'หุ้น' ฟื้นตัวทิศทางเดียวทั่วโลก หลังผ่อนคลายล็อกดาวน์
หลายประเทศเริ่มทยอยๆ ปลดล็อกประเทศเพื่อผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ทั่วโลก ทำให้กราฟของดัชนีหุ้นทั่วโลกค่อนข้างไปทางเดียวกัน คือ สร้างจุดต่ำยกสูงขึ้นและสร้างจุดสูงสุดใหม่
1.ดัชนีดาวโจนส์ (DJIA) มีการฟื้นตัวเป็นแบบบันไดขาขึ้น คือ จุดต่ำยกสูงขึ้นและสร้างจุดสูงสุดใหม่ได้ ปัจจุบันกำลังทดสอบแนวต้าน EMA 200วัน = 25,600 จุด โดยประมาณ นับตั้งแต่เป็นขาลง ที่ดัชนีดาวโจนส์หลุดต่ำกว่า EMA 200 วัน (เมื่อวันที่ 25/02/2563 = 27,469 จุด) ลงมา ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นมา จนมีจุดต่ำสุดที่ 18,213.65 จุด
หลังจากนั้นได้ไต่เป็นบันไดขาขึ้น และเกิด Golden cross ดัชนีดาวโจนส์ ยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย EMA ได้และ Indicators (MACD, 14RSI, Slow Stochastic) เกิดสัญญาณซื้อขึ้นมาและเกิด Bullish Convergence, MACD > 0 เกิดสัญญาณบวกอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางปัจจัยลบจากการ Lockdown ของหลายๆ ประเทศทั่วโลก รวมทั้งสหรัฐและไทยจากโคโรน่า ไวรัส Corona Virus Disease 2019 (Covid -19) หลังจากผ่านพ้นจุดต่ำสุด ที่ 18,213.65 จุด
แม้จะมีแต่ข่าวร้ายรายวัน แต่ดัชนีดาวโจนส์และตลาดหุ้นทั่วโลกได้เริ่มฟื้นตัวต่อเนื่อง, เริ่มจำกัดการแพร่ระบาดของ Covid 19 ได้ดีขึ้น, ช่วงนี้จะเห็นหลายๆ ประเทศ เริ่มๆ ทยอยๆ ปลดล็อกเมืองกันมากขึ้นต่อเนื่อง, อัตราการเสียชีวิตและอัตราการติดเชื้อได้ลดลง แม้ว่าจะยังไม่สามารถผลิตวัคซินต้านไวรัสโควิด-19 ได้เป็นผลสำเร็จก็ตาม,
ช่วงนี้ หลังมีข่าวความคืบหน้าในการผลิตวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 รวมทั้งสัญญาณที่บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก หลังจากรัฐบาลของประเทศต่างๆ เริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์เพื่อเปิดทางให้ภาคธุรกิจเริ่มกลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง, ขณะนี้ทั้ง 50 รัฐในสหรัฐได้กลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง
2.ดัชนีหุ้นทั่วโลก ก็เดินหน้าไปทางเดียวกัน คือ บันไดขาขึ้นไปทิศทางเดียวกันทั่วโลก, หลังจากนี้ทั่วโลกจะเริ่มออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจากทยอยๆ เปิดเมืองทั่วโลก กิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจจะเริ่มมีมากขึ้น นั่นถือว่าเป็นสัญญาณเชิงบวกให้ดัชนีหุ้นทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น มาตรการต่างๆ น่าจะใช้ทั้งนโยบายการเงิน (Monetary Policy) เช่น ดอกเบี้ยต่ำๆ, นโยบายการคลัง (Fiscal policy) คือ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการหารายได้ และรายจ่ายของรัฐบาล รายได้ส่วนใหญ่ของรัฐบาลมาจากการเก็บภาษี (Tax)
