'อาคม' พร้อมอธิบดีอัมพวัน ตรวจเยี่ยมแขวงทางหลวงสุรินทร์
รมว.คมนาคมพร้อมอธิบดีกรมท่าอากาศยาน ตรวจเยี่ยมแขวงทางหลวงสุรินทร์
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยนางอัมพวัน วรรณโก อธิบดีกรมท่าอากาศยาน ตรวจเยี่ยมแขวงทางหลวงสุรินทร์ ในวันที่ 8 มิถุนายน 2562 เวลา 12.00 น. ณ แขวงทางหลวงสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยมี นายปกรณ์ ศรีปานวงศ์ ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงสุรินทร์ และเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ
ปัจจุบันแขวงทางหลวงสุรินทร์ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ จำนวน 5 โครงการ ได้แก่
1. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 24 สาย อ.ปราสาท - อ.ขุขันธ์ - แยกทางหลวงหมายเลข 2085 ตอน อ.ปราสาท - บ.กระเทียม ระหว่าง กม. 191+745.973 - กม. 218+188.973 ระยะทาง 26.443 กิโลเมตร มีความคืบหน้าร้อยละ 95.104
2. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 24 สาย อ.ปราสาท - อ.ขุขันธ์ - แยกทางหลวงหมายเลข 2085 ตอน บ.กระเทียม - อ.สังขะ ระหว่าง กม. 218+188.973 - กม. 243+488.973 ระยะทาง 35 กิโลเมตร ดำเนินการแล้วเสร็จ
3. โครงการก่อสร้างสะพานข้ามจุดตัดทางรถไฟสายทางเลี่ยงเมืองสุรินทร์ (ด้านตะวันตก) ทางหลวงหมายเลข 293 ระหว่าง กม. 5+907.000 - กม. 9+200 ระยะทาง 3.293 กิโลเมตร มีความคืบหน้าร้อยละ 15.323
4. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 214 สาย อ.ท่าตูม - อ.จอมพระ ระหว่าง กม. 142+684.150 - กม. 164+436.000ระยะทาง 21.725 กิโลเมตร มีความคืบหน้าร้อยละ 5.166
5. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 214 สาย อ.ปราสาท - ด่านช่องจอม ตอน บ.โคกตะเคียน - บ.บ้านด่านพัฒนา ระหว่าง กม. 243+739.000 - กม. 216+500.000 ระยะทาง 17.761กิโลเมตร มีความคืบหน้าร้อยละ 4.901
นอกจากนี้มีโครงการที่ขอรับการสนับสนุนขยายทาง 4 ช่องจราจร จำนวน 2 โครงการ ได้แก่
1. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 226 สายสุรินทร์ - ห้วยทับทัน (ตอนบำชี - บ้านพม่า - ห้วยทับทัน) ระหว่าง กม. 187+420 - กม. 233+891
2. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 207 ตอนสุรินทร์ - สังขะ ระหว่าง กม. 10+010 - กม. 26+700 และ กม. 29+800 - กม. 39+800
ในโอกาสนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ได้เยี่ยมชมโครงการก่อสร้างสะพานข้ามจุดตัดทางรถไฟสายทางเลี่ยงเมืองสุรินทร์ (ด้านตะวันตก) ซึ่งเป็นการก่อสร้างสะพานคอนกรีตอัดแรง Segmental Box ขนาด 2 ช่องจราจร ความยาวรวม 349 เมตร ความกว้างผิวจราจร 8 เมตร จำนวน 1 แห่ง และสะพานคอนกรีตอัดแรง Box Beam & I Girder ขนาด 2 ช่องจราจร ความยาวรวม 310 เมตร ความกว้างผิวจราจร 11.50 เมตรจำนวน 1 แห่ง คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2564 ปัจจุบันมีความล่าช้ากว่าแผนร้อยละ 13 และอยู่ระหว่างการขออนุญาตเข้าพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อดำเนินการก่อสร้าง