'อังค์ถัด' เตือนทุนหายกำไรหด ทำอนาคตเอฟดีไอโลกเปลี่ยน
การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด จะจัดทำรายงานสถานการณ์การลงทุนโลกทุกปีในรูปแบบ"รายงานการลงทุนโลก 2563 หรือ World Investment Report : WIR2020 ซึ่งปีนี้ ทำขึ้นในหัวข้อ “International Production Beyond the Pandemic”
การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด จะจัดทำรายงานสถานการณ์การลงทุนโลกทุกปีในรูปแบบ"รายงานการลงทุนโลก 2563 หรือ World Investment Report : WIR2020 ซึ่งปีนี้ ทำขึ้นในหัวข้อ “International Production Beyond the Pandemic” แน่นอนปัจจัยหลักที่ทำให้การลงทุนโลกปีนี้ดิ่งเหวคือ การระบาดของ“โควิด-19”
สาระสำคัญโดยสรุปจากWIR ระบุ ว่า ปีนี้การลงทุนโดยตรงทั่วโลก(FDI) จะลดลง 40% จากมูลค่าการลงทุนทั้งปี 2562 ที่มีมูลค่า 1.54 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งทำให้ปี2563 การลงทุนทั่วโลกจะมีมูลค่าต่ำกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์เป็นครั้งแรกในรอบ15 ปี หรือ ตั้งแต่ปี 2545
อย่างไรก็ตาม ในปี2564 คาดว่าการลงทุนลงโลกจะยังลดลงอย่างต่อเนื่อง อยู่ที่ 5-10% และจะกลับมาฟื้นตัวในระดับก่อนหน้าการเกิดโควิด-19 ได้ในปีถัดไปหรือ 2565
สาเหตุสำคัญที่ทำให้FDIทั่วโลกได้รับผลกระทบมาจากการระบาดของโควิด ดังนั้นคาดการณ์ต่างๆต้องอยู่บนพื้นฐานขีดความสามารถการแก้ไขสถานการณ์การระบาดด้วย เพราะถือว่าการระบาดยังอยู่บนความไม่แน่นอนสูงมาก รวมถึงการกินระยะเวลาการระบาดทั่วโลก และนโยบายเพื่อดูแลผล
กระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ด้วย
ทั้งนี้ การระบาดของโรคส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักของการลงทุน หรือ FDI shock โดยพบว่ามาตรการล็อกดาวน์มีผลทำให้การลงทุนโครงการต่างๆชะลอตัว และคาดว่าภาวะถดถอยแบบดิ่งในระดับโลกจะทำให้บริษัทข้ามชาติต่างๆทบทวนการเปิดโครงการลงทุนใหม่ๆ
อย่างไรก็ตาม พบว่าการลงทุนจะค่อยๆฟื้นตัวอย่างช้าๆในปี 2565 แต่จะมาพร้อมกับการปรับโครงสร้างของห่วงโซ่การผลิตโลก หรือ GVC ที่จะมีโฉมหน้าใหม่ที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
คาดว่าน่าจะมากกว่า 2 ปีที่เราต้องอยู่กับวิกฤตินี้ คือ ปีนี้ และปีหน้า เนื่องจากดีมานด์ช็อค จะเป็นปัจจัยใหญ่ที่สุดที่จะกดดันFDI แม้ว่าโดยรวม FDI จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของจีดีพีไม่ได้ทันทีทันใด แต่มีการคาดการณ์ว่ามาตรการล็อกดาวน์ต่างๆ และการหยุดชะงักของดีมานด์(Demand shock) จะเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความกังวลจนเป็นสะท้อนกลับมาสู่การตัดสินใจลงทุนและนำไปสู่การหดตัวของFDI ในครึ่งแรกปีนี้ และจะยังไม่กลับมาไปจนถึงครึ่งปีหลังปีและปี 2564 ด้วย
“มีสัญญาณมาก่อนหน้านี้จากกำไรของบริษัทข้ามชาติระดับท็อป 5,000 แห่งทั่วโลก ว่า ปีนี้ว่าน่าจะลดลงถึง40%โดยเฉลี่ย ทำให้หลายอุตสาหกรรมเผชิญภาวะขาดทุน ซึ่งกระทบต่อแผนการลงทุนซ้ำที่คิดเป็นสัดส่วนต่อFDIถึง50%โดยเฉลี่ย”
