เหตุการณ์รุนแรงโคราช กดดัน 'แลนด์แอนด์เฮ้าส์' ทางอ้อม

 เหตุการณ์รุนแรงโคราช กดดัน 'แลนด์แอนด์เฮ้าส์' ทางอ้อม

เหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา ล้วนแต่สร้างความเสียหายให้กับชีวิตของประชาชนอย่างประเมินค่าไม่ได้  รวมทั้งภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องจนทำให้เกิดความวิตกต่อการใช้บริการของศูนย์การค้าที่เกิดเหตุการณ์ครั้งนี้

   

      พื้นที่ดังกล่าวศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 หนึ่งในธุรกิจอสังหาริมทรัพน์ภายใต้กลุ่ม อัศวโภคิน  จากโครงสร้างดังกล่าว ทำให้ทั้ง บริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)  หรือ LH ได้รับผลกระทบด้านราคาจากความกังวลทำให้การซื้อขายวานนี้ (12 ก.พ.) ลดลงในช่วงแรก ที่ 9.40 บาท ก่อนที่จะกลับมายืนในแดนบวกปิดที่ 9.55 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากมีกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แอล เอช ช้อปปิ้ง เซ็นเตอร์  หรือ LHSC   ราคาหน่วยลงทุนลดลงตลอดทั้งทำราคาต่ำสุด ที่  18.60  บาท ก่อยจะมาปิดที่ 18.70 บาท ลดลง 1.06  %  โดยมีความกังวลใจต่อผลกระทบด้านรายได้ที่อาจจะลดลงจากเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งในแง่ของการถือลงทุนอาจจะเรียกได้ว่ามีผลกระทบทางอ้อมมากกว่าทางตรง เนื่องจาเฮ้าส์ก LH และ LHSC ไม่ได้ลงทุนใน เทอร์มินอล โคราช โดยตรง  แต่เป็นการถือลงทุนจากกลุ่ม อัศวโภคิน

      เมื่อดูจากโครงสร้างการดำเนินธุรกิจของ  LH เป็นผู้ดำเนินการทั้งธุรกิจอสังหาฯเพื่อที่อยู่อาศัย และเพื่อการพาณิชย์   มีบริษัย่อยที่บริษัทถือหุ้นโดยตรงจำนวน 11 บริษัท บริษัทย่อยที่ถือหุ้นผ่านบริษัทย่อยจำนวน 5 บริษัท  และ บริษัทร่วมจำนวน 5 บริษัท

      โดยมีบริษัท แอล เอช มอลล์ แอนด์ โฮเทล จำกัด หนึ่งในบริษัทย่อย ธุรกิจศูนย์การค้าและโรงแรม  ปัจจุบัน มีโครงการในมือคือ  เทอร์มินอล 21 พัทยา   , โรงแรม แกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ 5 แห่งประกอบด้วย ราชดำริ- เพลินจิต- สุขุมวิท 55 -เทอร์มินอล 21 อโศก   และ เทอร์มินอล  พัทยา  ซึ่งมี 1 โครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เทอร์มินอล 21 ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนพระราม 3

       จากสินทรัพย์ในส่วนดังกล่าวได้ให้ บริษัทย่อย แอล แอนด์ เอช พร็อพเพอร์ตี้ ขายสินทรัพย์ ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 อโศก เข้ากองทรัสต์ LHSC เพียงแค่แห่งเดียว  โดยมีบริษัท สยาม รีเทล ดีเวลล็อปเม้นท์  จำกัด เป็นผู้พัฒนาและบริหารศูนย์การค้าไลฟ์เซ็นเตอร์ให้ LH  

      ด้านโครงสร้างรายได้จากการเปิดเผยของ บจ. แอล เอช มอลล์ แอนด์ โฮเทลส่วนใหญ่อยู่ที่ธุรกิจโรงแรม 60 % ที่เหลือ 40 % มาจากศูนย์การค้า  ขณะที่  LH มีรายได้มาจากธุรกิจอสังหาฯ มากกว่า 80 %  และมีรายได้จากค่าเช่าไม่ถึง 10 %  

     เช่นเดียวกันกับ กองทรัสต์  LHSC มี บจ. แอล เอช มอลล์ แอนด์ โฮเทล เป็นผู้ถือหน่วยอันดับ 2 ที่ 9 % มีสินทรัพย์คือ เทอร์มิเนอร์ 21 อโศก  มีผลกำไรในรอบ  9 เดือน ปี 2562 อยู่ที่  467 ล้านบาท เพิ่มขึ้น  5.18 % จากช่วงเดียวกันปีก่อน  ซึ่งที่ผ่านมามีการประกาศจ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่องในงวดผลประกอบการปี 2562 จำนวน 5 ครั้ง รวม 0.799 บาท ต่อหน่วยลงทุน  คิดเป็นอัตราการจ่ายเงินปันผลประมาณ 5.06 %                       ทั้งนี้หากประเมินจากธุรกิจ LH  แล้ว น้ำหนักด้านธุรกิจจะอยู่ที่แนวโน้มตลาดอสังหาฯ เป็นหลัก จากในปี 2562 กลุ่มธุรกิจดังกล่าวได้รับผลกระทบจากมาตรการสินเชื่อ LTV ตามมาด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว  ค่าเงินบาทที่แข็งค่าทำให้เป็นต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มลูกค้าต่างชาติ ส่งผลต่อยอดขาย (Presales) ยอดรอรับรู้รายได้ (Backlog) และการเปิดตัวโครงการใหม่ลดลง            

    ตามการประเมินของ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ดีบีเอส วิคเคอร์ (ประเทศไทย) ได้คาดการณ์ Presales ปี 2562 ลดลง 12% จากปีก่อน  สู่ระดับ 25,500 ล้านบาท แต่เฉพาะไตรมาส 4 ปี 2562  กระเตื้องขึ้นโดย 3% จากปีก่อน และ 10 % จากไตรมาสก่อน เป็น 6,300ล้านบาท          ประมาณการกำไรจากธุรกิจในไตรมาสดังกล่าวทรงตัว 2,300 ล้านบาท มาจากมาร์จิ้นที่ดีขึ้น และจะมีบันทึกกำไรจากการขายแกรนด์เซ็นเตอร์พอยต์ทองหล่อ (แต่ส่วนนี้ยังไม่ได้อยู่ในประมาณการ)          

   อย่างไรก็ตามได้มีการปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2562-2563 เท่ากับ 4% และ 3% ตามลำดับ สะท้อนส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมที่น้อยลง ยังผลให้กำไรสุทธิปี2562  ลดลง16% แล้วกลับมาเติบโต 6% ในปี 2563          ปรับคำแนะนำเป็นซื้อ (เดิมถือ) ลดราคาพื้นฐานเป็น 10.40 บาท (เดิม 10.70 บาท) สะท้อนคาดการณ์กำไรสุทธิที่ลดลง ทั้งนี้จุดเด่นของ LH คือ มีการกระจายความเสี่ยงดี มีสัดส่วนรายได้ที่แน่นอนสูง และให้ปันผลจูงใจ เราคาดการณ์ Dividend Yield ปี 2562-2563 ไว้ประมาณ 6% ต่อปี