ขสมก. ออกแผนฟื้นฟู 63 หวังเปลี่ยนสู่การเป็นรถเมล์สาธารณะของคนไทย จ่อชงแผนเดือนหน้า
ขสมก. ออกแผนฟื้นฟูปี 2563 รับกระแสโพล "รถเมล์แบบไหนถูกใจคนกรุงฯ" หลังพบแผนฯ เดิมมีบางข้อไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการ และไม่ทันยุค Covid-19 เน้นยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นฐานของประชาชน หวังเปลี่ยนโฉมสู่การเป็นรถเมล์สาธารณะของคนไทย ให้บริการสังคมและเป็นมิตรกับสิ
เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 63 นายสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก) กล่าวถึงการปรับแผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก. ที่ได้มีการปรับแผนใหม่ล่าสุด ทันต่อยุค Covid-19 ว่า ขสมก.ได้เคยจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ เมื่อปี พ.ศ. 2562 โดยได้รับความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรี แต่เนื่องจากเรายังมีโจทย์ที่จะต้องปรับแผนให้รอบคอบรัดกุม สามารถแก้ปัญหาเรื้อรัง ทั้งสถานะทางการเงิน สภาพรถเก่าและจำนวนรถโดยสาร การปรับโครงสร้างองค์กร ต้นทุนการดำเนินงานที่สูง และการปรับปรุงระบบเทคโนโลยีด้าน IT ของหน่วยงานให้ทันต่อยุคสมัย โดยจะเห็นว่าจากสถานการณ์โลกปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า หรือ Covid-19 เป็นตัวเร่ง ทำให้ทุกอย่างเกิดขึ้น และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก ซึ่งประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากแผนฟื้นฟูดังกล่าว อาทิ
โดยหากทำตามแผนที่วางไว้ มีการคำนวณว่าจะขอรับเงินสนับสนุนจากภาครัฐเป็นระยะเวลา 7 ปี ตั้งแต่ปี 2564-2571 และในปี 2572 ขสมก.จะสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ไม่เป็นภาระให้ภาครัฐในอนาคต ซึ่งนับเป็นการเตรียมแผนสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน"
สำหรับผลโพล "รถเมล์แบบไหน ถูกใจคนกรุง" เก็บข้อมูลจากประชาชนที่ใช้บริการรถเมล์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,299 คน จัดทำโดยกรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 46.7 มีความพึงพอใจต่อรถเมล์ที่วิ่งอยู่บนท้องถนนในระดับน้อย รองลงมาร้อยละ 33.0 ระบุว่าพึงพอใจปานกลาง และร้อยละ 20.3ระบุว่าพึงพอใจมาก
เมื่อถามถึงภาพลักษณ์ของรถเมล์ที่วิ่งอยู่ในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.0 ระบุว่ารอรถเมล์นาน รถไม่พอกับความต้องการ รองลงมาร้อยละ 51.7 ระบุว่า รถมีสภาพเก่า ชำรุดทรุดโทรม และร้อยละ 41.2 ระบุว่ารถปล่อยควันดำ ส่งผลเสียด้านมลพิษ
สำหรับความคาดหวังว่าอยากได้รถเมล์แบบใดนั้น พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.6 อยากให้รถเมล์มาตรงเวลา ผู้โดยสารไม่ต้องรอนาน จะได้เดินทางรวดเร็วขึ้น รองลงมาร้อยละ 53.1 ระบุว่าอยากให้รถเมล์ใหม่ทุกคัน ทุกสาย เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร และร้อยละ 51.9 ระบุว่าอยากให้ออกรถถี่ขึ้น มีที่นั่งเพียงพอ ไม่ต้องเบียดเสียดแออัด ตามรูปแบบการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)
นอกจากนี้ ยังมีความต้องการอื่น ๆ จากเสียงของผู้ใช้บริการ อาทิ ร้อยละ 37.6 อยากให้รถโดยสารเป็นรถชานต่ำ เป็นมิตรกับผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และร้อยละ 26.8 มีความคาดหวังให้ชำระค่าบริการผ่าน E-Ticket แทนการใช้เงินสด เพื่อความสะดวก ลดการสัมผัส และปรับราคาค่าโดยสารแบบเหมาจ่าย 30 บาท เพื่อลดภาระค่าครองชีพประชาชน เป็นต้น
ในส่วนของการแก้ไขปัญหา การขับรถหวาดเสียว การไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร และการขับรถเลยป้าย ขสมก.จะเข้มงวดกวดขันในการกำกับดูแลพนักงานขับรถ ให้ปฏิบัติตามกฎจราจรและคู่มือพนักงานขับรถตามมาตรฐานระบบ ISO 9001: 2015 อย่างเคร่งครัด
"ขณะนี้ ขสมก.พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนสู่สิ่งที่ดีขึ้น เรามองไปที่การปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ขสมก.ใหม่ทั้งหมด ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ ในการพลิกโฉม ขสมก.ในอดีตโดยสิ้นเชิง โดยเราได้รับฟังเสียงจากประชาชนผู้ใช้บริการ เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก. โดยในปี 2563 นี้ เราหวังส่งสัญญาณไปถึงประชาชนทุกคน เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นฐานของคนในสังคม ไม่เพียงแต่พนักงานของ ขสมก. หรือผู้ใช้บริการ แต่หมายถึงคนในสังคม ผู้ใช้รถ ใช้ถนน ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่เราอาศัย" นายสุระชัย กล่าวทิ้งท้าย