'สนธิรัตน์' ตอบกระทู้สด 3 ประเด็น ยันส่งเสริมดีเซล บี10 เป็นนโยบายถาวร
“สนธิรัตน์” ตอบกระทู้สด 3 ประเด็น ยันส่งเสริม ดีเซล บี10 เป็นนโยบายถาวร สั่งเกลี่ยโควตารับซื้อไฟขยะชุมชน 400 เมกะวัตต์ ปันให้กับขยะอุตสาหกรรม พร้อมเร่งทำแผนส่งเสริมรถอีวี
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 15 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันที่ 25 ธันวาคม 2562 ที่ประชุมได้พิจารณากระทู้ถามทั่วไปและกระทู้ถามสด โดยนายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเศรษฐกิจใหม่ ได้กระทู้ถามสด นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ใน 3 เรื่องหลัก คือ
1.แผนการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซล บี10 จะมีแนวทางบริหารสมดุลสต็อกน้ำมันปาล์มดิบ(CPO) อย่างไร ทั้งแนวทางระยะสั้น ระยะยาว รวมถึงจะเป็นนโยบายที่กลับไปกลับมาเหมือนในอดีตหรือไม่
2. การแก้ปัญหาขยะในภาพรวมของประเทศ ที่พบว่า ปัจจุบัน มีปริมาณขยะชุมชน ราว 33 ล้านตัน ขยะอุตสาหกรรม ราว 31 ล้านตัน และมีขยะอันตราย อีก ราว 57% ซึ่งเป็นขยะอุตสาหกรรม ที่ไม่ได้เข้าสู่การบำบัด เป็นที่น่าสังเกตว่า ขยะในส่วนนี้หายไปไหน ขณะที่ ขยะในส่วนที่ผ่านการบำบัด จะมีอยู่ 3 ส่วน คือ การนำไปฝั่งกลบซึ่งมีปริมาณน้อยมาก ราว 2% อีก 27% จะเป็นการนำไปรีไซเคิล และในส่วนนี้มีการนำไปใช้ประโยชน์ด้านพลังงานราว 71%
โดยที่ผ่านมา พบว่า บริษัทที่รรับกำจัดขยะอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่จะย้ายไปอยู่จ.สระบุรี เพื่อทำเตาเผา มีปริมาณ รา 4 ล้านตันต่อปี และวิธีการกำจัดขยะอุตฯที่ดีสุดคือการนำไปเผาเป็นไฟฟ้า ขณะที่ตามแผนPDPให้รับซื้อไฟฟ้าขยะอุตฯ เพียง 44 เมกะวัตต์ และขยะชุมชน อีก 400-900 เมกะวัตต์ จะเห็นว่า แนวนโยบายที่กำหนดในแผนPDP ไม่สอดคล้องข้อเท็จจริง ซึ่งวิธีการที่ดีที่สุด เป็นการนำมากำจัดในรูปแบบของไฟฟ้า แต่ที่ผ่านมาพบว่า ไม่มีการลงทุนผลิตไฟฟ้าจากขยะ เพราะกระทรวงพลังงานไม่มีนโยบายรับซื้อไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม จึงขอตั้งคำถาม ในอนาคต ขยะอุตสาหกรรม ที่มีปริมาณราว 60% รวมกับ ขยะในพื้นที่อีอีซีที่เกิดขึ้น ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จะมีแนวนโยบายกำจัดอย่างไร เพราะแผนPDP กำหนดรับซื้อแค่ 44 เมกะวัตต์ ฉะนั้นจะมีแผนส่งเสริมรับซื้อไฟฟ้าขยะอุตฯ อย่างไร
3.เรื่องยานยนต์ไฟฟ้า(อีวี) ของประเทศไทย ในแง่กระทรวงพลังงาน มีนโยบาย หรือวางแผนส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งรถไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า รถเมย์ไฟฟ้าอย่างไร ซึ่งปัจจุบัน ประเทศจีนมีการส่งเสริมอย่างแพร่หลาย อีกทั้งอัตราค่าไฟฟ้า ที่จะคิดกับผู้ประกอบการเติมหรือชาร์จไฟฟ้านั้น ประเทศไทยยังมีปัญหาโครงสร้างไฟฟ้าและจุดสมดุลจะอยู่ตรงไหน สถานีชาร์จไฟฟ้าบริหารอย่างไร รวมถึงได้ปรึกษาคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าที่เหมาะสมเพื่อเอื้อให้เกิดการลงทุนและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างไร