3.นักลงทุนคาดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกจะฟื้นตัวขึ้น หลังจากหลายประเทศเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ โดยล่าสุดรัฐบาลอังกฤษจะอนุญาตให้มีการเปิดห้างสรรพสินค้าและธุรกิจบางส่วนในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ ตามมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์เฟสที่สอง, ขณะที่รัฐบาลเยอรมนีมีแผนที่จะผ่อนคลายมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมให้เร็วขึ้น 1 สัปดาห์ จากเดิมที่จะมีผลบังคับใช้ไปจนถึงวันที่ 5 ก.ค. มาเป็นวันที่ 29 มิ.ย. และตั้งเป้าจะยกเลิกคำเตือนการเดินทางไปยัง 31 ประเทศในยุโรปในช่วงกลางเดือนมิ.ย.นี้,
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าตลาดอื่น สามารถตีทะลุแนวต้าน EMA 200 วัน = 21,000 จุด ขึ้นไปได้ ตามมาด้วย ตลาดหุ้นออสเตรเลีย หลังจากที่จะมีการทยอยเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจก็ทำให้มีความคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นได้
4.ราคาน้ำมันดิบ (WTI) ล่าสุด (28/5/2020)อยู่ที่ 32.56 ดอลลาร์/บาร์เรล ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง นับจากกลางเดือน เมษายน 63 เป็นต้นมา ถือว่า กราฟเป็นแนวโน้มขาขึ้น เกิด Golden cross, กราฟเป็นบันไดขาขึ้น ระยะสั้น อยู่ในช่วง Sideway ออกด้านข้าง กรอบราคาน้ำมันดิบ WTI ในช่วงนี้ อยู่ในกรอบ 28- 42 ดอลลาร์/บาร์เรล หากไม่หลุด 28 ดอลลาร์/บาร์เรล ลงมา ยังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นอยู่ ,
ช่วงนี้ ตลาดฯ กังวลต่อความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐฯ เรื่องการเจรจาการค้า และความตึงเครียดในฮ่องกง เนื่องจากจีนเตรียมผ่านกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ ซึ่งเป็นการยุติอำนาจปกครองตนเองของฮ่องกง และมีความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะถอดศูนย์กลางทางการเงินแห่งนี้ให้พ้นจากสถานะพิเศษทางการค้าภายใต้กฎหมายของสหรัฐฯ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศแย่ลง,
ขณะที่รัสเซียมีแนวโน้มที่จะผ่อนปรนมาตรการลดกำลังผลิตตามแผนเดิมในเดือน ก.ค. 63 ให้กลับไปอยู่ในกรอบข้อตกลงที่โอเปกและประเทศพันธมิตรเห็นพ้องกันในช่วงต้นปี หลังอุปสงค์โลกเริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้ตลาดขาดความมั่นใจจนกว่าจะมีข้อตกลงที่แน่ชัด, ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% สู่ระดับ 0.50% เป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ เป้าหมายที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว หลังจากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเกาหลีใต้ หดตัวลงอย่างรุนแรงในไตรมาส 1 ปีนี้ อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
5.กราฟค่าเงินบาท 28-05-2563 อยู่ที่ 31.85 บาท/ดอลลาร์, หลังจากค่าเงินบาทอ่อนค่าไปแตะจุดสูงสุดที่ 33.17 บาท/ดอลลาร์ ได้เริ่มปรับลงมา = แข็งค่า หลังจาก หลุดต่ำกว่า 32.50 บาท/ดอลลาร์ได้ ถือเป็นปัจจัยบวก ปัจจุบันได้หลุดต่ำกว่า 32 บาท/ดอลลาร์ได้ และหากหลุดต่ำกว่า (แข็งค่า) 31.50 บาท/ดอลลาร์ ได้ จะกลายเป็นขาลง (แข็งค่า) สมบูรณ์แบบ