หากแยกผลกระทบรายอุตสาหกรรมก็จะพบว่าอุตสาหกรรมบริการได้รับผลกระทบโดยตรงจากการล็อกดาวน์ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเดินทาง หรือการพักผ่อน ขณะที่กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันและผลจากโรคระบาด ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่พึ่งพาระบบGVC เช่น ยานยนต์ และสิ่งทอ จะได้รับผลกระทบหนักเพราะห่วงโซ่การอุปทาน หรือ supply chain กระทบ โดยรวมหลายอุตสาหกรรมคาดว่าจะได้รับความสูญเสียถึง 30% หรือมากกว่าของรายได้ที่จะได้รับ ซึ่งคิดว่าสัดส่วนต่อโครงการที่จะนำไปสู่ FDIถึง 70%
ทั้งนี้ หากประเมินผลกระทบเทียบต่อระยะเวลาก็จะพบว่า ปีนี้ ปัญหาใหญ่อยู่ที่ การหยุดชะงักของFDI จากปัญหาล็อกดาวน์ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่เป้าหมายลงทุนได้
ส่วนผลต่อเนื่องจนถึงปีหน้า จะมีความซับซ้อนขึ้น เพราะผลกำไรที่ทำได้ยากขึ้นจะทำให้แผนการลงทุนซ้ำเกิดขึ้นได้ยากเช่นกัน ซึ่งผลกระทบต่อFDI ขณะที่ผลกระทบต่อเนื่องที่อาจลากยาวไปจนถึงปี 2565 คือกฎระเบียบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้จะเป็นตัวขัดขวางการลงทุนใหม่ๆ
ขณะที่ผลกระทบระยะยาวในอีกหลายปีจากนี้คือ เศรษฐกิจโลกถดถอย ซึ่งมีเป็นผลโดยตรงต่อการตัดสินใจลงทุนต่างๆ ส่วนผลระยะยาวในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือปี 2573 คือ การลงทุนจะเน้นการยืดหยุ่นของsupply chain และการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญต่อการสร้างระบบซับพลายที่พึ่งพาตัวเองได้ซึ่งจะนำไปสู่การกลับไปลงทุนในประเทศบ้านเกิด การขายการลงทุน หรือหาทางเบี่ยงอื่นๆ
“ผลกระทบต่างๆที่กล่าวมาจะเป็นผลกระทบรุนแรงแตกต่างกันไปตามแต่พื้นที่ และภูมิภาค โดยกลุ่มเศรษฐกิจกำลังพัฒนาต่างๆจะได้รบผลกระทบมากที่สุด เพราะประเทศเหล่านี้ไม่สามารถแทนที่โครงสร้างเศรษฐกิจด้วยมาตรการอื่นๆแทนได้เหมือนประเทศพัฒนาแล้ว”
รายงานยังระบุอีกว่า ช่วง10 ปี จากนี้ หรือ ทศวรรษ 2030 กำลังเป็นช่วงของการพิสูจน์ถึงการเปลี่ยนผ่าน Transformation สำหรับการผลิตของโลก กล่าวโดยสรุปก็คือ แนวโน้มการค้าและการลงทุนจะคลี่คลายด้วย 3 ปัจจัยหลักต่อการผลิตโลก คือ การเข้มข้นของการกระจายตัว และการเพิ่มช่วงของห่วงโซ่มูลค่า (value chain) จากสั้นก็ไปยาว ,การกระจายตัวทางภูมิศาสตร์ เพื่อการเพิ่มมูลค่า และนโยบายของบริษัทข้ามชาติต่าง ๆที่กำหนดว่าวงแขนแห่งการค้าต้องสัมพันธ์กับFDI (arm 's length trade vs FDI)
สุพันธุ์ มงคลสธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า แนวโน้มการลงทุนของไทยในปีนี้ คงต้องต่ำกว่าปีที่ผ่านมาอย่างแน่นอน เพราะแต่ละประเทศต้องเร่งแก้ปัญหาโควิด-19 ก่อน
อย่างไรก็ตาม ในปี 2564 คาดว่าตัวเลขการลงทุนจากต่างชาติจะกระโดดกลับมา และคาดว่าจะขยายตัวสูงกว่าปี 2562 ประมาณ 4-5% เนื่องจากภาวะสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐยังคงทวีความรุนแรง
ทำให้ต้องย้ายฐานการผลิตมาสู่ประเทศที่ปลอดภัย มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี และมีความพร้อมด้านsupply chain รวมทั้งจากการที่ไทยรับมือโควิด-19 ได้ดี ทำให้มีความปลอดภัยในการเข้ามาทำงานและพักอาศัย ซึ่งทั้ง 2 ส่วนนี้จะเป็นแรงดึงดูดสำคัญในการดึงดูดการลงทุนในปี 2564