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ตอบกระทู้ถามสด ดังนี้ 1. เรื่องของการส่งเสริมดีเซล บี10 ขอยืนยันว่า กระทรวงพลังงาน ประกาศนโยบายชัดเจนส่งเสริมให้ ดีเซล บี10 เป็นน้ำมันดีเซลเกรดพื้นฐานของประเทศ จะไม่เป็นนโยบายที่กลับไปกลับมาเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ขณะที่ ดีเซล บี7 และ บี20 จะเป็นน้ำมันดีเซลทางเลือก ดังนั้น ชัดเจนว่าแผนดีเซล บี10 ครั้งนี้ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะที่สำคัญ จะเกิดความสมดุลซัพพลายผลปาล์มที่มี 5 ล้านไร้ ผลิตเป็น CPO ที่เหมาสะมควรอยู่ที่ 3.2-3.4 ล้านตันต่อปี เพื่อให้เกิดความสมดุล
ฉะนั้น ถ้าบริหารดีมานด์กับซัพพลายในภาคการบริโภคและพลังงานจะเป็นประเด็นสำคัญมาก เพราะจะเป็นเหตุผลที่ช่วยพยุงราคาปาล์มน้ำมันปีหน้า ซึ่งในอดีตมีสต็อกCPO ไม่ควรเกิน 2.5-3.5 แสนตัน และตราบใดที่สูงเกิน 4 แสนตัน จะเกิดปัญหาราคาตกต่ำ แต่ด้วยนโยบาย ดีเซล บี10 จะเกิดการสร้างสมดุลสต็อก มีผลให้กลไกราคามีเสถียรภาพมากขึ้น โดยขณะนี้ทีมที่จัดทำเรื่องของนโยบายดีเซล บี10 ได้กำหนดเป้าหมายชัดเจนว่า ตั้งแต่ 1 ม.ค.63 จะประกาศใช้น้ำมันดีเซล บี10 เป็นน้ำมันเกรดพื้นฐานของประเทศ และหัวจ่ายดีเซล บี10 จะมีครบทุกปั๊มในช่วงต้นเดือน มี.ค.63 ซึ่งหากเป้นไปตามนี้จะสร้างสมดุลปาล์มน้ำมันได้
ดังนั้น จากนโยบายที่ชัดเจน ทำให้วันนี้ราคาปาล์มคุณภาพ ทะลุ 6 บาท CPO จาก 21-23 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 33 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้เกิดส่วนต่างCPO ของไทย กับ ต่างประเทศ อย่างมาเลเซีย ต่างกันถึง 10 บาท สะท้อนราคาปาล์มน้ำมันที่ขยับขึ้น
“ยืนยันนโยบาย ดีเซล บี10 จะไปเปลี่ยนแปลง เพราะความมั่นคงนโยบายจะสร้างสมดุลราคา อย่างแท้จริง ฉะนั้น ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นมั่นคงหรือไม่ เมื่อมีการใช้ปาล์มในภาคพลังงาน 2ใน3 ของปริมาณการผลิต ราคาจะไม่แกว่ง เพราะรถที่ใช้ดีเซล บี10 มีถึง 50% ของปริมาณรถดีเซลทั้งหมด”
อย่างไรก็ตาม กระบวนการป้องกันลักลอบน้ำมันปาล์ม จะเป็นอีกเรื่องที่จะเกิดปัญหา ซึ่งเรื่องนี้ กระทรวงพลังงาน อยู่ระหว่างเตรียมการแก้ปัญหา CPO โดยเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ซึ่งดำเนินการเสร็จ 80%แล้ว เมื่อเอาเทคโนโลยีมาคุมการลักลอบ บี100 ได้แล้ว ฉะนั้น ทั้งการป้องกันการลักลอบ และการบริหารสต็อกปาล์มให้สมดุล จะก่อให้เกิดเสถียรภาพด้านราคาได้
ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าจะเกิดปัญหาตามมาระยะยาวหรือไม่ ฉะนั้น ถ้าพืชผลเกษตรชนิดไหนราคาดี ก็มักจะมีกระแสจะล้มต้นยาง เพื่อหันมาปลูกปาล์มแทน ซึ่งเป็นเรื่องนี้ ผมเคยหารือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อครั้งที่ผมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในอดีต ทำให้รู้ว่าควรจะมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกร เพื่อยกระดับปาล์มคุณภาพทั้งระบบ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดูแล
