กรมชลฯ เผย ใช้โมเดล 3 ทัพ สู้น้ำเค็มอีกรอบสำเร็จ ภายหลังน้ำทะเลหนุนสูง 24-26 ม.ค.

กรมชลฯ เผย ใช้โมเดล 3 ทัพ สู้น้ำเค็มอีกรอบสำเร็จ ภายหลังน้ำทะเลหนุนสูง  24-26 ม.ค.

"ดร.ทวีศักดิ์ " เผย ใช้โมเดล 3 ทัพ สู้น้ำเค็มอีกรอบสำเร็จ ภายหลังน้ำทะเลหนุนสูง 24-26 ม.ค. ต้องระดมผลักดันจนค่าความเค็มไม่เกินเกณฑ์เฝ้าระวัง

เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 63 ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษา กรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานประสบความสำเร็จโดยใช้โมเดล 3 ทัพของ ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน ที่ประสบความสำเร็จในการสู้กับภาวะน้ำทะเลหนุนสูงเมื่อต้นเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา มาผลักดันน้ำเค็มในช่วงน้ำทะเลหนุนสูงอีกรอบระหว่างวันที่ 24-26 ม.ค. 2563 ส่งผลให้ค่าความเค็มที่สถานีสูบน้ำประปาสำแลปทุมธานี ของการประปานครหลวงค่าความเค็มวันที่ 24 ม.ค. อยู่ที่ 0.26 กรัมต่อลิตร(เกณฑ์เฝ้าระวัง 0.25 กรัมต่อลิตร) จากมาตรฐานในการผลิตน้ำประปาที่ 0.5 กรัมต่อลิตร ซึ่งกรมจะใช้โมเดลนี้สำหรับผลักดันน้ำทะเลอีกครั้งในระหว่างวันที่ 10-12 ก.พ. 63 ที่กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือคาดว่าอาจจะหนุนสูงเท่ากับในช่วงต้นเดือน ม.ค.ที่หนุนสูงระดับบวก 1.4 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง(ม.รทก.)

กรมชลฯ เผย ใช้โมเดล 3 ทัพ สู้น้ำเค็มอีกรอบสำเร็จ ภายหลังน้ำทะเลหนุนสูง  24-26 ม.ค.  

“ทั้งนี้กรมได้เพิ่มการระบายน้ำจากเหนือเขื่อนเจ้าพระยา-ชัยนาท จากอัตรา 75 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที เป็น 90 ลบ.ม.ต่อวินาที และในส่วนของฝั่งตะวันตก ผันจากลุ่มแม่กลองผ่านคลองพระยาบรรลือผ่านประตูระบายน้ำสิงหนาท 2 และคลองพระพิมล จำนวน 45 ลบ.ม.ต่อวินาที และคลองปลายบางที่โรงผลิตน้ำมหาสวัสดิ์อีก 6-10 ลบ.ม.ต่อวินาที รวมถึงการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ ตามจังหวะน้ำทะเลขึ้นลงช่วยดึงน้ำลงทะเลให้เร็วที่สุด ทำให้ค่าความเค็มที่สถานีสูบน้ำไม่เกินมาตรฐาน ซึ่งเมื่อระดับน้ำเค็มลดระดับสู่ภาวะปกติก็จะลดการระบายน้ำเข้าสู่แผนบริหารน้ำที่กรมได้วางไว้“ ดร.ทวีศักดิ์ กล่าว

 

กรมชลฯ เผย ใช้โมเดล 3 ทัพ สู้น้ำเค็มอีกรอบสำเร็จ ภายหลังน้ำทะเลหนุนสูง  24-26 ม.ค.

 

สำหรับการบริหารน้ำตามแผนที่กรมชลประทานจัดสรรไว้ในฤดูแล้งปี 2562/63( 1พ.ย.62-30 เม.ย.63) ทั่วประเทศจำนวน 17,699 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) ณ วันที่ 24 ม.ค. 63 ได้ใช้ไปแล้ว 7,495 ล้านลบ.ม. หรือ 42% ของแผนประเทศ และสำหรับลุ่มเจ้าพระยากรมชลประทานจัดสรรตามแผน 4,000  ล้านลบ.ม. ใช้ไปแล้ว 2,206 ล้านลบ.ม. หรือ 55% ของปริมาณน้ำในแผน   

 

 

นอกจากนั้นศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขและบรรเทาวิกฤติแล้งปี 2562-2563 ได้มีการติดตามสถานการณ์น้ำทั่วประเทศใกล้ชิด และประสานกับการประปานครหลวง การประปาภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อวางแผนการบริหารน้ำสำหรับการผลิตประปาและการกระจายน้ำเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ

โดยกรมได้มีการวางเครื่องมือ เครื่องจักรกลสำหรับช่วยเหลือทั้งเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำทั่วประเทศ 4,316 หน่วย  ไว้ที่ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 1-7 ทั่วประเทศ เพื่อสามารถช่วยเหลือประชาชนได้ทันที

กรมชลฯ เผย ใช้โมเดล 3 ทัพ สู้น้ำเค็มอีกรอบสำเร็จ ภายหลังน้ำทะเลหนุนสูง  24-26 ม.ค.