องค์กรครู ยื่นเสนอแก้กม.2ฉบับแก่รัฐสภา
กลุ่มเครือข่ายองค์กรครูทั่วประเทศ ยื่นหนังสือเสนอแก้กม.2 ฉบับแก่ทางรัฐสภา ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา และระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. ...หวังช่วยพี่น้องครู
วันนี้ (4 ธ.ค.2562) ชมรมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแห่งประเทศไทย (ชร.ผอ.สพท.) และภาคีเครือข่ายองค์กรครูทั่วประเทศ กว่า 20 คน ได้เดินทางไปยื่นหนังสือเสนอแก้กฎหมาย 2 ฉบับ แก่ทางรัฐสภา โดยมีสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร มาเป็นผู้รับหนังสือ
นายธนชน มุทาพร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ชัยภูมิ เขต 1 และประธานชร.ผอ.สพท.กล่าวว่า การมายื่นเสนอกฎหมาย 2 ฉบับในครั้งนี้ เพื่ออาศัยช่องทางรัฐธรรมนูญในมาตรา133 ต้องเป็นประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งและต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน สามารถใช้สิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ได้ โดยกฎหมาย 2 ฉบับที่มายื่น คือ (ร่าง)พระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ...
ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วย ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ”
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิก(1) คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2560 เรื่อง การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลงวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2560 ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 8 ข้อ 11 ข้อ 12 ข้อ 13 และ ข้อ 14 (2) คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4
ข้อ 8 (1)เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (5) (8) ข้อ 9 และข้อ 11 (1) (6) (8) ข้อ 12 เฉพาะอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเฉพาะงานที่เกี่ยวกับ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และ ข้อ 13
มาตรา 4 บรรดา คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ยกเลิกตามมาตรา 3 ให้กลับไปใช้พระราชบัญญัติที่ถูกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามมาตรา 3 ยกเลิก มาตรา 5 การใดที่ดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ยกเลิกตามมาตรา 3ที่ดำเนินการแล้ว ให้มีผลผูกพันตามกฎหมายได้ เว้นแต่การใดที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จให้โอนอำนาจหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรา 4
ส่วนฉบับที่ 2 ที่เสนอยื่น คือ (ร่าง) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. ....โดยมีสาระดังนี้ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา(ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. ....” มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้ ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 “(4) คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2560 เรื่อง การบริหารงานบุคคลของ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลงวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2560 ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 8 ข้อ 11 ข้อ 12 ข้อ 13 และ ข้อ 14 (5) คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของ กระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 8 (1) เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(5) (8) ข้อ 9 และ ข้อ 11 (1) (6) (8) ข้อ 12 เฉพาะอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเฉพาะงานที่เกี่ยวกับ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และ ข้อ 13
มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน“มาตรา 25 ให้มีคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสามัญประจำส่วนราชการเรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ค.ศ. ส่วนราชการ” โดยออกนามส่วนราชการ ประกอบด้วย(1) หัวหน้าส่วนราชการ เป็นประธาน (2) รองหัวหน้าส่วนราชการ ที่ได้รับมอบหมายหนึ่งคนเป็นรองประธาน
(3) ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการศึกษาและด้านกฎหมาย จำนวนสามคน (4) รองเลขาธิการ ก.ค.ศ. หรือผู้แทนสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่เลขาธิการ ก.ค.ศ. มอบหมายหนึ่งคน (5) ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอำนวยการ และประเภทดำรงตำแหน่งสายงานการสอนประเภทละหนึ่งคนให้หัวหน้าส่วนราชการตั้งข้าราชการในส่วนราชการนั้นเป็นกรรมการและเลขานุการหนึ่งคนและผู้ช่วยเลขานุการไม่เกินสองคน
คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการได้มาและระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง
ของ อ.ก.ค.ศ. ส่วนราชการ (3) (5)ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ค.ศ.มาตรา 25/1 อ.ก.ค.ศ. ส่วนราชการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไป(1) เสนอแนะ ก.ค.ศ. เกี่ยวกับนโยบายการผลิตและการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาในส่วนราชการ (2) พิจารณากำหนดนโยบายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในส่วนราชการ รวมทั้ง วางแผนอัตรากำลัง เกณฑ์อัตรากำลัง การกำหนดจำนวนและอัตราตำแหน่งการเกลี่ย อัตรากำลังให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารงานบุคคล ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด(3) พิจารณาให้ความเห็นชอบการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในส่วนราชการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าส่วนราชการ(4) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้(5) พิจารณาแต่งตั้ง อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของ อ.ก.ค.ศ. ส่วนราชการ ได้ตามความจำเป็น
(6) ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา การเสริมสร้างขวัญกำลังใจ การปกป้องคุ้มครองระบบคุณธรรม การจัดสวัสดิการ และการยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในส่วนราชการ
(7) กำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและ บุคลากร
ทางการศึกษาในส่วนราชการ ในการนี้ให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานจากหน่วยงานการศึกษา ให้ผู้แทนของหน่วยงานการศึกษาหรือบุคคลใดมาชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีปฏิบัติไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม หรือปฏิบัติการโดยขัดหรือแย้งกับกฎหมาย กฎ ก.ค.ศ. ระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
(8) จัดทำ พัฒนา และบูรณาการฐานข้อมูลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในส่วนราชการ(9) จัดทำรายงานประจำปีที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาเพื่อเสนอ ก.ค.ศ.(10) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่ ก.ค.ศ. มอบหมาย
มาตรา 5 ให้ยกเลิก มาตรา 38 ค ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นแห่งพระราชบัญญัติระเบียบ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
มาตรา 38 ค ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น มีดังต่อไปนี้(1) ศึกษานิเทศก์(2) รองศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด(3) ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด หรือตำแหน่งของข้าราชการที่ ก.ค.ศ.นำมาใช้กำหนดให้เป็นตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามพระราชบัญญัตินี้
“การกำหนดระดับตำแหน่ง และการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของตำแหน่งบุคลากรทาง
การศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค (3) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ค.ศ. โดยให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย
เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา”เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก.ค.ศ. อาจกำหนดตำแหน่งหรือเปลี่ยนตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประเภทตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาบางตำแหน่งเป็นประเภทตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) (3) ก็ได้มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
“เราพยายามเรียกร้องให้อดีตหัวหน้าคสช.ปรับปรุงแก้ไขก็ไม่ยอมแก้ไข ซึ่งทางรัฐสภาน่าจะเป็นช่องทางที่ยกเลิกหรือแก้ไขคำสั่งนี้ได้ เพื่อให้การศึกษาในภูมิภาคเดินไปข้างหน้าอย่างมีความมั่นคง โดยเหตุผลของการดำเนินการครั้งนี้ เนื่องจากหัวหน้าคสช. ได้มีคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 16/2560 เรื่องการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค"”นายธนชน กล่าว
จากคำสั่งทั้ง2 ฉบับดังกล่าวเมื่อนำไปสู่การปฏิบัติกลับมีปัญหาในขั้นตอนการปฏิบัติหลายประการ อาทิ ความซ้ำซ้อนของหน่วยงานและภารกิจ เกิดความล่าช้าในการดำเนินงานขาดการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเป็นการรวมอำนาจเข้าสู่พื้นที่จังหวัด จึงส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการของหน่วยงานการศึกษาในพื้นที่ที่ขาดอิสระต่อการบริหารจัดการศึกษาให้สอดคล้องเหมาะสมตามบริบทของหน่วยงานการศึกษาแต่ละแห่ง
รวมทั้งไม่สอดคล้องกับหมวด 5 การลดขั้นตอนการปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 และไม่สอดคล้องกับ ข้อ 16 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณพ.ศ.2526 และแก้ไข เพิ่มเติม จึงเรียกร้องและฝากความหวังจากทางสส.สว.ให้ความเห็นใจของพี่น้องครูไทยทั่วประเทศ เพ่ออนาคตการศึกษาไทย เพราะเมื่อครูมีคุณภาพ เด็กไทยก็จะมีคุณภาพขึ้นมา