ขณะที่ในอนาคต จะขยับไปสู่ดีเซล บี20 และบี30 หรือไม่ ขอเรียนว่า รถบรรทุก ส่วนใหญ่เป็นเครื่องรถยนต์หนัก สามารถใช้งานได้ แต่ผลกระทบจะมีต่อเรื่องมาตรฐานการยอมรับของค่ายรถยนต์ ฉะนั้น หากขยับการผสมขึ้นไปสู่ บี100 ก็ทำได้ แต่จำนวนรถที่ใช้ดีเซลในอนาคตจะน้อยลง ดังนั้น หากดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ไม่เกิดการล้มยางมาปลูกปาล์ม ก็จะรักษาเสถียรภาพราคาปาล์มในระยะยาวได้
2.เรื่องขยะอุตสาหกรรม เป็นอีกเรื่องที่เป็นปัญหาของประเทศไทย ซึ่งเดิมในแผนPDP การรับซื้อไฟฟ้าจากขยะ ไม่มีค่อยมีเกิดขึ้น ผมจึงสั่งการให้ปรับแผนPDP โดยให้เร่งเรื่องของเวลารับซื้อเข้าระบบเร็วขึ้น โดยสรุปเบื้องต้น ขยะปริมาณ 400 เมกะวัตต์ตามแผนPDP ให้เร่งรับซื้อเร็ว ขณะที่ขยะอุตสาหรรม ที่มีกำหนดรับซื้อ 44 เมกะวัตต์เป็นโควตาเดิม ฉะนั้น ได้สั่งการให้ไปดูว่าในปริมาณ 400 เมกะวัต์ จะจัดสรรให้กับขยะอุตสาหกรรมได้เท่าไหร่ ซึ่งเรื่องของขยะอยากจะให้ทุกฝ่ายเข้าใจ เป้าหมายหลักเรื่องนี้จะเน้นกำจัดขยะเป็นวัตถุประสงค์หลัก และผลพลอยได้คือไฟฟ้า ส่วนอัตรารับซื้อไฟฟ้าจะต้องปรับให้เกิดแรงจูงใจต่อการลงทุนผลิตไฟฟ้าจากขยะเพิ่ม แต่ต้องไม่กระทบต่อต้นทุนคาไฟฟ้าในภาพรวม
3.เรื่องเปลี่ยนผ่านสู่ยานยนต์ไฟฟ้า(อีวี) เป็นเรื่องสำคัญ กระทรวงพลังงาน ได้จัดทำเรื่องเพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีพิจารณา โดยจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติ ซึ่งมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายรัฐมนตรี เป็นประธาน และมีกระทรวงที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพื่อบรูณาการช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีดิสรัปชั่น
โดยเรื่องนี้ กระทรวงพลังงาน จะดำเนินการ 2 เรื่องใหญ่ คือ 1.วางแผนจัดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าทั่วประเทศให้เกิดขึ้น เพราะถ้าไม่วางแผนที่ให้ชัดเจนจะเกิดการกระจุกตัว ไม่กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ ทำให้ผู้ใช้รถไฟฟ้าเกิดความไม่มั่นใจ ตลอดเส้นทางเดินรถระยะ 200 เมตร ดังนั้น กระทรวงพลังงาน กำลังกระจาย กำหนดระยะห่าง ไม่ให้เกิดการจัดตั้งสถานีชาร์จที่ซ้ำซ้อน และดูความพร้อมของสายส่งไฟฟ้าด้วย
2.นโยบายด้านราคา สำหรับอัตราชาร์จไฟฟฟ้า ขณะนี้ กระทรวงพลังงาน ได้ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ให้ไปพิจารณานำปริมาณไฟฟ้าส่วนเกิน ที่มีปริมาณถึง 30% จะนำมาใช้อย่างไร เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าถูกลงจากนโยบายรัฐ และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้ามาลงทุน นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านนโยบายส่งเสริมการใช้รถไฟฟ้าให้ประสบความสำเร็จ ต่อไป