'อธิบดีป่าไม้' ลงพื้นที่จังหวัดน่านมอบนโยบายบริหารจัดการที่ดินทำกิน
"อธิบดีกรมป่าไม้" มอบนโยบายเตรียมพร้อม รับสถานการณ์ไฟป่าช่วงฤดูแล้ง-แก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า การจัดสรรที่ดินทำกิน ให้กับประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำ 3,4,5 และพื้นที่ 1,2 ในพื้นที่น่าน และแพร่
เมื่อวันที่ 30 พ.ย.62 นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้ ลงพื้นที่จังหวัดน่าน ตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่พร้อมมอบนโยบายให้ผู้บริหารข้าราชการในสังกัด กรมป่าไม้ ในพื้นที่จังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน ที่ห้องประชุม nan warroom สำนักงานป่าไม้ จังหวัดน่าน ในการแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดิน ภายใต้นโยบายของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) โดยเห็นชอบให้ราษฎร์ อยู่อาศัยและใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าเป้าหมายใน 5 กลุ่ม รวม 5.9 ล้านไร่ ว่า การแก้ไขปัญหา การอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ป่า ไม่ได้เป็นการแจกป่าแต่เป็นการแก้ปัญหาประชาชนที่เข้าอาศัยในพื้นที่ป่าดำเนินการต่อเนื่อง โดยการให้ราษฎรถือครองในเขตพื้นที่ป่าเป็นวิธีการการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดและเกิดความยั่งยืน เพื่อตกทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน รวมทั้งการส่งเสริมให้ปลูกป่าเพิ่มขึ้น และห้ามบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1- 2 หากฝ่าฝืนจะดำเนินการตามกฎหมาย และยกเลิก
หลัง มติครม. 30 มิ.ย. 2541 และต้องปฏิบัติตามคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 66/2557 ลงวันที่ 17 มิ.ย. 2557 กลุ่มที่ 3 ชุมชนในเขตป่าสงวนฯ ที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และ 2 และชุมชนในเขตป่าสงวนฯ ที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และ 2 หลัง มติครม. 30 มิ.ย. 2541 และต้องปฏิบัติตามคําสั่งคสช. ที่ 66/2557 กลุ่มที่ 4 ชุมชนที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ ก่อน และ หลัง มติครม. 30 มิ.ย.2541 และกลุ่มที่ 5 ชุมชนในพื้นที่ป่าชายเลน ประกอบด้วย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่เมืองและสิ่งก่อสร้างถาวร โดยระยะเวลาตั้งแต่ 2541-2557 ในกติการะบุชัดเจนว่าจะต้องปลูกต้นไม้มากกว่าคนที่อยู่พื้นที่ลุ่มน้ำ 3,4,5 ร้อยละ 30-50 เพราะถือเป็นพื้นที่เป็นภูเขาลาดชัน ผู้อาศัยมีการโยกย้ายถิ่นฐานมากจากที่อื่น ซึ่งผู้ครอบครอง โดยที่รัฐบาล ยังสามารถผลักดันให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ป่าปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น ส่วนพื้นที่เกษตรกรรม หากต้องการปลูกไม้มีค่า รัฐบาลจะส่งเสริมให้ปลูกด้วย ใครผิดเงื่อนไขต้องถูกยกเลิกสิทธิและดำเนินคดี ส่วนประชาชนอยู่ร่วมกับป่าได้ โดยที่จะไม่มีการบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มเติม เพราะมีระบบข้อมูลที่ทำการสำรวจการถือครองสิทธิไว้แล้ว ซึ่งเป็นที่มาของการจำแนกออกเป็น 5 กลุ่มด้วย โดยกลุ่ม 1-3 เป็นของกรมป่าไม้ ส่วนกลุ่มที่ 4 เป็นของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พืช
นอกจากนี้ นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้ ให้ นโยบาย เกี่ยวกับปัญหาในเรื่องของไฟป่า และปัญหาเรื่องของหมอกควัน และฝุ่นในภาคเหนือมาจากไฟป่า ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ให้ดำเนินการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือ ที่กำลังประสบปัญหาหมอกควันไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานรวมทั้งทรงให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอดทน โดยขอให้ทุกหน่วยงาน ร่วมบูรณาการ ในการดับไฟป่า เพื่อลดปัญของหมอกควัน ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ ที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน และให้ความสำคัญกับเรื่องทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า การเดินทางลงพื้นที่จังหวัดน่านในครั้งนี้ เพื่อมอบนโยบาย ให้ผู้บริหารข้าราชการในสังกัด กรมป่าไม้ 2 ประเด็น ประเด็นแรกเรื่องรับสถานการณ์ไฟป่าในห้วงฤดูแล้งที่จะมาถึง ให้ทุกฝ่ายที่มีหน้าที่รับผิดชอบเฝ้าระวังโดยตรง ต้องเตรียมความพร้อมกำลังพล ยานพาหนะเครื่องมืออุปกรณ์ให้พร้อมที่จะบูรณาการทำงานร่วมกับทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ฝ่ายปกครอง สาธารณป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฝ่ายทหารและตำรวจ ที่อยู่ภายใต้ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันระดับจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน โดยให้รีบดำเนินการประสานงานเครือข่ายชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมดูแลไฟป่าด้วย
ในส่วนนี้กรมป่าไม้มีงบประมาณอุดหนุนสนับสนุนให้เครือข่ายประชาชนที่มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันและดับไฟป่า ในเบื้องตันได้ด้วย แต่สิ่งสำคัญที่สุดจะต้องมีแผนทำแผนเผชิญเหตุไฟป่า เข้าไปในพื้นที่เกิดไฟป่าได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ และพร้อมที่จะระดมสรรพกำลัง ในกรณ๊ที่เกิดสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ให้เข้าไปควบคุมได้อย่างรวดเร็ว เป็นประเด็นสำคัญที่สุด
ประเด็นที่สองต้องเร่งรัดแก้ไขปัญหาในเรื่อง แนวคิดการแก้ปัญหาประชาชนไร้ที่ดินทำกิน ต้องจัดที่ทำกินให้ประชาชน ตามแนวทาง “คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ” หรือ คทช. ในส่วนของจังหวัดน่านมีความคืบหน้าไปได้รวดเร็วมาก ในตำบลที่เป็นตำบลหลักๆ มีตำบลเมืองจัง อำเภภูเพียง ตำบลนาไร่หลวง อำเภอสองแคว และตำบลดู่พงษ์ อำเภอสันติสุข และได้มีการพูดคุยกับคณะกรรมการน่าน แซนด์บอกซ์ ให้เร่งรัดการดำเนินการ และจะได้รับการสนับเจ้าหน้าที่มารังวัดขอบเขตแปลงที่ดินจึงได้มีการกำหนดโรดแมปไว้ว่าภายในสิ้นปี 63 ทางกรมป่าไม้จะดำเนินการจัดแปลงที่ดิน คทช.ให้แล้วเสร็จทั้งในส่วนลุ่มน้ำ 3,4,5 และลุ่มน้ำ 1,2 โดยเฉพาะลุ่มน้ำ 1,2 จะพิจารณาชุมชนที่มีความพร้อมที่จะเข้ามาร่วมโครงการไปพร้อมกับสนับสนุนส่งเสริมพี่น้องประชาชนไดใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม ด้วยการนำโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ โครงการปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องสนับสนุนการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ โดยเฉพาะการปลูกไม่มีค่าในแปลงที่ดิน