชาชนคนไทยจะร่วมกับประชาสัมพันธ์ และร่วมกันบริจาคโลหิตแล้ว ยังมีชาวต่างชาติ อินฟลูเอนเซอร์หนุ่มชาวอังกฤษ  แจ๊ค บราวน์ (Jack Brown) ที่พำนักในประเทศไทย ได้ร่วมเชิญชวนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติบริจาคโลหิตในโครงการนี้ด้วย

จิราพร ชวนคนไทย - ต่างชาติ ร่วมโครงการรวมน้ำใจ บริจาคโลหิตเฉลิมพระเกียรติ

 

“ขอชื่นชม แจ๊ค บราวน์ (Jack Brown) อินฟลูเอนเซอร์หนุ่มชาวอังกฤษ ที่มาอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานาน ได้เป็นแบบอย่างที่ดีและทำประโยชน์ให้กับคนไทย ตนเองจึงอยากเชิญชวนทุกคนมาร่วมกันในโครงการ รวมน้ำใจ บริจาคโลหิต 10,000,000 ซีซี กับแจ๊ค บราวน์ เพื่อต่อชีวิตเพื่อนมนุษย์ เพื่อเป็นมหากุศลถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ” น.ส.จิราพร กล่าว

นางสาวจิราพร ยังชี้แจงว่า การที่มีการตั้งข้อสงสัยว่าคนต่างชาติสามารถบริจาคโลหิตที่ประเทศไทยได้หรือไม่ และรับโลหิตในกรณีฉุกเฉินได้เช่นเดียวกับคนไทยหรือไม่  โดยทั้ง 2 ประเด็นนี้  ได้รับการเผยเปิดจาก นายแพทย์คามิน วงษ์กิจพัฒนา รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายการแพทย์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ระบุว่า ชาวต่างชาติก็สามารถบริจาคโลหิตได้ เพียงแค่ต้องมีที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ติดต่ออย่างชัดเจน หากบริจาคโลหิตไปแล้วมีปัญหาอะไร ก็สามารถติดต่อให้กลับมาเจาะเลือดซ้ำได้ และสำหรับการรับเลือด ชาวต่างชาติสามารถเข้าไปรับการบริการที่โรงพยาบาลได้ทั่วประเทศ และหากโรงพยาบาลจำเป็นต้องรักษาโดยการให้เลือด จะมีการติดต่อมาทางสภากาชาดอีกทีหนึ่ง

จิราพร ชวนคนไทย - ต่างชาติ ร่วมโครงการรวมน้ำใจ บริจาคโลหิตเฉลิมพระเกียรติ
สำหรับผู้ที่สนใจ และต้องการที่จะบริจาคโลหิต นางสาวจิราพร เปิดเผยว่า เริ่มจากการลงทะเบียนผู้บริจาคโลหิต โดยสภากาชาดไทยมีแบบฟอร์มภาษาอังกฤษเตรียมไว้ให้สำหรับชาวต่างชาติ จากนั้นวัดความดันโลหิตและชีพจร คัดกรองผู้บริจาคโลหิต เข้าสู่ขั้นตอนการเจาะเก็บเลือดตามลำดับ จากนั้นจะได้รับอาหารว่าง ก่อนจะวัดความโลหิตและชีพจรหลังบริจาค