อากาศเป็นพิษทำเด็กเอเชียอายุสั้นลง

อากาศเป็นพิษทำเด็กเอเชียอายุสั้นลง

คณะผู้เชี่ยวชาญด้านอากาศโลก เผยแพร่รายงานล่าสุดที่บ่งชี้ว่า มลพิษทางอากาศส่งผลต่ออายุขัยโดยเฉลี่ยของเด็กในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะเด็กในทวีปเอเชีย

รายงานสภาพอากาศทั่วโลก จัดทำโดยมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดาร่วมกับสถาบันผลกระทบด้านสุขภาพ ( เอชอีไอ ) ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่เมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐ ระบุว่ามลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุอันดับ 5 ที่ทำให้ผู้คนในยุคปัจจุบันเสียชีวิตก่อนวัยอันควร มากกว่าโรคมาลาเรีย อุบัติเหตุบนท้องถนน ภาวะอดอยาก และโรคพิษสุราเรื้อรัง

นอกจากนี้ หากพิจารณาแยกเป็นรายภูมิภาค จะพบว่า มลพิษทางอากาศส่งผลให้เด็กเกิดใหม่ในเอเชียตะวันออกมีอายุขัยโดยเฉลี่ยสั้นลงประมาณ 23 เดือน เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศในอเมริกาเหนือและประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย-แปซิฟิกบางประเทศแล้วถือว่าสูงกว่าหลายเท่าตัว โดยเด็กในกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือและประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย-แปซิฟิก มีอายุขัยโดยเฉลี่ยสั้นขึ้น 20 สัปดาห์ 

รายงานชิ้นนี้ใช้สถิติขององค์การอนามัยโลก ( ดับเบิลยูเอชโอ ) เมื่อปี 2560 ที่ระบุว่า หากทั่วโลกจัดการวิกฤติด้านมลพิษทางอากาศอย่างจริงจังมากกว่านี้ อายุขัยโดยเฉลี่ยของเด็กชาวบังกลาเทศจะเพิ่มขึ้นเกือบ 1.3 ปี ขณะที่อายุขัยโดยเฉลี่ยของเด็กชาวอินเดีย ปากีสถานและไนจีเรีย จะเพิ่มขึ้นประมาณ 1 ปี จากปัจจุบันที่อายุขัยโดยเฉลี่นของประชากระเด็กในกลุ่มประเทศเหล่านี้สั้นลง  2.5 ปี