มท.2ต้อนรับ 'ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน' โอกาสเยือนสงขลา
งานประชุมวิชาการ "เมืองท่าและเส้นทางการค้าทางทะเลแห่งเอเซีย ๒๕๖๒" มท.ย้ำการทำสงขลาเป็นเมืองมรดกโลก รักษามรดกทางวัฒนธรรมเพื่อส่งมอบให้คนรุ่นหลังต่อไปได้ภาคภูมิใจที่เกิดเป็นคนสงขลา
นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ต้อนรับในงานเลี้ยงรับรอง ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน พระธิดาในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ในโอกาสเดินทางมาเยือนจังหวัดสงขลา และเป็นประธานงานประชุมวิชาการ "เมืองท่าและเส้นทางการค้าทางทะเลแห่งเอเซีย ๒๕๖๒" ณ ห้อง ณทัพพ์รดา โรงแรม เดอะเบด เวเคชั่น ราชมังคลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคม พร้อมด้วยกงสุลใหญ่จากประเทศอินโดนีเซีย และกงสุลใหญ่จากประเทศมาเลเซียประจำจังหวัดสงขลา เข้าร่วมงานเลี้ยงรับรอง เมื่อช่วงค่ำวานนี้ (6ต.ค.)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า สงขลาเป็นเมืองสำคัญของประเทศไทยแต่โบราณ จากการที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อยู่ปากทะเลสาบสงขลาออกสู่อ่าวไทย เป็นเมืองท่าเรือเชื่อมต่อกับทะเลจีนใต้และมหามุทรแปซิฟิค เป็นต้นทางการค้าขายทางบกข้ามคาบสมุทรมลายูไปยังมหาสมุทรอินเดีย สงขลาจึงเป็นเมืองท่าเส้นทางการค้าระหว่างดินแดนตะวันออกอย่างจีน ญี่ปุ่น หรือเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ไยังดินแดนตะวันตกอย่างอินเดียอากรับ เปอร์เซีย และยุโรป สงขลาจึงกลายเป็นเมืองท่าการค้านานาชาติ ที่พ่อค้าและนักเดินเรือต่างแวะพักและซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ามาอย่างยาวนานนับพันปี ทำให้เกิดการผสมผสานของหลากหลาชวัฒนธรรม ที่ยังคงเหลืออยู่เป็นประจักษ์พยายมาจนถึงทุกวันนี้
และเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ๒๕๕๓ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบประกาศให้สงขลา ร่วมกับอีก ๖ เมือง เป็นเมืองเก่าที่มีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองที่บ่งบอกถึงความเป็นมาของชาติไทย มีความมุ่งหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น จังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลหน่วยงานจากส่วนกลาง ร่วมกันอนุรักษ์เมืองเก่าตามแบบอย่างสากล ดังนั้นจึงก่อให้เกิดแรงผลักดันให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัญ ภาควิชาการ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ตื่นตัวระดมความคิดที่จะอนุรักษ์ฟื้นฟู และพัฒนาเมืองเก่าสงขลา ประกอบกับปี ๒๕๕๑ เมืองปีนังซึ่งเป็นเพื่อนบ้านกับเมืองสงขลา ได้รับประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลก ทุกคนจึงน้อนกลับมาดูเมืองเก่าสงขลา ซึ่งมีประวัติศ่สตร์เก่าแก่กว่าเมืองปีนัง มีลักษณะองค์ประกอบของเมืองคล้ายกัน ถ้ามีการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างถูกทิศทาง น่าจะมีโอกาสได้รับการประกาศเป็นเมืองมรดกโลกเช่นเดียวกัน จึงเริ่มเชิญรักวิชาการทั้งในและต่างประเทศมาเยี่ยมเยือนเมืองสงขลา เพื่อรับฟังความคิดเห็น และประเมินศักยภาพของเม่องที่จะพัฒนาสู่เมืองมรดกโลก
โดยมีแนวคิดมาจากรากฐานที่ว่า มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติเป็นสมบัติที่หาค่ามิได้ และไม่อาจทดแทนได้ ไม่เพียงสำหรับแต่ละประเทศเท่านั้น แต่สำหรับมนุษยชาติโดยรวม การสูญเสียมรดกอั้ำค่านั้น จะทำให้เกิดผลกระทบต่อประชาคมทั้งโลก และเรียกคุณค่าที่เป็นพิเศษนี้ว่า คุณค่าที่โดดเด่นเป็นสากลซึ่งจะต้องผ่านคุณสมบัตินั่นคือ ต้องมีคุณค่าตามเกณฑ์การพิจารณาคุณค่าที่โดดเด่นเป็นสากลอย่างน้อย ๑ ข้อจากที่มีอยู่ ๑๐ ข้อ ต้องมีความครบถ้วนและความแท้ และต้องมีการปกป้องคุ้มครอง และการจัดการที่เหมาะสมอันเป็นหลักประกันที่จะรักษาคุณค่าที่โดดเด่นเป็นสากลนี้ไว้ได้ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ชาวสงขลาต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำความเข้าใจ แสวงหาคำชี้แนะจากผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ และต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่พวกเราต้องการ
