เปิด 25 เส้นทางไมซ์ กระตุ้นนักเดินทางไมซ์ในและต่างประเทศ
ทีเส็บเปิดตัว 25 เส้นทางไมซ์สร้างประสบการณ์ใหม่ใน 5 ไมซ์ซิตี้ (กรุงเทพ พัทยา ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น) บูรณาการภาครัฐ เอกชน ภาคการศึกษา พัฒนาสถานประกอบการและชุมชนรองรับการจัดงานไมซ์ทั่วทุกภูมิภาค
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ หรือ ทีเส็บ กล่าวว่าปัจจุบันการแข่งขันในอุตสาหกรรมไมซ์นานาชาติมีอัตราที่สูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ และความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว โดยการสร้างจุดเด่น ความแตกต่าง และการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อันนำมาซึ่งการพัฒนาสินค้าและบริการด้านธุรกิจไมซ์ ทั้งสถานที่จัดงาน ตลอดจนกิจกรรมใหม่ๆ ทั้งก่อนและหลังการประชุม เพื่อรองรับนักเดินทางไมซ์นับเป็นแนวทางสำคัญในการตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการไมซ์ทั้งในและต่างประเทศซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนทีเส็บจึงวาง “ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์” โดยมุ่งเน้นด้านมิติ “การพัฒนาพื้นที่” เพื่อเพิ่มและยกระดับสถานที่จัดงาน รวมถึงกิจกรรมใหม่เพื่อรองรับการจัดงานไมซ์โดยเน้นการดำเนินงานใน 5 ไมซ์ซิตี้ประจำภูมิภาคทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพฯ พัทยา ภูเก็ต เชียงใหม่ และขอนแก่น ร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน และภาคการศึกษา รวมถึงชุมชนในพื้นที่บูรณาการพัฒนาธุรกิจไมซ์ในจังหวัดร่วมกันสร้างความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์ของธุรกิจไมซ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และกระจายรายได้สู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
“อุตสาหกรรมไมซ์โดยเฉพาะกลุ่มการประชุม มีความจำเป็นต้องสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อดึงดูดนักเดินทางไมซ์คุณภาพเข้าสู่ประเทศหรือเมืองของตน กระตุ้นให้เกิดความต้องการจัดงานไมซ์ในประเทศและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไมซ์ในประเทศ โดยในปี 2559 ทีเส็บจึงริเริ่ม“โครงการศึกษาและวิเคราะห์ศักยภาพเส้นทางไมซ์ภายในประเทศเพื่อส่งเสริมศักยภาพของอุตสาหกรรมไมซ์ภายในประเทศ หรือ Thailand 7 MICE Magnificent Themes”หนึ่งในการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาไมซ์ซิตี้ทั้ง 5 เมือง เพื่อค้นหาเส้นทางใหม่ๆ และพัฒนาสถานประกอบการและชุมชนสำหรับการจัดงานไมซ์ทั่วประเทศ เริ่มต้นจากการวิจัยศึกษาเมืองที่มีศักยภาพรองรับนักเดินทางไมซ์ ศึกษาต้นทุนทางวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ วิเคราะห์ศักยภาพและความสามารถทั้งด้านพื้นที่ สถานประกอบการ และชุมชนรวมถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ที่มีศักยภาพในการรองรับกลุมไมซ์ได้โดยเน้นการพัฒนาพื้นที่ใหม่ๆ ของ5 เมืองไมซ์ที่มีอยู่เป็นหลักและพัฒนาเป็นเส้นทางไมซ์ใหม่ผ่าน7 มุมมองที่วิจัยมาแล้ว ว่าเป็นแนวคิดเส้นทาง Top Hitsกลุ่มไมซ์ทั้งนานาชาติและในประเทศ (Thailand 7 MICE Magnificent Themes)ได้แก่ 1.ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Fascinating History and Culture) 2.การผจญภัย (Exhilarating Adventure) 3. การสร้างทีมเวิร์ค (Treasured Team Building) 4. กิจกรรม CSR และการประชุมเชิงอนุรักษ์ (CSR and Green Meeting) 5. กิจกรรมบรรยากาศชายหาด (Beach Bliss) 6.การจัดงานและกิจกรรมหรูหรามีระดับ (Lavish Luxury) 7.การนำเสนออาหารไทยในทุกการจัดงานที่หลากหลาย (Culinary Journeys) โดยหลักการพิจารณาการพัฒนาและยกระดับสถานประกอบการที่สามารถจัดกิจกรรมไมซ์ได้ จะมีเกณฑ์การคัดเลือกสถานที่3องค์ประกอบหลัก คือ สามารถรองรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมไมซ์ไม่น้อยกว่า30 คน และสถานที่จัดกิจกรรมไมซ์ได้อย่างน้อยใน 1 มุมมองอีกทั้งต้องมีความพร้อมด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและบุคลากร ที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถให้บริการไมซ์ได้
ทีเส็บบูรณาการความร่วมมือในระดับจังหวัดกับทุกภาคส่วนทั้ง ภาครัฐ เอกชน ภาคการศึกษา จัดทำเวิร์คชอปร่วมกับจังหวัดใน 4 ภูมิภาค คือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคอีสาน ระดมความคิดเห็นและหารือร่วมกันถึงศักยภาพของสถานประกอบการและชุมชนที่สามารถรองรับการจัดงานและนักเดินทางไมซ์ได้จริง รวมถึงการลงพื้นที่จริงร่วมศึกษาและหารือกับสถานประกอบการที่ตรงตามหลักเกณฑ์ หารือและดำเนินงานร่วมกับสมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ(ไทย) หรือ ทิก้าพัฒนาเส้นทางไมซ์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป้าหมาย ได้แก่ ผู้จัดงาน และองค์กรหน่วยงานรัฐและเอกชน จนกระทั่งสามารถพัฒนา25 เส้นทางไมซ์ภายใต้ 7 มุมมองใหม่ใน 5 เมืองไมซ์ได้สำเร็จ
เส้นทางไมซ์25 เส้นทางใน 5 ไมซ์ซิตี้ แบ่งเป็นจังหวัดละ 5 เส้นทางได้แก่
กรุงเทพ เส้นที่ 1 ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง พิพิธภัณฑ์งูเส้นที่ 2 ชุมชนหัวตะเข้เส้นที่ 3 ศูนย์เรียนรู้อาหารไทย สถาบันอาหาร ท่ามหาราช สุภัทราริเวอร์เฮ้าส์เส้นที่ 4 จักรพงษ์วิลล่า ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ บ้านเลขที่ 1 โบสถ์กาลหว่าร์ ธนาคารไทยพาณิชย์ตลาดน้อยเส้นที่ 5 เสาชิงช้า ตลาดบางรัก ถนนเยาวราช
ขอนแก่นเส้นที่ 1 ออร่า ฟาร์ม สวนสัตว์ขอนแก่นเส้นที่ 2 บ้านหัวฝายเส้นที่ 3 อุทยานแห่งชาติน้ำพอง เส้นที่ 4 วัดป่ามัญจาคีรี บ้านหวายหลืมสิม วัดสระทองบ้านบัวเส้นที่ 5 ชุมชนบ้านดงบัง
เชียงใหม่เส้นที่ 1 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ ฮอไรซั่นวิลเลจแอนด์รีสอร์ทเส้นที่ 2 สหกรณ์นิคมแม่แตง จำกัด อ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า เฮลท์ ล้านนา สปาเส้นที่ 3อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปกเส้นที่ 4วิสาหกิจชุมชน กาแฟสดบ้านแม่ตอน สหกรณ์การเกษตรดอยสะเก็ดพัฒนา จำกัดเส้นที่ 5บ้านถวาย ปันผลฟาร์ม ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่
