โพลล์มองรูป 'ธนาธร-โจชัว หว่อง' เป็นแค่รูปภาพธรรมดา

โพลล์มองรูป 'ธนาธร-โจชัว หว่อง' เป็นแค่รูปภาพธรรมดา

โพลล์มองรูป "ธนาธร-โจชัว หว่อง" เป็นแค่รูปภาพธรรมดา แต่มีความกังวลมาก เพราะอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับจีน

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ภาพธนาธร -   โจชัว หว่องทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15 – 17 ตุลาคม 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ  ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,270 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับภาพของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ถ่ายคู่กับ นายโจชัว หว่อง แกนนำผู้ชุมนุมประท้วงในฮ่องกง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น  ที่ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการติดตามข่าวประท้วงในฮ่องกง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.36 ระบุว่า ไม่ติดตามเลย รองลงมา             ร้อยละ 26.69 ระบุว่า ติดตามบ้าง ร้อยละ 16.70 ระบุว่า ไม่ค่อยติดตาม แต่พอเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น และร้อยละ 4.25 ระบุว่า ติดตามเป็นประจำ  

ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อภาพของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่คู่กับนายโจชัว หว่อง แกนนำผู้ชุมนุมประท้วงในฮ่องกง พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 29.84 ระบุว่า เป็นแค่รูปภาพธรรมดารูปหนึ่งเท่านั้น รองลงมา ร้อยละ 25.04 ระบุว่า ไม่มีความเห็น เพราะไม่รู้จักนายโจชัว หว่อง ร้อยละ 18.11 ระบุว่า เป็นเรื่องส่วนบุคคล และจะไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ไทย - จีน ร้อยละ 17.01 ระบุว่า เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ร้อยละ 12.99 ระบุว่า เป็นเรื่องของคนมีอุดมการณ์เดียวกันถ่ายรูปด้วยกัน ร้อยละ 6.61 ระบุว่า อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-จีน ร้อยละ 2.83 ระบุว่า เป็นการสมรู้ร่วมคิดกันต่อต้านรัฐบาล (ชาติใดชาติหนึ่งหรือ ทั้งสองชาติ) ร้อยละ 1.73 ระบุว่า ภาพถ่ายนี้จะทำให้นักท่องเที่ยวจีนมาไทยลดลง ร้อยละ 1.65 ระบุว่า ภาพถ่ายนี้จะไม่ส่งผลกระทบทำให้นักท่องเที่ยวจีนมาไทยลดลง และร้อยละ 4.49 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 

          

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความกังวลของประชาชนต่อการแถลงของสถานทูตจีน กรณีมีนักการเมืองไทยแสดงท่าทีสนับสนุนผู้ประท้วง ในฮ่องกง พบว่า ร้อยละ 4.65 ระบุว่า มีความกังวลมาก เพราะ อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับจีน และยังเป็นสาเหตุ ทำให้นักท่องเที่ยวจีนมาไทยลดลง ร้อยละ 19.76 ระบุว่า ค่อนข้างกังวล เพราะ อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อภาพลักษณ์และเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากประเทศจีนเป็นตลาดคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทย ขณะที่บางส่วนระบุว่า อาจส่งผลให้นักท่องเที่ยวจีนมาไทยน้อยลง ร้อยละ 14.72 ระบุว่า ไม่ค่อยกังวล เพราะ เป็นการเกาะกระแสของนักการเมืองไทยคนนึงเท่านั้น ร้อยละ 51.81 ระบุว่า ไม่กังวลเลย เพราะ ไทยกับจีนมีความสัมพันธ์ที่ดี ต่อกันมานานแล้ว และร้อยละ 9.06 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.98 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.35 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑล     และภาคกลาง ร้อยละ 18.27 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.78 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.62 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 53.54 เป็นเพศชาย และร้อยละ 46.46 เป็นเพศหญิง 

ตัวอย่างร้อยละ 9.21 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 16.30 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 20.79 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 33.23 มีอายุ 46 – 59 ปี     และร้อยละ 20.47 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 96.46 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.20 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.87 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น และร้อยละ 0.47 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 25.20 สถานภาพโสด ร้อยละ 70.94 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.39 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.47 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส 

ตัวอย่างร้อยละ 28.43 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 28.66 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.66                 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 28.19 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.27 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.79 ไม่ระบุการศึกษา 

ตัวอย่างร้อยละ 11.57 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.28 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 18.82 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.98 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.07 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน  ร้อยละ 17.64 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.46 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.18 ไม่ระบุอาชีพ 

ตัวอย่างร้อยละ 18.43 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.78 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 24.09 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 11.42 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 4.96 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 –  40,000 บาท ร้อยละ 6.85 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.47 ไม่ระบุรายได้

157153577792