ค้านสร้าง 'อาคารสูง' 43 ชั้น ซอยสุขุมวิท 61 หวั่นทำลาย 'สิ่งแวดล้อม'
ชาวชุมชน แถลงจุดยืน คัดค้านสร้าง "อาคารสูง" 43 ชั้นในซอยสุขุมวิท 61 หวั่นทำลาย "สิ่งแวดล้อม" เผยพร้อมใช้สิทธิทาง กม.ร้องศาลปกครอง
วันที่ 25 พ.ค. 63 ที่ร้าน Counting Sheep ซอยสุขุมวิท 61 คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม พร้อมตัวแทนชาวบ้านซอยสุขุมวิท 61 และในซอยเอกมัย (ซอย 1) ร่วมแถลงข่าว คัดค้านการก่อสร้างอาคารสูงโครงการ “IMPRESSION EKKAMAI” ขนาดใหญ่ 43 ภายในซอยสุขุมวิท 61 โดย คุณหญิงชฎา กล่าวว่า ในซอยนี้มีห้ามการก่อสร้างอาคารเกิน 23 เมตรหรือ 7-8 ชั้นแต่เมื่อต้นปี 2562 ทราบว่าจะมีการก่อสร้างขนาดใหญ่และสูงถึง 43 ชั้นมีเนื้อที่ 3 อาคารมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในระแวกนี้ ซึ่งอยู่ใกล้กับแนวบ้านของคนในชุมชน จึงป็นห่วงว่าจะมีปัญหาสิ่งแวดล้อม ช่วงการเริ่มก่อสร้างไปจนถึงก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยตั้งแต่แสดงแดดทิศทางลม โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยด้านการระดับเพลิง ท่อน้ำประปา ท่อน้ำเสีย หรือเรื่องการจราจรในพื้นที่ เพราะที่ผ่านมาติดมากอยู่แล้ว การจะมีอาคารเพิ่มเข้ามา 300-400 ยูนิตจะทำให้กระทบการการจราจรเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
"หากจะมีโครงการเหล่านี้ขัดจากแนวทางของซอย 61 ไม่ให้เกิน 23 เมตรได้ อาจจะเกิดการล่มสลายของชุมชน ที่ผ่านมาได้ทำหนังสือถึงหน่วยราชการหลายครั้ง โดยได้รับเชิญไปประชุมกับคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอาคารจัดสรรที่ดินและบริการชุมชนกรุงเทพมหานคร(คสก.) โดยทราบว่าจะมีการหารือครั้งสุดท้ายวันที่ 28 พ.ค.นี้ แต่ปัญหาของเรายังไม่ได้รับการแก้ไขตามความต้องการของเรา จึงเป็นปัญหาที่จะเกิดไม่ใช่ชุมชนนี้อย่างเดียว แต่จะเกิดในชุมชนอื่นของกรุงเทพฯ ด้วย ตอนนี้โครงการยังรอใบอนุญาติเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมจาก คชก.ก่อการก่อนสร้างหวังว่าจะได้รับความเป็นธรรมด้วย แต่หลังจากนี้อาจจะมีกระบวนการไปศาลปกครองถ้ามีตวามชัดเจนเพื่อใช้สิทธิทางกฎหมาย"คุณหญิงชฎา กล่าว
ด้านนางมาลิน่า ปาลเสถียร ตัวแทนชาวชุมชน สุขุมวิท 61 กล่าวว่า ในระยะความกว้างในซอยไม่ถึง 10 เมตร มีแต่บ้านเล็กๆส่วนใหญ่ โดยสิ่งที่อันตรายมากคือโครงการไม่ได้ออกแบบให้มีถนนโดยรอบ หากมีเหตุไฟไหม้รถดับเพลิงจะเข้าไม่ได้ แล้วโครงการอยู่ในซอยสุขุมวิท 61 ที่ผ่านมาได้ทักท้วงมาเป็นระยะเวลา 1 ปีแต่ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง หากการก่อสร้างเกิดขึ้นจากผลกระทบด้านต่างๆ ทั้งเรื่องอัคคีภัย การจราจร เรื่องแดด ทำให้ชาวบ้านรอบๆ คงอยู่ไม่ได้แน่นอน เป็นเหมือนวิธีไล่ที่ชาวบ้านที่อยู่มาแล้ว 3 ชั่วคน จึงอยากให้โครงการไปคิดใหม่
"เราเรียกร้อง คชก.ทั้งหมด 62 ข้อในมาตรการอก้ไขปรับปรุงโครงการ โดยโครงการได้ตอบมาเพียง 6 ข้อ โดยมีเนื้อหาการแก้ไขน้อยกว่าที่เรียกร้อง ยังมีผลกระทบเท่าเดิม ไม่ได้อยากให้หยุดโครงการแต่ให่ทำโครงการเท่ากับบริบทในชุมชุนแถวนี้โดยขอให้ลดชั้นตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย 23 เมตรและทำพื้นที่ไม่เกิน 30,000 ตารางเมตร แต่นี่ 40,000 ตารางเมตร"นางมาลิน่า ระบุ
ขณะที่ นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์ สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) กล่าวว่า ปัญหาขณะนี้มีชาวชุมชุนในกรุงเทพฯ 64 แห่งมาร้องเรียนเรื่องการก่อสร้างอาคารสูงที่ผิดกฎหมาย ซึ่งพรบ.ควบคุมอาการกำหนดว่าต้องรับฟังเสียงประชาชน และรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม แต่พบว่าในโครงการหลายๆแห่งที่ผ่านๆมา มีการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นเท็จ ซึ่งชุมชนในกรุงเทพฯ พบปัญหานี้มาทุกซอย โดยเฉพาะปัญหาเรื่องไฟไหม้ จึงขอให้หน่วยงานรัฐและคณะกรรมการชำนาญการสิ่งแวดล้อมเข้ามาตรวจสอบ จากผลกระทบที่จะเกิดขึ้น รวมถึงอยากให้ผู้ว่าฯกทม.ตรวจสอบ เพราะตัวอย่างในซอยร่วมฤดียังไม่มีการรื้ออาคาร แต่ กทม.ยังไม่สามารถรื้ออาคาร