'มนัญญา' เล็งปลด 13 พืชออกบัญชีวัตถุอันตราย 2

'มนัญญา' เล็งปลด 13 พืชออกบัญชีวัตถุอันตราย 2

"มนัญญา” ชงปลด13 พืช ออกจากวัตถุอันตรายประเภท2 ส่วนผงสมุนไพร ไม่ต้องขึ้นทะเบียนเตรียมเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตราย ส.ค.นี้

น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เดือน ส.ค.63 เตรียมนำเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตราย นำพืช 13 ชนิด ได้แก่ สะเดา ,ชา กากเมล็ดชา,ข่า,ขิง,ขมิ้นชัน,ตะไคร้หอม,ดาวเรือง,พริก,คื่นช่าย, สาบเสือ, ชุมเห็ดเทศ, ดองดึง, และหนอนตายหยาก ออกจากวัตถุอันตรายชนิดที่ 2(ว.2) เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1(ว.1) เพื่อให้เกษตรกรสามรถนำมาใช้ ได้ เพราะพืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิดนี้ ถูกกำหนดไว้ในหมวดของ ว.2 ซึ่งถือว่าเป็น วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด

มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตร ไปยกร่างหลักเกณฑ์การใช้พืชสมุนไพรทั้ง 13 ตัวนี้ เพื่อเป็นแนวทางให้เกษตรกรได้นำไปใช้ และเตรียมนำเสนอก่อนนำเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตราย โดยในที่ประชุม ได้มีมติปลดผง หรือ สารธรรมชาติของสมุนไพรทั้ง 13 ตัวนี้ออกจากบัญชีวัตถุอันตราย ไม่ต้องขึ้นทะเบียน ส่วนที่เป็นสารสกัด หรือ ที่เป็นน้ำ จะนำออกจากบัญชี ว.2 มาไว้ในบัญชีว.1 ดังนั้นจากนี้ต่อไปเกษตรกรสามารถนำสมุนไพรในรูปของผงสมุนไพรไปใช้ได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ส่วนที่เป็นน้ำต้องดูว่าจะนำไปผลิตอะไร มีสารที่มาผสมอะไรบ้าง มีอันตรายต่อสุขภาพสมุน หรือสัตว์ หรือพืช หรือไม่

“พืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิด เป็นพืชที่เกษตรกรได้นำมาใช้ประโยชน์เพื่อเป็นสารควบคุมแมลงเพื่อทดแทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมานาน เนื่องจากไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเลย ถึงมีก็น้อยมาก ไม่ก่อให้เกิดผลตกค้างที่เป็นอันตรายต่อทั้งเกษตรกรเองและผู้บริโภค สามารถหาได้เองจากในชุมชนหรือจากเพื่อนบ้านใกล้เคียง”

159464099247

น.ส.อิงอร ปัญญากิจ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ว.1 จะมีความเป็นอันตราย หรือความเป็นพิษน้อยกว่า ว. 2 และมีขั้นตอนการควบคุมแตกต่างกัน และ ว.2 ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ครอบครองที่จะมีไว้ใช้ จะต้องทำการขึ้นทะเบียน และแจ้งการดำเนินงานกับกรมวิชาการเกษตร ส่วน ว.1 ไม่ต้องขึ้นทะเบียน แค่มาแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสารหรือพืชนั้น ซึ่งการขึ้นทะเบียนจะมีขั้นตอนยุ่งยาก ต้องนำผลิตภัณฑ์ไปวิเคราะห์ข้อมูลความเป็นพิษของสารนั้น และต้องนำสารนั้นไปทดสอบประสิทธิภาพการใช้เพื่อให้ทราบว่าจะใช้อัตราที่เท่าไหร่ถึงจะมีประสิทธิภาพตามที่กล่าวอ้างจริง

นอกจากนั้นจะต้องทำการประเมินความเสี่ยง ความปลอดภัยของคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรได้นำสารธรรมชาติ หรือพืชที่อยู่ตามธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการควบคุมศัตรูพืช กระทรวงเกษตรฯ เห็นว่าควรปลดล๊อคพืชสมุนไพร 13 ชนิด จากวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 กลับมาเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1

159464100480

สำหรับการขึ้นทะเบียนของกรมวิชาการเกษตร พบว่า สารธรรมชาติ จะแยกออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ สารสกัดธรรมชาติจากพืชได้จากการสกัดจริง และสารธรรมชาติจากพืชที่ไม่ผ่านการสกัด ซึ่งไม่สามารถทำการปลดล็อคสารธรรมชาติจากการสกัดออกเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ได้ เนื่องจากเมื่อทำการสกัดแล้วจะได้สารสำคัญหรือสารออกฤทธิ์ในการกำจัดศัตรูพืช เพียว 100% ใช้เพียงนิดเดียวก็มีความเป็นพิษ และมีความเป็นพิษมาก แต่ถ้าเป็นสารธรรมชาติจากพืชที่ไม่ผ่านการสกัด เช่น การนำไปตากแห้ง บ่ม สับ แล้วนำมาใช้เลย ไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียน ไม่ต้องแจ้งว่ามีสารสำคัญในปริมาณเท่าไหร่ หรือใช้ในอัตราเท่าไหร่ ก็จะสะดวกกับเกษตรกรที่จะนำไปใช้หรือนำไปผลิตเพื่อจำหน่าย