เปิดลิสต์ 'ธุรกิจ' กลุ่มไหนฟื้น กลุ่มไหนฟุบ หลังเผชิญ 'โควิด-19'

เปิดลิสต์ 'ธุรกิจ' กลุ่มไหนฟื้น กลุ่มไหนฟุบ หลังเผชิญ 'โควิด-19'

ส่องอนาคต "ธุรกิจ" หลังโควิด-19 กลุ่มไหนมีแนวโน้มฟื้นตัวเร็วหรือช้า โดย "ภากร ปีตธวัชชัย" ผู้จัดการ ตลท. พร้อมเผยวิธีการฟื้นฟูกิจการที่ช่วยให้ธุรกิจฟื้นกลับมาได้เร็วยิ่งขึ้น

ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวปาฐกถาพิเศษ "ตลาดทุน ฝ่าวิกฤติโควิด" ในงานงานสัมมนา "ส่องหุ้นไทย ฝ่าวิกฤติโควิด" จัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ร่วมกับพันธมิตร

ภากร กล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้นไทยในระยะที่ต้องเผชิญสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา พร้อมกับคาดการณ์การทิศทางของธุรกิจต่างๆ ที่จะเปลี่ยนในช่วงที่โรคระบาดยังไม่สามารถยุติลงได้

159300220889

ภาพรวมของกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาดำเนินงานได้ และ "ธุรกิจ" ที่คาดว่าจะสามารถฟื้นตัวกลับมาได้ 5 ระดับ คือ

- กลุ่มที่ยังเติบโตได้
- กลุ่มที่ได้รับผลกระทบน้อย
- กลุ่มที่ฟื้นตัวเร็ว
- กลุ่มที่ฟื้นตัวได้ และ
- กลุ่มที่ใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัว

ตามข้อมูล Earning Estimation (EPS) จาก Bloomberg ณ วันที่ 17 มิ.ย. 63 มีดังนี้

159301638819

  •  กลุ่มยังเติบโตได้ สัดส่วนใน SET 1.54% 

1. ธุรกิจการเกษตร
2. ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
3. บริการเฉพาะกิจ

  •  กลุ่มได้รับผลกระทบน้อย สัดส่วนใน SET 21.64% 

1. ธนาคาร
2. เหล็ก
3. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
4. กระดาษและวัสดุการพิมพ์ 
5. เงินทุนและหลักทรัพย์
6. เหมืองแร่
7. พาณิชย์

  •  กลุ่มฟื้นตัวเร็ว สัดส่วนใน SET 30.81% 

1. พลังงานและสาธารณูปโภค
2. วัสดุก่อสร้าง
3. ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์
4. วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร 

  •  กลุ่มฟื้นตัวได้ สัดส่วนใน SET 44.08% 

1. อาหารและเครื่องดื่ม 
2. การแพทย์
3. การท่องเที่ยวและสันทนาการ
4. พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
5. บริการรับเหมาก่อสร้าง
6. ยานยนต์
7. สื่อและสิ่งพิมพ์
8. ของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน 
9. ขนส่งและโลจิสติกส์
10. กองทุนอสังหาริมทรัพย์ & กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) 

159301645369

  •  กลุ่มที่ต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัว สัดส่วนใน SET 1.93% 

1. ประกันภัยและประกันชีวิต
2. ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์
3. แฟชั่น
4. บรรจุภัณฑ์

  •  4 ปัจจัยที่พบในกลุ่มบริษัทที่ฟื้นตัวเร็ว 

นอกจากนี้ ระหว่างที่โควิด-19 ระบาดใหญ่ ตลาดหลักทรัพย์ทำการสำรวจบริษัทจดทะเบียนทั้ง จากทั้ง 8 อุตสาหกรรม ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง และใช้กลยุทธ์ใดในการรับมือกับวิกฤติครั้งนี้ จากผลการสำรวจพบว่า มี 4 ปัจจัยหลักที่บริษัทที่ฟื้นตัวได้อย่างเร็วลงมือทำ ได้แก่

1. ปรับประสิทธิภาพในการทำงาน บริหารสภาพคล่อง บริษัทจะต้องมีเงินทุนหมุนเวียนเลี้ยงธุรกิจได้

2. มีนวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยในการทำความเข้าใจลูกค้า ใช้ข้อมูลวิเคราะห์ว่าลูกค้าต้องการอะไร เพื่อเสนอให้ตรงความต้องการของลูกค้ามากกว่าที่เคย

3. การดูแลพนักงานให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แม้ในช่วงที่ต้องเว้นระยะห่างทางสังคม เช่นการทำงานจากบ้าน ที่ช่วยทำให้งานยังมีประสิทธิภาพแม้ไม่ได้ดำเนินงานตามปกติ

4. ประเมินว่าบริษัทมีจุดไหนที่ไม่เก่งต้องมีพาร์ทเนอร์ชิพเข้ามาช่วยสนับสนุน เพื่อเสริมความแข็งแกร่ง

159301658950

ทั้งนี้ ภากร ยังได้กล่าวอีกว่าที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์เติบโตอย่างต่อเนื่อง เห็นได้ชัดเจนจากมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ ณ ปี 2553 ที่มีมูลค่าตลาด 6.4 ล้านล้านบาทมีสัดส่วนอุตสาหกรรมใหญ่ 3 อันดับแรกได้แก่ ทรัพยากร 30% การเงินและประกันภัย 22% อสังหาฯและก่อสร้าง 14%

ในขณะที่มูลค่าตลาดปี 2563 อยู่ที่ 14.8 ล้านล้านบาท โดยสัดส่วนอุตสาหกรรมใหญ่ 3 อันดับแรกเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด ประกอบด้วย กลุ่มบริการ 27% ทรัพยากร 23% อสังหาฯและก่อสร้าง 14% 

ข้อมูลเหล่านี้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าประเภทของอุตสาหกรรมที่เติบโตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แม้ไม่มีดิสรัปชั่น แต่สิ่งที่เหล่านี้ก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ ที่แสดงให้เห็นว่ามีความไม่แน่นอนต่างๆ เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมไหนๆ ธุรกิจใด ก็ต้องเตรียมพร้อมรับมือ ปรับตัวพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