นายนิพนธ์กล่าวต่อว่า การที่สงขลาจะได้รับการประกาศเป็นเมืองมรดกโลกเมื่อใดนั้นไม่สำคัญ สำคัญที่ว่าในระหว่างทางที่เราได้เตรียมตัวเข้าสู่กระบวนการนั้น เราได้ปลุกจิตสำนึกของพวกเรากันเอง ให้เห็นความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมที่พ่อเม่ ปู่ย่า ตายายได้สร้างสมไว้ให้หลายร้อยปี ช่วยกันรักษาฟื้นฟูเมืองของเจาให้กลับมาเป็นเมืองสำคัญเช่นในอดีต เราจะใช้กระบวนการอนุรักษ์สู่เมืองมรดกโลกของยูเนสโก เป็นเครื่องมือเป็นแนวทางในการรักษามรดกทางวัฒนธรรมของเจาไว้ เพื่อส่งมอบให้คนสงขลารุ่นต่อไปได้ภาคภูมิใจที่ได้เกิดเป็นคนสงขลา และช่วยกันอนุรักษ์ไว้อย่างยั่งยืน
นายนิพนธ์กล่าวต่อว่า ในส่วนของการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ "เมืองท่าและเส้นทางการค้าทางทะเลแห่งเอเซีย ๒๕๖๒" ครั้งนี้เพื่อที่จะเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาแสดงผลงานการค้นคว้าวิจัยทางวิชาการ เกี่ยวกับการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าต่างๆในทวีปเอเซีย ที่เป็นเมืองท่าสำคัญในเส้นทางการเดินทางทะเล ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน และเปรียบเทียบกับเมืองเก่าสงขลา ที่เป็นเมืองท่าบนเส้นทางการค้าทางทะเลกับต่างประเทศมานานนับพันปี ทั้งยังเป็นการเผยแพร่ศักยภาพของเมืองเก่าสงขลา ในการยกระดับ ไปสู่การเป็นเมืองมรดกโลก เช่นเดียวกับเมืองท่าอื่นๆหลายเมือง ในกลุ่มประเทศอาเซียนเช่น ปีนัง มะละกา ฮอยอัน ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา ให้มีความสมดุลในทางมิติทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ
นอกจากนั้น ยังเป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน กลุ่มประเทศอาเซียนประเทศอื่นๆในทวีปเอเซีย และองค์กรระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศจีน ซึ่งเรามีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในจีน ๓ แห่งคือมหาวิทยาลัยชิงหัว มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง และมหาวิทยาลัยหัวเฉียว ปีนี้ทั้งสามมหาวิทยาลัยนำคณาจารย์และนักศึกษามาจัด เวิร์คช้อปร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคงศรีวิชัย สถาบันอาศรมศิลป์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อช่วยกันออกแบบเมืองเก่าสงขลา ให้เป็นเมืองน่าอยู่ เป็นปีที่ ๒ ซึ่งผลงานของนักศึกษาที่ได้มาทำในปีที่แล้ว น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
และประการสุดท้ายเพื่อเป็นการตอกย้ำความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของจังหวัดสงขลา ในฐานที่เป็นเมืองท่า ที่มีทำเลที่ตั้งอยู่ในเส้นทางการค้าทางทะเลของเอเซีย ตั้งแต่ยุค "เส้นทางสายไหม" จนถึงปัจจุบัน ที่สงขลาอยู่ในแนวการขนส่งทางทะเลตามโครงการความริเริ่ม "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ของจีน ถ้าเราย้อนดูในอดีตสงขลากับจีนเดินเรือไปมาหาสู่กันนับพันปี จากเมืองสทิงพระไปเมืองฉวนโจ จากเมืองสงขลาไปเมืองไห่เฉิง เมืองเซี่ยเหมิน เมืองซัวเถา และเมืองกวางโจว ทำให้มีคนจีนเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองสงขลาเป็นจำนวนมาก นำวัฒนธรรมและความรุ่งเรืองทางการค้ามาสู่เมืองสงขลา แม้ในปัจจุบันการเชื่อมโยงทางทะเลระหว่างสงขลากับจีนยังไม่คึกคักเท่าในอดีต เราก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะสามารถเพิ่มการเชื่อมโยงระหว่างกันให้มากขึ้นในอนาคต