รอง โฆษก ตร. แจงขั้นตอนการคัดกรองบุคคลจากประเทศกลุ่มเสี่ยง COVID-19 ต้องยื่นใบรับรองแพทย์ ซื้อประกันสุขภาพ 1 แสน รับการประทับตราจาก สธ. ก่อนเข้าสู่ประเทศ หลังเกิดกรณี หนุ่มเกาหลี ไม่กักตัว ตามคำแนะนำ
เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 63 พันตำรวจเอก กฤษณะ พัฒนเจริญ รอง โฆษก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมือง ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและประเทศที่ที่เป็นเขตติดต่ออันตราย เพื่อป้องกันการและการแพร่ระบาดของผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่เป็นเขตติดต่ออันตราย กรณีเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ประเทศกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ อิตาลี จีน อิหร่าน เกาหลีใต้ เกาะฮ่องกง และเกาะมาเก๊า จะต้องทำการขอ VISA จากสถานทูตไทยในประเทศนั้นๆ
โดยในส่วนเกาหลีใต้ เกาะฮ่องกง และเกาะมาเก๊า ยังได้รับสิทธิ ตามความตกลงระหว่างประเทศเดิมอยู่ หากแต่ต้องยื่นเอกสาร ใบรับรองแพทย์ ผลการรับรองการตรวจ COVID-19 ที่แสดงผล Negative (เอกสารมีอายุไม่เกิน 48 ชม. ก่อนเดินทาง) และ ประกันสุขภาพ มูลค่าไม่น้อยกว่า 100,000 ดอลล่ร์ หากเอกสารครบถ้วน สายการบินจึงออก Boarding Pass ให้ ซึ่งในส่วนนี้ก็จะมีการตรวจวัดอุณหภูมิ หากพบว่ามีไข้ สายการบินก็จะไม่อนุญาตให้ขึ้นเครื่อง
เมื่อเดินทางถึงประเทศไทย ยังท่าอากาศยาน สนามบินต่างๆ ผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง จะต้องผ่านการ ตรวจอุณหภูมิโดย เครื่อง Thermoscan จากกรมควบคุมโรคฯ หากพบว่ามีไข้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลทันที แต่ถ้าอุณหภูมิร่างกายปกติ จะดำเนินการตรวจสอบ ใบรับรองแพทย์ ผลการรับรองการตรวจ COVID-19 ที่แสดงผล Negative (เอกสารมีอายุไม่เกิน 48 ชม.) , ประกันสุขภาพ มูลค่าไม่น้อยกว่า 100,000 ดอลลาร์ และข้อมูลที่พักในประเทศ พร้อมทั้งกรอกข้อมูลแบบฟอร์ม ต.8 และ ต.8 (ออนไลน์) จากนั้นสาธารณสุขจะประทับตรา Health Control ลงในเอกสาร ตม. 6 และเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองขาเข้า จะตรวจสอบตราประทับ Health Control อีกครั้ง และบันทึกข้อมูลลงในระบบ Biometric จึงผ่านอาการอนุญาตเข้าเมือง
โดยสำหรับประเทศเกาหลีใต้ จะมีเจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข , ตรวจคนเข้าเมือง และ เจ้าหน้าที่การท่าฯ คัดแยกผู้โดยสาร 3 กลุ่ม ที่หน้า Gate ได้แก่ กลุ่มOverstay, กลุ่มทั่วไป, กลุ่มที่ต่อเครื่องทำการตรวจวัดอุณหภูมิคัดกรองบุคคลและสอบสวนโรคฯ หากไม่มีไข้จะให้กรอกข้อมูลแบบฟอร์ม ต.8 และ ต.8 (ออนไลน์) พร้อมรับ Health Stamp ลงในหนังสือเดินทาง โดยกลุ่มที่ต่อเครื่องจะปล่อยตัวขึ้นเครื่องตามปกติ
กลุ่มทั่วไป การท่าและสภ.สุวรรณภูมิ จะพาเดินไปตรวจอนุญาตเข้าเมืองที่ ด่าน ตม.ขาเข้าฯ แนะนำให้เฝ้าระวังและกักตัวเอง ณ ที่พัก 14 วัน พร้อมกลับบ้านได้ตามปกติ และ กลุ่มOverstay การท่าและ สภ.สุวรรณภูมิ จะพาเดินไปตรวจอนุญาตเข้าเมืองที่ ด่าน ตม.ขาเข้าฯ แล้วพาขึ้นรถไปที่สถานีดับเพลิงของการท่าฯ คัดแยกส่งกลับภูมิลำเนา แนะนำให้เฝ้าระวังและกักตัวเอง ณ ที่พัก 14 วัน พร้อมกลับบ้านได้ตามปกติ และ กลุ่มOverstay แต่ถ้าตรวจพบว่ามีไข้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลทันที
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรคถือเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูง จึงเข้าข่ายผู้ที่มีเหตุอันควรสงสัย ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 เพราะฉะนั้นจะต้องกักตัวเองเป็นเวลา 14 วัน ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคในพื้นที่นั้น หากฝ่าฝืนจะมีความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท
รอง โฆษก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับประเทศอื่นๆ ที่ไม่ได้มีประกาศเป็นประเทศที่เป็นเขตติดต่ออันตราย หรือประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทย ที่จะมีผู้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ทั้งทางบก เรือ อากาศ โดย สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ร่วมกับ ด่านควบคุมโรคระบาดระหว่างประเทศ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในการเพิ่มความเข้มงวด กวดขันในการตรวจคัดกรองบุคคล การตรวจวัดอุณหภูมิ บันทึกประวัติ และสอบสวนโรคฯ ผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ในทุกช่องทางอยู่แล้ว ในส่วนประเทศมาเลเซีย ซึ่งประกาศปิดประเทศ 14 วัน ทำให้คนไทยที่อยู่ที่นั่น ส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ 3 จังหวัด ต้องเดินทางกลับเข้าประเทศนั้น
เบื้องต้น ได้ให้กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 6 ตรวจสอบปริมาณแรงงานคนไทยมีจำนวนเท่าใด พร้อมเพิ่มกำลัง เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ในการคัดกรองบุคคล คัดแยก ตรวจสอบ ทำประวัติ ร่วมกับด่านควบคุมโรคระบาดระหว่างประเทศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฯ อย่างมากที่สุด
พร้อมกันนี้ พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้มีความเป็นห่วงเป็นใยข้าราชการตำรวจทุกนาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ในการคัดกรองบุคคล ทั้งทางบก เรือ อากาศ ขอให้เตรียมความพร้อมและเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฯ และหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่สุ่มเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อ เช่น งานเลี้ยงสังสรรค์ สถานบันเทิง สนามกีฬา เป็นต้น
ตลอดจน กำชับผู้บังคับบัญชาทุกภาคส่วน ประสานการทำงานร่วมกับ หน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการประชาสัมพันธ์ หรือ สร้างช่องทางรับรู้ เกี่ยวกับการป้องกันตนเองไม่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) และ สังเกตอาการที่สุ่มเสี่ยง หรือ เฝ้าระวังตนเอง บุคคลใกล้ชิด อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้น