โดยปกติ หากค่าเงินบาทแข็งค่า (กราฟขาลง) ต่างชาติจะกลับมาเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ เป็นการสนับสนุนดัชนีหุ้นไทยให้เป็นขาขึ้นได้ (กราฟค่าเงินบาท จะผกผันตรงข้ามกับดัชนีหุ้นไทย) แม้ว่า ปัจจุบัน ค่าเงินบาทจะเริ่มแข็งค่า แต่ต่างชาติยังไม่หันกลับมาซื้อสุทธิ หากค่าเงินบาท หลุดต่ำกว่า 31.50 บาท/ดอลลาร์ ได้ มีโอกาสที่ดัชนีหุ้นไทยจะขึ้นไปทดสอบแนวต้าน EMA 200 วัน = 1,430 – 1,450 จุด ต่อไป
6.MSCI ประกาศไทยถูกปรับเพิ่ม/ลดน้ำหนัก มีผล 29 พ.ค.63, (-) ไทยถูกปรับลดน้ำหนักลงสู่ 2.36% จาก 2.39%, ดัชนี MSCI Thailand Index หุ้นที่เข้าและออกในการคำนวณ หุ้นเข้า AWC, BAM, KTC, หุ้นที่นำออกจากการคำนวณ BANPU, ดัชนี MSCI Global Small Cap หุ้นเข้า BANPU, หุ้นที่นำออก จากการคำนวณ ANAN, BEAUTY, BEC, ERW, GGC, ITD, LPN, PLAT, PSL, GLOBAL, SVI, TTA, U, UNIQ, UV, WORK มีผลในการปรับน้ำหนักวันที่ 29 พ.ค. 2563
สรุป หลายๆ ประเทศ เริ่มทยอยๆ ปลดล็อกประเทศ เพื่อผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ทั่วโลก น่าจะผ่านพ้นจุด อันตราย (Peak) ไปแล้ว คือ อัตราการติดเชื้อลดลง, ผู้เสียชีวิตลดลง (อย่างไทยเรา เห็นได้ชัดว่า การบริหารจัดการมีความก้าวหน้า จนทำให้ผู้เสียชีวิตและติดเชื้อน้อยลง), นโยบายต่างๆ ทั้งนโยบายการเงิน นโยบายการคลังเริ่มทยอยๆ ออกมาทั่วโลก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ, กราฟของดัชนีหุ้นทั่วโลก ค่อนข้างไปทางเดียวกัน คือ สร้างจุดต่ำยกสูงขึ้นและสร้างจุดสูงสุดใหม่, แม้ระยะสั้นๆ จะมีการพักฐานเป็นระยะๆ แต่ จาก Indicators ระยะกลาง-ยาว (Weekly, Monthly) ได้เริ่มยืนยันว่า กำลังจะเปลี่ยนไปเป็นขาขึ้นที่จะสดใสต่อไป,
ดังนั้น การปรับฐานระยะสั้นๆ น่าจะเป็นโอกาสของการทยอยซื้อหุ้นสำหรับคนที่ตกรถ, สถานการณ์ของไทย ให้ติดตามการคลายล็อกดาวน์ เฟส 3 ว่า ธุรกิจโรงภาพยนตร์, สปา จะกลับมาเปิดให้บริการได้หรือไม่, ขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคาร ที่ปรับตัวลงมารุนแรงก่อนหน้า ปรับตัวลงมา 35% นับจากต้นปี ได้มีการเก็งกำไรหุ้นในกลุ่มธนาคารที่ยัง underperform ไม่ว่าจะเป็น BBL KBANK SCB TISCO KKP KTB รวมถึงหุ้นกลุ่มสายการบิน, และ ช่วงกลางเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา บริษัทจดทะเบียนได้ ประกาศงบการเงิน ไตรมาส 1/63 ไปหมดแล้ว ให้ทุกๆท่านทำการบ้าน เลือกหุ้นที่มีอนาคตดี ไม่ได้รับผลกระทบจาก Covid 19, หรือมีผลกระทบน้อย และปรับตัวได้หลังเหตุการณ์ต่างๆผ่านไป, หากดัชนีปรับฐาน ไม่หลุด 1,290 – 1,310 จุด ทยอยๆ ซื้อหุ้นพื้นฐานดีๆ เข้าพอร์ต เลือกเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่ ที่ กองทุนและต่างชาตินิยม (ไม่ลงทุนในหุ้นขนาดเล็ก เพราะเม็ดเงินจะไม่เข้า ยกเว้น เจาะลึกพื้นฐานได้ดีจริงๆ)