พัทยาเส้นที่ 1 ไฟล์ท ออฟ เดอะ กิบบอน อะลาคอมปาณย์ โอเชี่ยน มารีน่า ยอร์ช คลับเส้นที่ 2ชุมชนนาเกลือ สวนนงนุช ชุมชนจีนบ้านชากแง้วเส้นที่ 3มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ พัทยา ชู้ทติ้ง พาร์ครอยัล คลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ปเส้นที่ 4อุทยานใต้ทะเลเกาะขาม สวนน้ำรามายณะไร่องุ่นซิลเวอร์เลคเส้นที่ 5ชุมชนตะเคียนเตี้ย
ภูเก็ตเส้นที่ 1 ภูเก็ต เวค พาร์ค โบ๊ทลากูน รีสอร์ทเส้นที่ 2หมู่บ้านวัฒนธรรมถลาง บ้านแขนน โรงเรียนและร้านอาหารบลูเอเลเฟ่นท (บ้านพิทักษ์ชินประชา)เส้นที่ 3ชุมชนป่าคลอกพิพิธภัณฑ์ เพอรานากันเส้นที่ 4ไทเกอร์ คิงดอม ไร่วานิช เส้นที่ 5อุทยานแห่งชาติสิรินาถชุมชนทองเที่ยวย่านเมืองเก่าภูเก็ต
แผนการพัฒนาโครงการต่อเนื่องในปี2562คือ ส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ โดยให้มีการจัดสัมมนา การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล การจัดประชุมนานาชาติ และงานแสดงสินค้านานาชาติ ตามเส้นทางไมซ์ใหม่ทั้ง 25 เส้นทาง ในไมซ์ซิตี้ทั้ง 5 เมือง ผ่านสองช่องทางหลักคือ สร้างการรับรู้ผ่านสื่อและกิจกรรมของทีเส็บ ได้แก่ การจัดทำแผ่นพับแต่ละเมืองไมซ์ คู่มือไอเดียสร้างสรรค์เส้นทางสายไมซ์พร้อม QR Code การโปรโมทผ่านงานเทรดโชว์ระดับนานาชาติ พร้อมเตรียมการจัดทำวิดิทัศน์ส่งเสริมการขาย นอกจากนี้ สร้างการรับรู้ผ่านสื่อและกิจกรรมร่วมกับพันธมิตร ได้แก่หน่วยงานเครือข่ายจังหวัดสมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) หรือ ทิก้ารวมถึงองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่อีกด้วย
"ในปีนี้ ทีเส็บเตรียมแผนขยายโครงการพัฒนาเส้นทางไมซ์ในอีก 5 เมืองรอง โดยขยายเส้นทางจากเมืองรองที่อยู่รอบเมืองไมซ์ซิตี้ และวางแผนทำ Mobile Applicationรวมถึงการเชื่อมโยงกับหน่วยงาน องค์กร ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มการรับรู้ในเส้นทางเหล่านี้มากขึ้นอีกทั้งยังสอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาไมซ์ซิตี้และนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเมืองรองร่วมขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเดินหน้าสู่การเป็นจุดหมายปลายทางการจัดกิจกรรมไมซ์ที่หลากหลายระดับคุณภาพยกระดับสินค้าบริการและสถานประกอบการไมซ์ใหม่ๆ ทั่วทุกภูมิภาค สร้างรายได้และโอกาสในการพัฒนาไมซ์ทั่วประเทศโดยคาดการว่าจะกระตุ้นนักเดินทางไมซ์ทั้งในและต่างประเทศได้ตามเป้าหมาย รวมทั้งสิ้น35,982,000 คน สร้างรายได้221,500 ล้านบาท แบ่งออกเป็น นักเดินทางกลุ่มไมซ์ต่างประเทศ 1,320,000 คน สร้างรายได้ 100,500 ล้านบาท และนักเดินทางชาวไทยที่เข้าร่วมงานไมซ์ในประเทศ 34,662,000 คน สร้างรายได้ 121,000ล้านบาท" นายจิรุตถ์ กล่าวสรุป